รูปแบบการจัดการศึกษาเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตเด็กที่มีความต้องการจำเป็นพิเศษ ระดับปฐมวัย
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาองค์ประกอบของคุณภาพชีวิตเด็กที่มีความต้องการจำเป็นพิเศษ ระดับปฐมวัย เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ในการจัดการศึกษาเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตเด็กที่มีความต้องการจำเป็นพิเศษ ระดับปฐมวัย และเพื่อพัฒนารูปแบบการจัดการศึกษาเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตเด็กที่มีความต้องการจำเป็นพิเศษ ระดับปฐมวัย โดยขั้นตอนการวิจัย ประกอบด้วย ขั้นตอนที่ 1 ศึกษาองค์ประกอบ สัมภาษณ์ผู้ทรงคุณวุฒิ ได้แก่ นักวิชาการด้านการบริหารการศึกษา ผู้บริหารศูนย์การศึกษาพิเศษ ผู้แทนผู้พิการ และผู้แทนผู้ปกครอง จำนวน 12 ท่าน ขั้นตอนที่ 2 ศึกษาสภาพปัจจุบัน และสภาพที่พึงประสงค์ใช้แบบสอบถามเก็บข้อมูลกับกลุ่มตัวอย่าง ประกอบด้วย ผู้บริหารสถานศึกษา หัวหน้ากลุ่มบริหารวิชาการ และครูผู้สอน จำนวน 486 คน ขั้นตอนที่ 3 ร่างรูปแบบ ขั้นตอนที่ 4 ประเมินรูปแบบ โดยการประชุมสัมมนาอิงผู้เชี่ยวชาญ ได้แก่ ผู้เชี่ยวชาญระดับอาจารย์มหาวิทยาลัย ผู้เชี่ยวชาญสำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ ผู้บริหารศูนย์การศึกษาพิเศษ นักวิชาการศึกษา ผู้แทนครูผู้สอน และผู้แทนผู้ปกครอง จำนวน 9 ท่าน แบบสอบถามผ่านการตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหาของแบบสอบถามโดยการวิเคราะห์ IOC การใช้ภาษา ความเหมาะสม และความสอดคล้องของข้อคำถาม จากผู้เชี่ยวชาญ 5 ท่าน สถิติที่ใช้ในการวิจัย คือสถิติพื้นฐาน ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis) ผลการวิจัยพบว่า 1. องค์ประกอบด้านคุณภาพชีวิตเด็กที่มีความต้องการจำเป็นพิเศษ ระดับปฐมวัย 7 องค์ประกอบ ประกอบด้วย 1) ด้านสุขภาพทางร่างกาย 2) ด้านสิ่งแวดล้อม 3) ด้านการศึกษา 4) ด้านอารมณ์และจิตใจ 5) ด้านสัมพันธภาพทางสังคม 6) ด้านสัมพันธภาพทางครอบครัว และ 7) ด้านภาคีเครือข่ายด้านการจัดการศึกษา 6 องค์ประกอบ ประกอบด้วย 1) ด้านกระบวนการเรียนการสอน 2) ด้านการบริหารจัดการ 3) ด้านครู 4) ด้านหลักสูตรสถานศึกษา 5) ด้านการวัดและประเมินผล และ 6) ด้านบรรยากาศและสภาพแวดล้อม 2. สภาพปัจจุบันของคุณภาพชีวิตเด็กที่มีความต้องการจำเป็นพิเศษ ระดับปฐมวัย โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก ภาพรวมของการจัดการศึกษา สภาพปัจจุบันที่ปฏิบัติ อยู่ในระดับมาก และสภาพที่พึงประสงค์ อยู่ในระดับมากที่สุด 3. รูปแบบการจัดการศึกษาเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตเด็กที่มีความต้องการจำเป็นพิเศษ ระดับปฐมวัย ประกอบด้วย 4 ส่วน ได้แก่ ส่วนที่ 1 บทนำ ส่วนที่ 2 แนวทางการจัดการศึกษา ส่วนที่ 3 การนำรูปแบบไปใช้ ส่วนที่ 4 เงื่อนไขความสำเร็จ และรูปแบบการจัดการศึกษาเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตเด็กที่มีความต้องการจำเป็นพิเศษ ระดับปฐมวัย มี 1) ด้านความเหมาะสม 2) ด้านความสอดคล้อง 3) ด้านความมีประโยชน์ และ 4) ด้านความเป็นไปได้ ทุกด้านอยู่ในระดับมากที่สุด
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
Department of Empowerment of Persons with Disabilities. (2015). Kān khapkhlư̄an hai kœ̄t kāndamnœ̄n ngān phatthanā khunnaphāp chīwit khonphikān penpai yāng tō̜nư̄ang læ mī prasitthiphāp. [Driving the operation to improve the quality of life of people with disabilities continuously and effectively]. Bangkok : Express Transport Organization (ETO).
Department of Local Administration. (2017). Khūmư̄ māttrathān kān songsœ̄m læ phatthanā khunnaphāp chīwit khonphikān [Promotion Standards Guide and improve the quality of life for people with disabilities]. Bangkok : Agricultural Cooperative Society of Thailand Printing Co., Ltd.
