การร่วมคิดร่วมทำในการบริหารจัดการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน อำเภอธาตุพนม สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครพนม เขต 1

Main Article Content

บุญเยี่ยม อภัยโส
รชฏ สุวรรณกูฏ
สุเทพ ทองประดิษฐ์

Abstract

    การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาการร่วมคิดร่วมทำในการบริหารจัดการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน อำเภอธาตุพนม สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครพนม เขต 1 2)เปรียบเทียบการร่วมคิดร่วมทำในการบริหารจัดการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำแนกตามสถานภาพและขนาดของสถานศึกษา กลุ่มตัวอย่างจำนวน 185 คน ประกอบด้วย ผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 43 คน และครู จำนวน 142 คน กำหนดขนาดตัวอย่างโดยใช้เกณฑ์ร้อยละ ผู้บริหารสถานศึกษาใช้เกณฑ์ร้อยละ 90 และ ครูใช้เกณฑ์ร้อยละ 30 การเลือกกลุ่มตัวอย่างใช้สุ่มแบบแบ่งชั้น เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถาม แบบมาตราส่วน ประมาณค่าที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น ตามระดับร่วมคิดมีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0 .97 และตามระดับร่วมทำมีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับ เท่ากับ 0.95 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน t–test และ F–test กรณีที่พบความแตกต่าง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติจึงทำการทดสอบเป็นรายคู่โดยใช้วิธีการของเชฟเฟ่

ผลการวิจัยพบว่า 1) ผู้บริหารและครูผู้สอนมีการร่วมคิดร่วมทำในการบริหารจัดการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน อำเภอธาตุพนม อยู่ในระดับมากที่สุด 2) ผู้บริหารและครูผู้สอนมีความคิดเห็นเกี่ยวกับการร่วมคิดในการบริหารจัดการสถานศึกษา ขั้นพื้นฐาน อำเภอธาตุพนม โดยรวมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 โดยผู้บริหารสถานศึกษามีการร่วมคิดสูงกว่าครูและมีการร่วม ทำโดยรวมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.01 โดยครูมีความคิดเห็นเกี่ยวกับการร่วมทำสูงกว่าผู้บริหาร 3)ผู้บริหารและ ครูผู้สอนที่อยู่ในโรงเรียนขนาดต่างกันมีการร่วมคิดในการบริหารจัดการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานโดยรวมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ ทางสถิติที่ระดับ .01 โดยผู้บริหารสถานศึกษาและครูในโรงเรียนขนาดเล็ก มีการร่วมคิดสูงกว่าผู้บริหารสถานศึกษาและครูในโรงเรียนขนาดใหญ่และโรงเรียนขนาดกลาง และมีความคิดเห็นเกี่ยวกับการร่วมทำโดยรวมไม่แตกต่างกัน เมื่อพิจารณาเป็นรายขั้น พบว่าแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยผู้บริหารสถานศึกษาและครูในโรงเรียนขนาดเล็กมีความคิดเห็นเกี่ยวกับ การร่วมทำในการบริหารจัดการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานสูงกว่าผู้บริหารสถานศึกษาและครูในโรงเรียนขนาดใหญ่

    The purposes of thisstudy were: 1) to investigate participatory thinking and acting in administration of basic education schools in Thatphanom district under the Office of Nakhon Phanom Primary Education Service Area 1, 2) to compare participatory thinking and acting in administration of basic education schools as classified by status and school size. A sample was 185 people including 43 school administrators and 142 teachers. The sample size was determined using a 90% criterion for school administrators and a 30% criterion for teachers. The sample was selected by stratified random sampling. The instrument was a rating-scale questionnaire created by this researcher whose entire reliability values in parts of participatory thinking and acting were 0.97 and 0.95 respectively. Statistics used in data analysis were percentage, mean, standard deviation, t-test and F-test. In case a significant difference was found, the Scheffe’s method would be used for a pairwise comparison.

The findings were as follows. 1) Administrators and teachers had participatory thinking and acting in administration of basic education schools in Thatphanom district at the highest level. 2) Administrators and teachers had significantly different opinion on participatory thinking in administration of basic education schools in Thatphanom district as a whole at the .01 level. The former had higher opinion on participatory thinking than the latter. The opinion of administrators and teachers on participatory acting as a whole also showed a significant difference at the .01 level. The latter had higher opinion on participatory acting than the former. 3) Administrators and teachers of a different school size had significantly different participatory thinking in administration of basic education schools as a whole at the .01 level. Administrators and teachers of a small-sized school had higher participatory thinking than administrators and teachers of a large- or medium-sized school, but their opinion on participatory acting by school size as a whole was not different. However, administrators and teachers of a small-sized school had higher opinion on participatory acting in administration of basic education schools than that of those in a large-sized school.

Article Details

Section
บทความวิชาการ (Academic article)