สมรรถนะหลักทางการบริหารสำหรับผู้บริหารสถานศึกษาตามความคิดเห็นของครูในโรงเรียนมัธยมศึกษา อำเภอนาแก จังหวัดนครพนม

Main Article Content

วิมลรัตน์ ศรีสำอางค์
รชฏ สุวรรณกูฏ

Abstract

     การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสมรรถนะหลักทางการบริหารสำหรับผู้บริหารสถานศึกษาตามความคิดเห็นของครู ในโรงเรียนมัธยมศึกษา อำเภอนาแก จังหวัดนครพนม 2)เปรียบเทียบสมรรถนะหลักทางการบริหารสำหรับผู้บริหารสถานศึกษา จำแนกตามขนาดโรงเรียนและประสบการณ์ทำาน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย ครูในโรงเรียนมัธยมศึกษา อำเภอนาแก จังหวัดนครพนม ปีการศึกษา 2556 จำวน 140 คน กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างโดยใช้เกณฑ์ร้อยละ 80 และสุ่มกลุ่มตัวอย่างแบบ แบ่งชั้น เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 5ระดับ จำวน 43ข้อ มีค่าอำนาจจำแนก ระหว่าง 0.27 – 0.92 และค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับ เท่ากับ 0.97 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบน มาตรฐาน และการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One – way ANOVA) ทดสอบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยรายคู่ด้วยวิธีการของ เชฟเฟ่

ผลการวิจัยพบว่า 1)สมรรถนะหลักทางการบริหารสำหรับผู้บริหารสถานศึกษา โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก 2)ครูที่ปฏิบัติงาน ในโรงเรียนที่มีขนาดต่างกันมีความคิดเห็นต่อสมรรถนะหลักทางการบริหารสำหรับผู้บริหารสถานศึกษาโดยรวมแตกต่างกันอย่าง มีนัยสำคัญถิติที่ระดับ .01 เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 จำวน 1 ด้าน ได้แก่ ด้านการบริการที่ดี และมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 จำนวน 2 ด้าน ได้แก่ ด้านการมุ่ง ผลสัมฤทธิ์และด้านการทำงานเป็นทีม 3)ครูที่มีประสบการณ์การทำงานต่างกันมีความคิดเห็นต่อสมรรถนะหลักทางการบริหารสำหรับ ผู้บริหารสถานศึกษา โดยรวมมีความแตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่าด้านการพัฒนาตนเองมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

      The purposes of this study were : 1) to investigate administrative core competency for school administrators according to the opinion of teachers at secondary schools in Nakae district, Nakhon Phanom province, 2) to compare administrative core competency for school administrators as classified by respondents’ background of school size and work experience. A sample used in this study consisted of 140 teachers in secondary schools in Nakae district, Nakhon Phanom province in academic year 2013. A sample size was determined based on the criterion of 80% of the total number and the sample was selected by stratified random ampling. The tool used in data collection was a 5-rating scale questionnaire with 43 items, whose discrimination power values ranged between 0.27 and 0.92 and entire reliability coefficient was 0.97. Statistics used in data analysis were percentage, mean, standard deviation and one-way ANOVA. The scheffe’s method was used in pairwise comparison in case a means difference was found.

The findings of study were as follows. 1) The administrative core competency for school administrators as a whole was at high level. 2) The teachers who worked in a different school size had significantly different opinion on the administrative core competency for school administrators as a whole at the .01 level. Considering it by aspect, there was a significant difference at the .01 level in one aspect-good administration. And there was a significant difference at the .05 level in two aspects-achievement-oriented and working as a team. 3) The teachers who were different in work experience had no significantly different opinion on administrative core competency for school administrators as a whole. Considering it by aspect, the aspect of self-development was found significantly different at the .01 level.

Article Details

Section
บทความวิชาการ (Academic article)