การพัฒนาหลักสูตรท้องถิ่น เรื่อง ดนตรีกับโบราณสถานเมืองลพบุรี กรณี ดุริยบำบวงนบพระธาตุ
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาข้อมูลพื้นฐานในการพัฒนาหลักสูตร ทดลองใช้หลักสูตร ประเมินผลและปรับปรุงหลักสูตรเกี่ยวกับผลการเรียนรู้ ความสามารถในการทำโครงงานสร้างสรรค์ และศึกษาความคิดเห็นของนักศึกษาระดับปริญญาตรีชั้นปีที่ 1 สาขาวิชาดนตรีศึกษา ภาคการศึกษาที่ 1 ปีการศึกษา 2566 จำนวน 29 คน เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ หลักสูตรท้องถิ่น แบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์ ประเด็นสนทนากลุ่ม แบบทดสอบวัดผลการเรียนรู้ แบบประเมินความสามารถการทำโครงงาน แบบสอบถามความคิดเห็น วิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยโดยใช้สถิติทดสอบที (t-test แบบ Dependent Samples) ผลการวิจัยพบว่า 1) ผลการศึกษาข้อมูลพื้นฐาน นักศึกษาและผู้เกี่ยวข้องเห็นความสำคัญและต้องการให้พัฒนาหลักสูตรที่เน้นความร่วมมือ จากหน่วยงานสถาบันการศึกษา องค์กร และชุมชนโดยมีส่วนร่วมในการสร้างอัตลักษณ์ท้องถิ่นเมืองลพบุรี นักศึกษาและบุคคลที่เกี่ยวข้องมีความต้องการให้นำวิทยากรภายในท้องถิ่นมีส่วนร่วมในการจัดการเรียนรู้ 2) ผลการพัฒนาหลักสูตรพบว่า องค์ประกอบของหลักสูตรประกอบด้วย หลักการ จุดหมาย โครงสร้าง คำอธิบายรายวิชา ขอบข่ายเนื้อหา เวลาเรียนแนวทางการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ สื่อการเรียนรู้ การวัดผลและประเมินผล และหน่วยการเรียนรู้ 5 หน่วย ผู้เชี่ยวชาญประเมินองค์ประกอบของหลักสูตรมีความสอดคล้องและเหมาะสม 3) ผลการทดลองใช้หลักสูตรกับนักศึกษา ด้วยการจัดการเรียนรู้แบบกิจกรรมกลุ่ม การลงมือปฏิบัติจริง การใช้แหล่งเรียนรู้มรดกวัฒนธรรมและโบราณสถานเมืองลพบุรี เรียนรู้จากเจ้าหน้าที่สำนักศิลปากรที่ 4 และผู้รู้ปราชญ์ชุมชนท้องถิ่นที่มาเป็นวิทยากรร่วมกับผู้วิจัย 4) ผลการประเมินผลและปรับปรุงหลักสูตร พบว่า นักศึกษามีความรู้เกี่ยวกับเนื้อหาหลักสูตรที่พัฒนาก่อนและหลังแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 สามารถจัดทำโครงงานสร้างสรรค์ และมีความคิดเห็นที่ดีต่อหลักสูตร นักศึกษาและผู้สอนมีความคิดเห็นว่าควรปรับปรุงหลักสูตรด้านระยะเวลาให้มีความยืดหยุ่นเหมาะสมกับเนื้อหา
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
Cronbach. (1970). The evolution of research. New York : Harper Collins.
Dakliang, A. (2022). Kānphatthanā laksūt rư̄ang ʻāhān thin Thai won tambon nam ʻāng čhangwat ʻUttaradit samrap nakrīan chan prathom sưksā pī thī hok [Curriculum Development on Local Tai Yuan Food in Nam Ang Subdistrict, Uttaradit Province for Prathomsuksa 6 Students] (Master’s thesis). Uttaradit Rajabhat University, Uttaradit, Thailand.
Dechakhup, P. (2023). Kanrīanrūchoēngruksoēmsāngsamatthana [Active learning enhances competency]. Bangkok : Chulalongkorn Publishing House.
Menakanit, A. (2008). Sēwanāsančhō̜nThō̜ʻongprawatsāt+Sinlapahǣngphamāprathed [Traveling discussion on history+Art of Burmese country]. Bangkok : Hong Interprint.
Meyers, C., and Jones, T. B. (1993). Promoting Active Learning : Strategies for the College Classroom. San Francisco : Jossey-Bass.
Nakwijit, R. (2020). Kānphatthanā laksūt thī nēn kānʻō̜kbǣp kānrīanrū tām nǣo satī mō̜ sưksā bon thān phūmpanyā thō̜ngthin samrap naksưksā khrū [Curriculum Development Emphasizing with Learning Design as STEAM Education Based on Local Wisdom for Student Teachers] (Doctoral dissertation). Srinakharinwirot University, Bangkok, Thailand.
Phatphon, M., et al. (2019). Kān wičhai læ phatthanā phư̄a kān phatthanā laksūt læ kān rīanrū [Research and development for curriculum and learning development]. Bangkok : Sunphunam nawattakam Phathiyathanee, S. (2008). Kānwatphonkānsưksā ิphimkhrangthīHok) [Educational measurement 6th printing]. Bangkok : Prasan kanphim.
Rattanapaisalkit, R. (2021). Kānphatthanālaksūtnawatsin čhākthunthāngwatthanathornromlānnā samrapyaowachon Dōichaikānkidchœ̄ngʻō̜kbǣp [Developing an innovative arts curriculumFrom Lanna cultural capital for youth using design thinking] (Master’s Thesis). Chulalongkorn University, Bangkok, Thailand.
Rattanaubon, A. (2019). Nǣokhit kān songsœ̄m kānsưksā talō̜t chīwit nai sangkhom Thai [Concept of promoting lifelong education in Thai society. Bangkok : Printing house of Chulalongkorn University.
Srisa-art, B. (2010). Kanwichai bưangton [Preliminary Research]. Bangkok : Phiriyasan.
Taba, H. (1962). Curriculum Development: Theory and Practice. New York : Harcourt, Brace and World, Inc.
Yonsuriyan, N. (2020). Phon kānčhatkān rīanrū bǣp khrōng ngān pen thān rō̜wō̜ makap nǣokhit bǣp STEM EDUCATION phư̄a songsœ̄m khwāmpen tok ra læ phon ngān sāngsan khō̜ng nak rīan chan prathom sưksā pī thī hā [Results of project-based learning combined with STEM EDUCATION concepts to promote the creativity and creativity of 5th grade students] (Master’s Thesis). Silpakorn University, Nakhon Pathom, Thailand