ความพึงพอใจต่อการให้บริการงานทะเบียนและประมวลผลของคณะศิลปศาสตร์และวิทยาศาสตร์มหาวิทยาลัยนครพนม
Main Article Content
Abstract
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาความพึงพอใจต่อการให้บริการงานทะเบียนและประมวลผลของคณะศิลปศาสตร์และวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนครพนม 2)เปรียบเทียบความพึงพอใจต่อการให้บริการงานทะเบียนและประมวลผลของคณะศิลปศาสตร์ และวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนครพนม จำแนกตามสถานภาพและเพศ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วยคณาจารย์ เจ้าหน้าที่ นักศึกษา และผู้ปกครองของนักศึกษาที่รับบริการงานทะเบียนและประมวลผล ในปีการศึกษา 2554 จำนวน 726 คน จำแนกเป็น คณาจารย์ จำนวน 33 คน เจ้าหน้าที่ จำนวน 23 คน นักศึกษา จำนวน 335 คน และผู้ปกครองของนักศึกษา จำนวน 335 คน กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างโดยใช้เกณฑ์ร้อยละ สุ่มกลุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้น เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาเป็นแบบสอบถามมาตราส่วน ประมาณค่า 5 ระดับ มีค่าอำนาจจำแนกระหว่าง 0.28-0.58 และค่าความเชื่อมั่น 0.93สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบสมมติฐานโดยใช้ t-test (Independent Samples) และ F–test (One-way ANOVA)
ผลการวิจัยพบว่า 1) ความพึงพอใจต่อการให้บริการงานทะเบียนและประมวลผล โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด โดยมีความพึงพอใจ ด้านการให้บริการเป็นอันดับแรก รองลงมาคือด้านเจ้าหน้าที่/บุคลากรที่ให้บริการ ด้านการอำนวยความสะดวก และด้านสถานที่ ตามลำดับ 2) ผู้ชายมีความพึงพอใจต่อการให้บริการงานทะเบียนและประมวลผลสูงกว่า ผู้หญิง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 3) ผู้รับบริการที่มีสถานภาพต่างกันมีความพึงพอใจต่อการให้บริการงานทะเบียนและประมวลผล แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญที่ ระดับ .05 โดยผู้ปกครองของนักศึกษามีความพึงพอใจสูงกว่านักศึกษา
The purposes of this study were: 1) to investigate satisfaction of registration and evaluation service provided by the Faculty of Liberal Arts and Science, Nakhon Phanom University, 2) to compare satisfaction of registration and evaluation service provided by the Faculty of Liberal Arts and Science, Nakhon Phanom University as classified by status and sex. A sample of 726 people used in this study comprised 33 faculty members, 23 officers, 335 students and 335 students’ parents who received the service of registration and evaluation. The sample size was determined using the percentage criterion and selected through stratified random sampling. The instrument used in this study was a 5-rating scale questionnaire whose discrimination power values ranged between 0.28 and 0.58 and reliability coefficient was 0.93. Statistics used in data analysis were percentage, mean, standard deviation, t-test (independent samples) and F-test (One-way ANOVA) for hypothesis testing
The findings disclosed as follows: 1) Satisfaction of registration and evaluation service as a whole was at the highest level. Satisfaction of the aspect of providing service ranked first. The secondary ranks were the aspect of officers/personnel who provided service, the aspect of facilitating efficient work flow and the aspect of building and location respectively. 2) Men were significantly higher satisfied with registration and evaluation service than women at the .01 level. 3) The service receivers whose statuses were different had a significant difference in their satisfaction with the registration and evaluation service at the .05 level. Students’ parents had higher satisfaction with it than students themselves.