แนวทางการพัฒนาความฉลาดทางอารมณ์ของนักศึกษา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต

Main Article Content

์Neidniyamart Wannapayun
วิภาพร สุทธิอัมพร

บทคัดย่อ

     การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับความฉลาดทางอารมณ์ของนักศึกษา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต เพื่อเปรียบเทียบความฉลาดทางอารมณ์ของนักศึกษาที่มีปัจจัยส่วนบุคคลแตกต่างกัน และเพื่อเสนอแนวทาง การพัฒนาความฉลาดทางอารมณ์ของนักศึกษาคณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต กลุ่มตัวอย่างเป็นนักศึกษา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ตชั้นปีที่ 1-4 ประจำปีการศึกษา 2562 จำนวนกลุ่มตัวอย่าง 400 คน ผู้เชี่ยวชาญทางจิตวิทยาและทางการศึกษา จำนวน 3 คน คณะกรรมการบริหารคณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต จำนวน 10 คน และผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย จำนวน 20 คน คือ ผู้ใช้บัณฑิต (ผู้บริหารสถานศึกษา หัวหน้าหมวด ครูประจำการ) เครื่องมือที่ใช้ ในการเก็บข้อมูล ใช้แบบสอบถามวัดระดับความฉลาดทางอารมณ์ รวมทั้งหมด 52 ข้อ แบ่งเป็น 9 ด้าน และแบบสัมภาษณ์ การเก็บรวบรวมข้อมูล จากแบบสอบถามและการสัมภาษณ์ การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ การจัดระบบการตีความนำไปสู่บทสรุป ส่วนข้อมูลเชิงปริมาณ ใช้สถิติเชิงพรรณนา ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน โดยใช้สถิติ t-test และ F-test และ    การเปรียบเทียบรายคู่โดยวิธีของ Scheffe ตั้งระดับความเชื่อมั่นที่ร้อยละ 95 หรือระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ .05 ผลการวิจัยพบว่า 1) นักศึกษามีความฉลาดทางอารมณ์ทั้ง 9 ด้าน เฉลี่ยอยู่ในระดับสูง 2) การเปรียบเทียบความฉลาดทางอารมณ์ ของนักศึกษาที่มีปัจจัยส่วนบุคคลแตกต่างกัน พบว่า นักศึกษาที่มี เพศ ชั้นปี เกรดเฉลี่ย อาชีพของผู้ปกครอง สภาพที่พักอาศัย สภาพการอบรมเลี้ยงดู สภาพการเรียน และการมีส่วนร่วมในกิจกรรมนักศึกษา มีระดับความฉลาดทางอารมณ์แตกต่างกัน กล่าวคือ ปัจจัยที่พบว่าระดับความฉลาดทางอารมณ์ในภาพรวมมีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ คือ เพศ ซึ่งมีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ส่วนปัจจัยที่พบว่าระดับความฉลาดทางอารมณ์ไม่มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 คือ ชั้นปี เกรดเฉลี่ย อาชีพของผู้ปกครอง สภาพการพักอาศัย สภาพการอบรมเลี้ยงดู สภาพการเรียน การมีส่วนร่วมในกิจกรรมนักศึกษา 3) แนวทางการพัฒนาความฉลาดทางอารมณ์ของนักศึกษาคณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต จากผลการวิเคราะห์ข้อมูลตามวัตถุประสงค์ข้อที่ 1 และ 2 นั้น และสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญ เพื่อหาแนวทางในการพัฒนา พบว่า ผู้บริหารคณะต้องดำเนินการจัดทำแผนยุทธศาสตร์ด้านการพัฒนานักศึกษาในการมุ่งเน้นพัฒนานักศึกษาทั้ง IQ และ EQ ไปพร้อมๆ กันและจัดตั้งเป็นคณะกรรมการขับเคลื่อนแผนยุทธศาสตร์พัฒนานักศึกษาร่วมกันระหว่างผู้บริหารคณะครุศาสตร์ อาจารย์ นักศึกษา และผู้ใช้บัณฑิต ซึ่งจากผลการศึกษาระดับความฉลาดทางอารมณ์ ของนักศึกษาคณะครุศาสตร์ ควรจัดกิจกรรมที่มุ่งเน้นการพัฒนาความฉลาดทางอารมณ์ 4 ด้านเพิ่มขึ้น ได้แก่ ด้านการสร้างแรงจูงใจให้ตนเอง ด้านการอดทน อดกลั้น ด้านความสามารถในการทำงานร่วมกับผู้อื่น ด้านความภาคภูมิใจตนเอง ซึ่งมีความฉลาดทางอารมณ์ระดับปานกลาง


 

Article Details

บท
บทความวิจัย (Research article)

References

Dechkong. T. (2004). Khwāmchalātthāngʻāromsū sati læpanya [Emotional Intelligence to Mindfulness and Wisdom. 10 th ed]. Bangkok : Matichon Publishing.

Department of Mental Health. (2000). Īkhiu khwāmchalātthāngʻārom [EQ: Emotional Intelligence]. Bangkok : Mental Health Development Office, Department of Mental Health.

Detpichai, W. (1992). Khūmư̄kānwičhailækānpramœ̄nphonkhrōngkānthāngkānsưksālæphrưttikamsāt [Research and intellectual challenge and intellectual education]. Pattani : Prince of Songkla University Pattani Campus.

Goleman, D. (1995). Emotional Intelligence. New York : Bantam Books.

Goleman, D. (1998). Working with Emotion Intelligence. New York : Bantam Book.

Jimenez, E. (2020). Emotional quotient, work attitude and teaching performance of secondary school teachers. Journal of Pedagogical Sociology and Psychology. 2(1),25-35 doi:https://doi.org/10.33902 /JPSP. 2020161079

Leksoongnoen, S. (2018). Khwāmchalātthāngʻ āromkhō̜ngnaksưksāchanpīthīnưng Mahāwitthayālai Sinlapākō̜n phrarāt wang sanāmčhan [Emotional intelligence of first year students Silpakorn University Sanam Chan Palace]. Bangkok : Silpakorn University.

Mayer, J. D. and Salovey, P. (1997). What is emotional of emotional intelligence. Intelligence. 17(4),433-442.

Maputra, Y. and Winbaktinur, W. (2015). The Developing Pattern of Emotional Quotients by Teacher in Teaching. Scientific Journal of PPI-UKM. 2(5),210-214.

Office for Accreditation and Quality Assessment. (2004). Lakkēnlæwithīkānpramœ̄nkhunnaphāpphāinō̜k khō̜ng sathānsưksāradapkānsưksānaphư̄nthān [Criteria and methods of assessment. External qualities of educational institutions at the level of basic education]. Bangkok : Good Print Co.,Ltd.

Panjieng, P. (2015). Chalātthāngʻāromkhō̜ng naksưksāsathābanʻudomsưksānaičhangwatSongkhlā [Factors Affecting Emotional Intelligence and Emotional Intelligence Development Patterns of Students of Higher Education Institutions in Songkhla Province]. Songkhla :, Hat Yai University.

Wongkhamchan, C. and Saengngam. K. (2021). Kānphatthanākhwāmchalātthāngʻāromlæphrưttikam kānrīan

rūkhō̜ng naksưksāwichāchīpkhrūdōi kāčhatkitčhakamkānrīanrūbǣpchœ̄ngruk (Active Learning) pha sānnǣo khitčhittapanyāsưksā [Developing emotional intelligence and learning behaviors of teacher-professional students by organizing active learning activities that combine the concept of intellectual education]. Journal of Roi Et Rajabhat University. 15(1),209-219.