การพัฒนาแนวทางการบริหารงานวิชาการในสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามหาสารคาม เขต 2
Main Article Content
Abstract
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1)ศึกษาสภาพการบริหารงานวิชาการในสถานศึกษา 2)ศึกษาปัญหาการบริหารงานวิชาการ ในสถานศึกษา 3)ศึกษาแนวทางการพัฒนาการบริหารงานวิชาการในสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา มหาสารคาม เขต 2กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษาและครูวิชาการสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา มหาสารคาม เขต 2 จำนวน 288 คน ได้มาโดยวิธีสุ่มแบบแบ่งชั้น เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถามประมาณค่า 5 ระดับ มีค่าอำนาจ จำแนกระหว่าง 0.20–0.81 ค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.95 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบน มาตรฐาน
ผลการวิจัยพบว่า 1)สภาพการบริหารงานวิชาการในสถานศึกษาโดยภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง 2) ปัญหาการบริหารงาน วิชาการในสถานศึกษาโดยภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง 3)แนวทางการพัฒนาการบริหารงานวิชาการในสถานศึกษาสังกัดสำนักงาน เขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามหาสารคาม เขต 2ได้แก่ การส่งเสริมให้ทุกภาคส่วนมีส่วนร่วมในการบริหารหลักสูตร การศึกษาดูงาน สถานศึกษาที่ประสบความสำเร็จในการพัฒนากระบวนการเรียนรู้ การดำเนินการวัดและประเมินผลด้วยวิธีการที่หลากหลาย ผู้บริหาร และคณะครูมีการทำวิจัยอย่างน้อยปีละ 1เรื่อง และมีเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ พัฒนาสื่อนวัตกรรมทางการศึกษาอยู่เสมอ มีการนิเทศ ภายในโดยผู้บริหารและคณะครูอย่างสม่ำเสมอ มีการดูแลและช่วยเหลือนักเรียนอย่างเป็นระบบใช้กระบวนการ PDCA ในการพัฒนา ระบบการประกันคุณภาพภายใน
This purposes of this study were: 1) to investigate the current state of academic affairs administration in schools, 2) to examine the problem of academic affairs administration in schools, and 3) to examine a way to the development of academic affairs administration in schools under the Office of Mahasarakham Primary Education Service Area 2. A sample was 288 school administrators as well as academic teachers under the Office of Mahasarakham Primary Education Service Area 2 as selected by stratified random sampling. The instrument used was a 5-rating scale questionnaire whose discrimination power values ranged between 0.20 and 0.81 and entire reliability coefficient was 0.95. Statistics used in data analysis were percentage, mean, and standard deviation.
The findings were as follows. 1) The state of academic affairs administration in schools as a whole was at moderate level; 2) the problem of academic affairs administration in schools as a whole was at moderate level; 3) the guidelines for development of academic affairs administration in schools under the Office of Mahasarakham Primary Education Service Area 2 were: promoting every sector to participate in curriculum administration, having a study trip to the schools that achieved in learning process development, conducting the measurement and evaluation with diverse methods, doing research at least 1 title per year by each administrator and teacher and having a platform for regular learning exchanges of educational innovation and media development, having constant internal supervision by administrators and teachers, giving systematic care-taking and help to students, and using the PDCA process in development of internal quality insurance system.