การศึกษาวงพิณพาทย์เมืองจำปาศักดิ์สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว : กรณีศึกษาบ้านพระพีน

Main Article Content

เฉลิมพล อะทาโส
รุจี ศรีสมบัติ
กาญจนา อินทรสุนานนท์

Abstract

     การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัจจุบันและบทบาทของวงพิณพาทย์บ้านพระพีน เมืองจำปาศักดิ์ สปป.ลาว 2)ศึกษารูปแบบการบรรเลงวงดนตรีพิณพาทย์ที่ใช้ประกอบพิธีเลี้ยงหอมเหศักดิ์หลักเมืองของชาวเมือง วิธีการศึกษาใช้ระเบียบการวิจัย เชิงคุณภาพ โดยใช้แบบสำรวจภาคสนาม การสอบถาม การสัมภาษณ์ การสนทนากลุ่มและการสังเกตเพื่อนนำมาสังเคราะห์ข้อมูล ผลการวิจัยพบว่า 1)วงพิณพาทย์บ้านพระพีน เมืองจำปาศักดิ์ ในอดีตเคยเป็นวงดนตรีที่ใช้ประจำอยู่ในคุ้มของเจ้าผู้ครอง นครจำปาศักดิ์ กระทั่ง พ.ศ.2518 มีการปฏิวัติในประเทศลาว ทำให้วงพิณพาทย์ถูกนำมาใช้ในประเพณี พิธีกรรมทั่วไป โดยเก็บรักษาไว้ที่หอดนตรี สโมสรบ้านพระพีน เมืองจำปาศักดิ์ ปัจจุบันวงพิณพาทย์บ้านพระพีนมีนักดนตรี 8คน ควบคุมดูแลโดย นายบุนเกิด พมมะสิง การรับงานส่วนใหญ่เป็นวงปี่พาทย์ ประกอบไปด้วย ระนาดเอก ระนาดทุ้ม ฆ้องวงใหญ่ ตะโพน กลองทัด ปี่ และฉิ่ง บทบาท ของวงพิณพาทย์บ้านพระพีนต่อเมืองจำปาศักดิ์ ใช้เป็นวงดนตรีสำหรับประกอบพิธีกรรมทางความเชื่อและใช้ประกอบพิธีกรรม ทางศาสนา 2) การบรรเลงวงพิณพาทย์ประกอบพิธีกรรมเลี้ยงหอมเหศักดิ์หลักเมือง ถือได้ว่ามีความสำคัญเป็นอย่างมาก วงพิณพาทย์ มีบทบาทในการบรรเลงประกอบพิธีกรรมตั้งแต่ต้นจนจบ โดยวงพิณพาทย์ที่ใช้ในพิธีกรรมประกอบไปด้วย ระนาดเอก ระนาดทุ้ม ฆ้องวงใหญ่ ระนาดเอกเหล็ก ตะโพน กลองทัด ปี่ ฉิ่งและแส่ง ลักษณะการบรรเลงประกอบพิธีกรรมเป็นการบรรเลงเพื่อให้องค์มเหศักดิ์ ที่ถือว่าเป็นเทวดาประจำเมืองจำปาศักดิ์ลงมาทรงพ่อซ่าง แม่ล่าม โดยใช้เสียงดนตรีของวงพิณพาทย์เป็นสื่อกลางในการติดต่อสื่อสาร เพื่อให้องค์มเหศักดิ์เกิดความพอใจและออกฟ้อน เพื่อความเป็นสิริมงคล ในพิธีกรรมเลี้ยงหอมเหศักดิ์หลักเมืองพบบทเพลงที่มี ความสำคัญดังนี้ เพลงกลม เพลงกราวนอก เพลงเชิด และเพลงอรทัย บทเพลงเหล่านี้ใช้ในการประกอบการฟ้อนขององค์มเหศักดิ์ ซึ่งพิธีกรรมดังกล่าวจะจัดขึ้นในช่วงต้นเดือนมีนาคมของทุกปีที่สโมสรบ้านพระพีน โดยใช้หอฟ้อนเป็นสถานที่จัดงานในพิธีกรรม ชาวเมืองจะนำเครื่องสักการะเข้าไปถวายแด่องค์มเหศักดิ์หลักเมือง โดยผ่านแม่ล่าม พ่อซ่าง ซึ่งทั้ง 2 คนนี้จะทำหน้าที่เป็นร่างทรงขององค์มเหศักดิ์

     The purposes of this study were: 1) to investigate the current state and role of Prapeen village gamelan orchestra, Champasak province, Lao People’s Democratic Republic, 2) to examine the style of playing the gamelan orchestra for the ceremony of offering food to city gods in the shrine performed by town people. The study methodology employed qualitative approach by field survey using questionnaire, interview, focus group and observation leading to data synthesis. The findings disclosed as follows: 1) The Prapeen village gamelan orchestra, Champasak province used to be a band which played regularly at the residence of Champasak city. Until 1975, there was a coup in Laos. The gamelan band, then, was used in general traditions and ceremonies. The gamelan instruments were kept in the music hall, Prapeen village club, Champasak province. At present, there are 8 musicians under the supervision of Mr. Boonkoet Pommasing. The kinds of music instrument showing in public will be percussion which consists of alto xylophone, alto bamboo xylophone, khongwongyai, tabor, double-headed drum, flute and small cymbals. The role of gamelan band in Prapeen village, Champasak province was to play for common rites regarding the residents’ beliefs and for religious ceremonies. 2) The play of gamelan orchestra for offering food to city gods in the shrine is very important. The gamelan band has a role in playing for the rites from the beginning to the end. The gamelan band used in the ceremony consists of alto xylophone, alto bamboo xylophone, Khongwongyai, alto iron xylophone, tabor, double-headed drum, flute, and small cymbals as well as Saeng. The purpose of the play is to please the goods of Champasak through the god mediums – Mae-Laam and Pho-Chang by using the music as a way of contact. The music played in the event comprises these songs: Phleng Klom, Phleng Krao-nok and Phleng Orathai which are very important to the rite. The rite is yearly held during the beginning days of March in the Prapeen village club, Champasak province by using the dancing hall as a place for the venue. The residents will offer oblation through the god mediums – Mae-Laam and Pho-Chang.

Article Details

Section
บทความวิชาการ (Academic article)