การเปรียบเทียบทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ขั้นพื้นฐาน ความคงทนในการเรียนรู้และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเรื่องแรงและความดัน โดยใช้โปรแกรมบทเรียนแบบผสมผสานของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่5ที่มีแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ต่างกัน

Main Article Content

เสาวลักษณ์ ชนะพาล
ไชยยศ เรืองสุวรรณ
ไพฑูรย์ สุขศรีงาม

Abstract

    การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาและหาดัชนีประสิทธิผลของโปรแกรมบทเรียน เรื่องแรงและความดันของนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ที่มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 2) เปรียบเทียบทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ขั้นพื้นฐานและ ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระหว่างก่อนและหลังเรียนของนักเรียนโดยรวมที่เรียนด้วยโปรแกรมบทเรียนแบบผสมผสานและของนักเรียน โดยจeแนกตามแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ 3)เปรียบเทียบทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ขั้นพื้นฐานและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ของนักเรียนที่มีแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ต่างกัน 4) เปรียบเทียบความคงทนในการเรียน และ 5) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนต่อการเรียน ด้วยโปรแกรมบทเรียนแบบผสมผสาน กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการวิจัยเป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 จeนวน 20 คน โรงเรียนชุมชน บ้านนาแพง ปีการศึกษา 2556 โดยจัดกิจกรรมการเรียนด้วยโปรแกรมบทเรียนแบบผสมผสานแบบ 50 : 50 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย โปรแกรมบทเรียนแบบผสมผสาน 50 : 50 ใช้สอน 4 สัปดาห์ เวลา 16 ชั่วโมง แบบทดสอบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน จำนวน 20 ข้อ มีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.80 แบบวัดทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ขั้นพื้นฐาน จำนวน 30 ข้อ มีค่า ความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.92 แบบวัดแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ มีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.91 และแบบวัดความพึงพอใจต่อ การเรียนด้วยโปรแกรมบทเรียนแบบผสมผสานที่พัฒนาขึ้นมีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.93 สถิติที่ใช้ในการทดสอบสมมติฐาน ได้แก่ Dependent t-test และ F-test (One-way) MANCOVA และ ANCOVA

ผลการวิจัยพบว่า 1) โปรแกรมบทเรียนผสมผสาน แบบ 50 : 50 มีประสิทธิภาพเท่ากับ 84.80/83.75 และค่าดัชนีประสิทธิผล เท่ากับ 0.70 2) นักเรียนโดยรวมและจำแนกตามแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์มีทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ ขั้นพื้นฐานและผลสัมฤทธิ์ ทางการเรียนเมื่อเรียนด้วยโปรแกรมบทเรียนแบบผสมผสาน เพิ่มขึ้นจากก่อนเรียนอย่างมีนัยสeคัญทางสถิติที่ระดับ .053)นักเรียนที่มี แรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์สูงและนักเรียนที่มีแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ต่ำมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ขั้นพื้นฐาน โดยรวมและรายด้านไม่แตกต่างกัน 4) ความคงทนในการเรียนรู้ไม่แตกต่างกัน และ 5) ความพึงพอใจต่อการเรียนด้วยโปรแกรมบทเรียน แบบผสมผสานโดยรวมและรายด้านอยู่ในระดับมากที่สุด

    The purposes of this study were: 1) to develop a lesson program and find its effectiveness index on learning under the subject ‘force and pressure’ for Prathom Suksa 5 students based on the efficiency criterion of 80/80, 2) to compare basic science process skill and learning achievement of the students as a whole and as based on their achievement motivation between before and after learning through a mixed lesson program, 3) to compare basic science process skill and learning achievement of the students having a difference in achievement motivation, 4) to compare the students’ learning retention, and 5) to examine students’ satisfaction with learning through a mixed lesson program. The target group used in study was 20 Prathom Suksa 5 students studying at Ban Phaeng Community School in academic year 2013, who were managed with learning activity through a 50:50 mixed lesson program. The instruments used comprised a 50:50 mixed lesson program for 16-hour teaching in a 4-week period, a 20-item learning achievement test whose entire reliability was 0.80, a 30-item test of basic science process skill whose entire reliability coefficient was 0.92, a learning achievement test whose entire reliability coefficient was 0.91, and a questionnaire asking satisfaction with learning through the developed mixed lesson program whose entire reliability coefficient was 0.93. Statistics used in testing hypotheses were t-test for dependent samples, one-way ANOVA, MANCOVA and ANCOVA.

The findings were as follows. 1) The 50:50 mixed lesson program had efficiency of 84.80/83.75 and the value of effectiveness index was 0.70. 2) The students as a whole and as classified according to achievement motivation had significantly higher basic science process skill and learning achievement after their learning with the mixed lesson program than those before their learning at the .05 level. 3) The students whose achievement motivation was low and those whose achievement motivation was high had no difference in their learning achievement and basic science process skill as a whole and each aspect. 4) Learning retention was found not different. And 5) satisfaction with learning through the mixed lesson program as a whole and each aspect was at the highest level.

Article Details

Section
บทความวิชาการ (Academic article)