ความไม่สมมาตรของการส่งผ่านผลของอัตราแลกเปลี่ยนไปยังดัชนีราคาผู้บริโภค : กรณีศึกษาประเทศไทย
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อตรวจสอบความสัมพันธ์ของการส่งผ่านผลของการเปลี่ยนแปลงอัตราแลกเปลี่ยน ไปยังดัชนีราคาผู้บริโภคว่ามีลักษณะสมมาตรหรือไม่ โดยในการศึกษาครั้งนี้ใช้ดัชนีอัตราแลกเปลี่ยนที่แท้จริงเป็นตัวแทนของอัตราแลกเปลี่ยน และตัวแปรอิสระที่นำมาใช้ประกอบด้วย ช่องว่างผลผลิต ปริมาณเงินตามความหมายอย่างแคบ ราคาน้ำมัน และราคาทองคำ ข้อมูลที่นำมาใช้ในการศึกษาเป็นข้อมูลรายเดือนในช่วง ค.ศ.2000 ถึง 2021 วิธีการประมาณค่าของแบบจำลองใช้วิธี Non Linear Autoregressive Distributed Lag Model (NARDL) ผลการวิจัยพบว่าการส่งผ่านผลของการเปลี่ยนแปลงอัตราแลกเปลี่ยนที่แท้จริงไปยังการเปลี่ยนแปลงของดัชนีราคาผู้บริโภคในระยะยาวมีลักษณะไม่สมมาตร (Long Run Asymmetry) และเป็นการส่งผ่านแบบไม่สมบูรณ์ (Incomplete Pass Through) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ร้อยละ 0.01 ซึ่งสะท้อนให้เห็นว่าการเปลี่ยนแปลงของราคาสินค้าเป็นการปรับตัวได้อย่างไม่สมบูรณ์หรือมีความหนืด ในการปรับตัว นอกจากนี้ ยังพบว่าราคาน้ำมันเป็นปัจจัยที่ส่งผลกระทบกับการเปลี่ยนแปลงของดัชนีผู้บริโภคในระยะยาวอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ร้อยละ 0.01 โดยเมื่อราคาน้ำมันเปลี่ยนแปลงส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของดัชนีราคาผู้บริโภค ในทิศทางเดียวกัน ดังนั้นผู้ที่เกี่ยวข้องสามารถนำไปใช้เป็นแนวทางในการวางแผนเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงของดัชนีราคา
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
Aisen, A., Simione, F. and Manguinhane, E. (2021), An Empirical Assessment of the Exchange Rate Pass-Through in Mozambique. IMF Working Paper, No.2021/132. Retrieved January 2023, from https:// ssrn. com/abstract=4026308
Bahmani-Oskooee, M. and Mohammadian, A. (2018). Asymmetry Effects of Exchange Rate Changes on Domestic Production in Emerging Countries. Emerging Markets Finance and Trade. 54(6),1442-1459. https://doi.org/10.1080/1540496x.2017.1307730
Ho, S.H. and Hafrad, I. (2020). Asymmetric exchange rates pass-through: New evidence from Vietnam. MPRA Paper. 98651. Germany : University Library of Munich.
Kassi, D.F., Rathnayake, D.N., Edjoukou, A.J.R., Gnangoin, Y.T., Louembe, P.A., Ding, N. and Sun, G. (2019a). Asymmetry in exchange rate pass-through to consumer prices: new perspective from Sub-Saharan African countries. Economies. 7(1),5. https://doi.org/10.3390/economies7010005
Kassi, D. F., Sun, G., Ding, N., Rathnayake, D. N. and Assamoi, G. R. (2019b). Asymmetry in exchange rate pass-through to consumer prices: Evidence from emerging and developing Asian countries. Economic Analysis and Policy. 62,357-372. https://doi.org/10.1016/j.eap.2018.09.013
Shin, Y., Yu, B. and Greenwood-Nimmo, M. (2014). Modelling Asymmetric Cointegration and Dynamic Multipliers in a Nonlinear ARDL Framework. Festschrift in Honor of Peter Schmidt. New York : Springer. https://doi.org/10.1007/978-1-4899-8008-3_9
Simonyan, S. (2020). Asymmetric exchange rate pass-through to import and export prices for Turkey: A nonlinear autoregressive distributed lag (NARDL) approach. Asian Academy of Management Journal of Accounting and Finance. 16(1),35-44. doi:10.21315/aamjaf2020.16.1.2
Termprasertsakul, S. (2018). Exchange rate pass-through to domestic price indices in Thailand. Economics and Public. Policy Journal. 9(17),53-66.