Ishoh, A. (2019). Khunnaphāp chīwit khō̜ng prachāchon nai khēt ʻongkān bō̜rihānsūan sakō̜m thēphā čhangwat Songkhlā [Quality of Life of People in Tambon Sakom Administrative Organization, Thepha District, Songkhla Province (Unpublished Master’s Thesis)]. Prince of Songkla University, Songkla, Thailand.
Kaoekham, B. (2019).Kānphatthanā rūpbǣp kānbō̜rihān klum khrư̄akhāi rōngrīan prathom sưksā sangkat samnakngān khana kammakān kānsưksā naphư̄n thān. [The Development of Management Models of Primary School Network under the Office of the Basic Education Commission (Unpublished Doctoral Thesis)]. Nakhon Sawan Rajabhut University, Nakhon Sawan, Thailand.
Kokkhangplu, A. (2021). Khunnaphāp chīwit khō̜ng prachāchon thī ʻāsai yū nai phư̄nthī thī mī kānčhatkān kānthō̜ngthīeo dōi chumchon prathēt Thai [Resident’s Quality of Life Living in Community-Based Tourism, Thailand]. Rajapark journal. 15(43),226-244.
Michalos, A.C. (2017). Education, Happiness and Wellbeing. In: Connecting the Quality of Life Theory to Health, Well-being and Education. Switzerland : Springer, Cham.
Ministry of Education. (2017). Nǣothāng kānhai bō̜rikān chūailư̄a raya rǣk rœ̄m læ kānčhatkān sưksā phư̄a khonphikān dōi khrō̜pkhrūa læ chumchon lem sō̜ng. [Guidelines for early support services and education for people with disabilities by their families and communities, Volume 2]. Bangkok : Express Transport Organization (ETO).
Nichanon, C. (2018). Kānphatthanā rūpbǣp kānčhatkān sưksā samrap phū dūlǣ dek dōi chai nǣokhit kānrīanrū dōi chai kānthamngān pen thān. [A Development of Educational Management Model for Caregivers on the Basis of Work-based Learning Concept]. Journal of Research Methodology. 31(2),137-169.
Pengsawat, W. (2010). Kānwičhai phatthanā rūpbǣp. [Model Development Research]. Sakon Nakhon : Rajabhat Sakon Nakhon University.
Pinasa, A. (2018). kānphatthanā rūpbǣp kānčhatkān sưksā dōi chai thō̜ngthin pen thān khō̜ng sathān sưksā nai sangkat samnakngān khēt phư̄nthī kānsưksā prathom sưksā phāk tawanʻō̜k chīang nư̄a. [The Development of Educational Management Model by Using Local-Based of Schools Under The Office of Primary Education Service Area, The North Eastern Region]. Khon Kaen : Journal of Education Graduate Studies Research. 11(2),285-293.
Phoomchusak, C. (2021). Rūpbǣp kānčhatkān sưksā thī būranākān kānrīanrū kap kānthamngān khō̜ng sathān sưksā sangkat samnakngān khana kammakān kān ʻāchīwasưksā. [The management model for work integrated learning of school under office of vocational education commission (Unpublished Doctoral Thesis)]. Naresuan University Phisanulok Thailand.
Polkhan, B. (2019). Kānphatthanā rūpbǣp kānčhatkān ʻāchīwasưksā rabop thawiphākhī dōi kānprayukchai lak pratyā khō̜ng sētthakit phō̜phīang : kō̜ranī sưksā witthayālai sāraphat chāng Mahā Sārakhām. [The Development of Dual Vocational Training (DVT) Model by Applying of the Philosophy of Sufficiency Economy : Case study Mahasarakham Polytechnic College]. Rajabhat Maha Sarakham University Journal. 13(2),117-131.
Rajati, F. and Ashtarian, H. (2018). Quality of life predictors in physically disabled people. Iran : Journal of Education and Health Promotion. 1-8. http://doi.org/10.4103/jehp.jehp_115_17
Special Education Bureau. (2010). Nǣothāng kān patibat ngān khō̜ng sūn kānsưksā phisēt. [Operational guidelines of special education centers]. Bangkok : Kurusapa Printing Ladphrao.
Sukphuaram, J. (2013). Kānnam sanœ̄ rūpbǣp kānbō̜rihān rōngrīan nai kamkap khō̜ng rat samrap prathēt Thai. [Presentation of an autonomous school administration model for Thailand]. Bangkok : Chulalongkorn University.
Suriyakan, K. (2018). Kānsưksā phisēt khō̜ng khonphikān [Articles on the Center of HRH Princess Maha Chakri Sirindhorn Chulalongkorn Hospital, Thai Red Cross Society]. Retrieved September 2021, From : https://www.craniofacial.or.th/special-education-for-disabled.php .
Tontaophas, S. and Thongsukdee, R. (2019). kānwāngphǣn kān plīan phān čhāk bān sū rōngrīan : nǣothāng kān khaothưng ʻōkāt thāngkān sưksā khō̜ng dek phikān nai phư̄nthī dō̜i wāwī. [Home-to-school transition planning: an approach to accessing opportunities Education for children with disabilities in Doi Wawee area]. Sikkhana : Special Education Journal, 6(7), 60-72.
Virasaya, J. (2018). Kān yok radap khunnaphāp chīwit khonphikān nai čhangwat Sing Burī dōi withīkān būranākān [Improving the quality of life of people with disabilities in Singburi Province by an integrated approach]. Singburi : Special Education Center Singburi Pravince.