การจัดการเรียนรู้โดยใช้โครงงานเป็นฐานผสานกับกระบวนการคิดอย่างมีวิจารณญาณ เพื่อพัฒนาสมรรถนะการรู้เท่าทันดิจิทัล รายวิชาเทคโนโลยี สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5

Main Article Content

นางสาวชิโนรส กวางแก้ว
รสริน เจิมไธสง

บทคัดย่อ

     การศึกษาวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับสมรรถนะการรู้เท่าทันดิจิทัล รายวิชาเทคโนโลยีของนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 และเปรียบเทียบสมรรถนะการรู้เท่าทันดิจิทัล รายวิชาเทคโนโลยี ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5  หลังเรียนระหว่างกลุ่มทดลองที่ได้รับการจัดการเรียนรู้โดยใช้โครงงานเป็นฐานผสานกับกระบวนการคิดอย่างมีวิจารณญาณ  และกลุ่มควบคุมที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบปกติ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ นักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนเฟื่องฟ้าวิทยา สังกัดสำนักงานศึกษาธิการจังหวัดปทุมธานี ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2563 จำนวน 2 ห้องเรียน โดยใช้วิธีการสุ่มแบบกลุ่ม ได้นักเรียน จำนวน 69 คน แบ่งเป็นกลุ่มทดลอง 34 คน และกลุ่มควบคุม 35 คน เครื่องมือที่ใช้ ในการวิจัย 1) แผนการจัดการเรียนรู้แบบปกติ จำนวน 4 แผน รวม 9 ชั่วโมง 2) แผนการจัดการเรียนรู้แบบการจัดการเรียนรู้โดยใช้โครงงานเป็นฐานผสมผสานกับกระบวนการคิดอย่างมีวิจารณญาณ จำนวน 4 แผน รวม 10 ชั่วโมง 3) แบบทดสอบวัดสมรรถนะการรู้เท่าทันดิจิทัล ประเมินตามสภาพจริง ภาคปฏิบัติ มีลักษณะเป็นแบบประเมินมาตราส่วนประมาณ 5 ระดับ และมีเกณฑ์การให้คะแนนแบบรูบริค สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบที (t-test for Independent Samples)  ผลการวิจัยพบว่า 1) สมรรถนะการรู้เท่าทันดิจิทัล รายวิชาเทคโนโลยี ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 อยู่ในระดับมาก 2) สมรรถนะการรู้เท่าทันดิจิทัล รายวิชาเทคโนโลยี ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ของกลุ่มทดลองที่ได้รับการจัดการเรียนรู้โดยใช้โครงงานเป็นฐานผสานกับกระบวนการคิดอย่างมีวิจารณญาณ หลังเรียนสูงกว่ากลุ่มควบคุมที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบปกติ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ส่งผลให้ได้องค์ความรู้ใหม่ในเรื่องการพัฒนาสมรรถนะการรู้เท่าทันดิจิทัล เพื่อนำไปปรับใช้กับระดับชั้นอื่นๆ

Article Details

บท
บทความวิจัย (Research article)

References

Best, J. W. (1981). Research in education (4th ed.). New Jersey: Prentice Hall.

Chatchada, D. (2017). Kānphatthanā rūpbǣp khrōng ngān dōi chai thēkniksakhǣmphœ̄ dūai khalāsœ̄wit phư̄a songsœ̄m khwāmkhit sāngsan khō̜ng nakrīan chan matthayommasưksā tō̜n ton [Development of Project-Based Learning Model Using Scamer Technique with Cloud Service to Enhance Creative Thinking of Lower Lewel Secondary School Students]. Master's thesis. Bangkok :Chulalongkorn University.

Child and Youth Media Institute. (2016). Krō̜p nǣokhit nai kānphatthanā laksūt kān rūthao than sư̄ sārasonthēt læ dičhithan phư̄a sāng phonlamư̄ang prachāthipatai [Conceptual framework for developing a media literacy curriculum Information and digital to create Democratic citizens]. Bangkok.

Dusadee, Y. (2014). Kānsưksā kānčhatkān rīanrū bǣp PBL thī dai čhāk khrōngkān sāng chut khwāmrū phư̄a sāngsœ̄m thaksa hǣng satawat thī yīsipʻet khō̜ng dek læ yaowachon : čhāk prasopkān khwāmsamret khō̜ng rōngrīan Thai [The study of PBL learning management obtained from the knowledge-building project to enhance 21st Century Skills of Children and Youth: From the Successful Experience of Thai Schools]. Bangkok : Thipvisut Ltd., Part.

Ennis, R .H. (1985). A logical basis for measuring critical thinking skill. Educational Leadership, 43(2), 44-48.

________. (1987). A taxonomy of critical dispositions and abilities. In J. B. Baron, & R. J. Sternberg (Eds.), Teaching thinking skills: theory and practice. New York: Freeman.

________. (1996). Logical Operation in Classroom, International Encyclopedia of Education. 5: 3129-3139. New York: Pergamon Press. Eysenk, H.J.Arnold.

Guilford, J. P. (1967). The Nature of Human Intelligence. McGraw-Hill, Book Company.

McCleland, D. (1973). Testing for Competence Rather than for Intelligence. American Psychologist. 28(1) : 1-14 ; June, 1973.

Narongwit, S. (2007). Mārūčhak COMPETENCY kan thœ [Let's get to know COMPETENCY]. Bangkok: HR Center.

National Science and Technology Development Agency. (2020). Kān rū dičhithan [Digital literacy]. Retrieved from https://www.nstda.or.th/th/nstda-knowledge/142-knowledges/2632.

Office of the Education Council. (2019). Krō̜p samatthana lak phū rīan radap kānsưksā naphư̄n thān læ radap prathom sưksā tō̜n ton ( Por nưng 3) [Core Competency Framework Basic education level And elementary level Early study (Primary 1–3)]. Bangkok : 21 Century Company Limited.

Office of the National Education Commission. (2005). Sān fan…dūai kān khit [Weave dreams ... by thinking]. Bangkok : Saematham.

Office of the Royal Society. (2015). Thaksa kān khit wikhro̜ sangkhro̜ sāngsan læ kān khit yāng mī wičhāranayān : kārabūn nā kān nai kānčhatkān rīanrū [Critical, synthetic, creative and critical thinking skills : Integration in learning management].

Shet, R. M., Iyer, N. C., Nissimgoudar, P. C., & Ajit, S. (2015,). Integrated experience : Through

project-based learning. New Delhi.

Suppervisory Unit Office of Vocational Education Commission. (2016). Nǣothāng kānčhatkān rīanrū bǣp khrōng ngān pen thān . [Guidelines for learning management The Project-Based Learning]. Nakhon Pathom : Sinthavee Kit Printing Limited Partnership (Headquarters).

Tisana, K. (2016). Pluk lōk kānsō̜n hai mī chīwit hō̜ng rīan hǣng satawat mai [Awaken the teaching world to life. Classroom of the new century]. Bangkok : Sahamit Printing Co., Ltd.

Thida, S. (2019). Kānphatthanā bǣpčhamlō̜ng kān rīan kānsō̜n bon wep dōi chai panhā pen thān phư̄a songsœ̄m kān rū dičhithan samrap naksưksā radap parinyā trī [The Web-Based Instruction Model by Using Problem - Based Learning to Enhance Digital Literacy for Undergraduate Students]. Doctor of Philosophy thesis. Bangkok : Kasetsart University.

Vicharn, P. (2013). Kānsāng kānrīanrū sū satawat thī yīsipʻet [Building learning into the 21st century]. Bangkok : Siam Commercial Bank Foundation.