ชนชั้นและยุคสมัยการเมืองการปกครองไทย

Main Article Content

จิตติมา อานสกุลเจริญ

Abstract

     บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาชนชั้นและยุคสมัยการเมืองการปกครองไทย เป็นการศึกษาเชิงพรรณนา และรวบรวมข้อมูล หลักฐานงานเขียนทางวิชาการที่เกี่ยวข้อง แล้วนำมาวิเคราะห์บรรยายสรุปรวมแนวความคิดจากการศึกษาชนชั้นและยุคสมัยการเมือง การปกครองของไทยพบว่าสังคมไทยแบ่งผู้คนในสังคมออกเป็นสี่ชนชั้นตามลำดับสถานะทางสังคม ดังนี้ ชนชั้นปกครอง ชนชั้น ข้าราชการ ชนชั้นกลาง และชนชั้นล่าง ในด้านการเมืองการปกครองของไทยนั้นสามารถแบ่งออกได้เป็น 5 ยุคสมัย แม้ว่าโครงสร้างทาง สังคมไทยจะแบ่งผู้คนออกเป็นสี่ชนชั้นแต่การเมืองการปกครองของไทยตลอดระยะเวลาที่ผ่านมาเป็นการปกครองโดยชนชั้นนำนั่นก็คือ ชนชั้นปกครอง กล่าวคือ ยุคการปกครองที่ 1 ยุคสมบูรณาญาสิทธิราชย์ อำนาจการเมืองการปกครองอยู่ที่กษัตริย์ ยุคการปกครองที่ 2 ยุคอำมาตยาธิปไตย อำนาจการเมืองการปกครองอยู่ที่ข้าราชการชั้นสูง ยุคการปกครองที่ 3 ยุคประชาธิปไตยเบ่งบาน ยุคนี้นักศึกษา ปัญญาชนมีบทบาทในการเมืองการปกครองของไทย ยุคการปกครองที่ 4 ยุคประชาธิปไตยครึ่งใบ เป็นการประสานอำนาจในการเมือง การปกครองระหว่างข้าราชการ นักธุรกิจ และนักการเมือง ยุคการปกครองที่ 5 ยุคธนาธิปไตย เป็นยุคที่อำนาจการเมืองการปกครอง อยู่ที่นักธุรกิจและนักการเมือง และยุคการปกครองที่หกยุคมวลชนาธิปไตย เป็นยุคที่มีการรวมกลุ่มทางการเมืองของประชาชนเพื่อ เรียกร้องให้มีการเมืองการปกครองตามที่กลุ่มต้องการ

     The objective of this study was to determine the class structures and political periods of Thailand. This is a descriptive study utilizing the method of data collection of related literature for this academic writing. The study of societal classes and generations of Thailand found that people are divided into four classes according to social statuses as follows: ruling class, bureaucratic elite class, middle class, and lower class. The politics of Thailand can be divided into five periods that have long been dominated by the ruling class. The first period was by the rule of absolutism when the king held political power. The second period was ruled by the Amartya (high ranking monarchy) bureaucracy. Political power was held by the ranking government official. The third period was when democracy began to blossom with intellectuals and students beginning to take a role in politics. The fourth period was when the government officials, businessmen and politicians dominated the so-called “semi-democracy.” The fifth period is dominated by both businessmen and politicians the so-called “plutocracy”. The sixth period is called “massocracy.” In this period, the political groups made demands for the politics and government to meet their needs.

Article Details

Section
บทความวิชาการ (Academic article)