ประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของพนักงานบริษัทผู้ประกอบการตามหลักเกณฑ์และวิธีปฏิบัติ สำหรับผู้ขับขี่ยานพาหนะในเขตการบิน ท่าอากาศยานนานาชาติสุวรรณภูมิ

Main Article Content

บุญชู วงษ์ทัพ
พัชนี จันทร์น้อย

Abstract

    การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสาเหตุที่มีผลต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงาน 2) ศึกษาแนวทางในการเพิ่มประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของพนักงานบริษัทผู้ประกอบการตามหลักเกณฑ์และวิธีปฏิบัติสำหรับผู้ขับขี่ยานพาหนะในเขตการบิน เก็บข้อมูลด้วยแบบสอบถามประชากรที่ใช้ในการวิจัย คือ พนักงานบริษัทผู้ประกอบการระดับหัวหน้างานและระดับปฏิบัติการที่ขับขี่ยานพาหนะให้บริการภาคพื้นในเขตการบินท่าอากาศยานนานาชาติสุวรรณภูมิ กำหนดขนาดของกลุ่มตัวอย่างด้วยสูตรการคำนวณของ Taro Yamane ได้กลุ่มตัวอย่างที่เป็นพนักงานระดับหัวหน้างาน 90คน และพนักงานระดับปฏิบัติการ 386คน สุ่มกลุ่มตัวอย่างด้วยวิธี การสุ่มแบบง่าย สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล คือ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน

ผลการวิจัยพบว่า 1)สาเหตุที่มีผลต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของพนักงานบริษัทผู้ประกอบการ ประกอบด้วย การฝึกอบรม หลักเกณฑ์และวิธีปฏิบัติสำหรับผู้ขับขี่ยานพาหนะในเขตการบิน และการเกิดอุบัติเหตุในเขตการบิน กลุ่มตัวอย่างทั้ง 2 กลุ่ม ส่วนใหญ่มีความคิดเห็นว่าสาเหตุการเกิดอุบัติเหตุในเขตการบินมาจากแรงกดดันจากจำนวนเที่ยวบินที่พนักงานต้องให้บริการภาคพื้นเป็นจำนวนมาก ความหนาแน่นของยานพาหนะในเขตการบิน ส่งผลทำให้เกิดการฝ่าฝืนหลักเกณฑ์และวิธีปฏิบัติสำหรับผู้ขับขี่ยานพาหนะในเขตการบินและความเคยชินในการทำงานซ้ำ 2)แนวทางในการเพิ่มประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของพนักงานบริษัทผู้ประกอบการตามหลักเกณฑ์และวิธีปฏิบัติสำหรับผู้ขับขี่ยานพาหนะในเขตการบิน มีดังนี้ (1)เพิ่มพนักงานตรวจสอบและกำกับดูแลความปลอดภัยและความเป็นระเบียบเรียบร้อยในเขตการบินให้สอดคล้องกับพื้นที่จำนวนพนักงานและยานพาหนะ (2) นำเทคโนโลยีที่ทันสมัยมาใช้ในการฝึกอบรมและการปฏิบัติงาน (3)รณรงค์ด้านความปลอดภัยในเขตการบิน และ (4)เพิ่มความสะดวกในการปฏิบัติงานโดยจัดสรรอากาศยานของสายการบินเดียวกันหรือกลุ่มพันธมิตรทางการบินเข้าจอดที่หลุมจอดใกล้เคียงกัน

     The purposes of this study were : 1) to investigate the causes affecting performance efficiency, 2) to examine an approach to increase efficiency of performance among employees of the entrepreneur’s company in compliance with the rules and regulations for practice by vehicle drivers in an airside ground service zone. Data were collected using a questionnaire. The population used in this study was employees of the entrepreneur’s company both at superior and operating levels who operated the airside ground service driving in a flying zone at Suvarnabhumi International Airport. A sample size was determined using Taro Yamane’s formula for calculation deriving 90 supervisors and 386 ground service drivers from simple random sampling. Statistics used to analyze data were frequency, percentage, mean, and standard deviation.

The study discovered the following. 1) The causes which affected efficiency of performance among employees of the entrepreneur’s company consisted of the training of the rules and regulations for vehicle drivers, and the accidents in the airside ground zone. Most of the respondents from both samples agreed that the causes of accident in the airside ground zone came from the pressure of a large number of flights to which the employees had to give service. The congestion of the airside vehicles commuting resulted in violating the rules and regulations for practice by vehicle drivers in the airside ground zone, and in being familiar with slow working. 2) The approach to increase efficiency of performance among employees of the entrepreneur’s company in compliance with the rules and regulations for practice by vehicle drivers in an airside ground service zone comprised the following: (1) Increase employees for checking and supervising the safety in a systematic way in the airside ground zone to be consistent with the size of service zone, the sheer volume of traffic and the number of drivers in the airside. (2) Apply the modern technology for training and operating the tasks. (3) Launch a campaign to increase safety in the airside ground service zone. And (4) increase the convenience in performance of the staff and drivers by allocating the adjacent stands for aircraft of the same airline or of an airline alliance.

Article Details

Section
บทความวิชาการ (Academic article)