ต้นแบบกระบวนการเชิงรุก “อัตตะพลวัต” เพื่ออัตลักษณ์เฉพาะถิ่น : กรณีศึกษาบ้านคลองรี่ ต.ห้วยกรด อ.สรรคบุรี จ.ชัยนาท

Main Article Content

ศิริวิมล สายเวช
เกรียงศักดิ์ เขียวมั่ง
มิยอง ซอ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้เพื่อศึกษาหลักการ ทฤษฎี วรรณกรรมที่เกี่ยวข้องกับการสร้างเครื่องมือ ให้ได้องค์ความรู้การสร้างต้นแบบกระบวนการค้นหาอัตลักษณ์เฉพาะถิ่นเชิงลึก โดยมีกลุ่มเป้าหมาย คือ กลุ่มผู้ผลิตและต่อยอดผลิตภัณฑ์ชุมชน          บ้านคลองรี่ ต.ห้วยกรด อ.สรรคบุรี จ.ชัยนาท เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 1. แบบสำรวจผลิตภัณฑ์ชุมชน 2.แบบสังเกตการณ์การทำงานของนักวิชาการต้นแบบ 3. แบบสัมภาษณ์ผู้ผลิตผลิตภัณฑ์ชุมชนและผู้นำ-ปราชญ์ชาวบ้าน  ซึ่งเป็นแบบสัมภาษณ์เชิงลึกกึ่งโครงสร้างรุ่นทดลองเพื่อจำลองสถานการณ์การใช้เครื่องมือต้นแบบ จากการใช้เครื่องมือรุ่นทดลองนี้นำมาวิเคราะห์ และพัฒนาเป็นเครื่องมือต้นแบบกระบวนการค้นหาอัตลักษณ์เฉพาะถิ่นเชิงลึก เครื่องมือรุ่นทดลองนำเข้าสู่กระบวนการพิจารณาตรวจสอบโดยผู้เชี่ยวชาญคัดเลือกข้อคำถามที่มีค่า IOC มากกว่า 0.7 ขึ้นไป และตรวจสอบความเชื่อมั่นด้วยการคำนวณค่าสัมประสิทธิ์แอลฟ่าของครอนบาคมีค่าเท่ากับ .86 ผู้เขียนนำมาปรับปรุง พัฒนาเป็นเครื่องมือเพื่อนำไปใช้แก้ไขปัญหาของงานวิจัยและตอบโจทย์วัตถุประสงค์ของงาน ผลการวิจัยพบว่า งานวิจัยชิ้นนี้ ได้ต้นแบบกระบวนการเชิงรุกเพื่อใช้ค้นหาอัตลักษณ์เฉพาะถิ่นเชิงลึก โดยใช้ชื่อว่าต้นแบบกระบวนการเชิงรุกอัตตะพลวัต หรือ Dynamic Unique Model (DU Model) มีเครื่องมือประกอบด้วย 1. แบบสัมภาษณ์เชิงลึกกึ่งโครงสร้าง และ 2. แบบสังเคราะห์ร่วมกับตัวแปร 12 เดือน 3 ฤดูกาล ซึ่งการทดลองนำเครื่องมือไปใช้กับกรณีศึกษา ผลการสังเคราะห์กรอบคำสำคัญของเครื่องมือแบบสัมภาษณ์เชิงลึกกึ่งโครงสร้างทั้ง 5 มิติ เชื่อมโยงกันจนปรากฏอัตลักษณ์ชั้นต้นของบ้านคลองรี่ คือ ข้าว ตาล ปลาร้า และนำอัตลักษณ์    ทั้ง 3 ใช้กับแบบสังเคราะห์ร่วมกับตัวแปร 12 เดือน 3 ฤดูกาล พบว่ามีการเคลื่อนไหวสอดคล้องกับวิถีชุมชนเป็นพลวัต ปรากฏกิจกรรมทำขนมจีนเส้นตาลในช่วงเวลากาลเฉพาะที่อัตลักษณ์ทั้ง 3 มาบรรจบได้อย่างลงตัว สามารถระบุรายละเอียดเฉพาะที่ยืนยันว่าสิ่งๆ นี้คืออัตลักษณ์เฉพาะถิ่นบ้านคลองรี่เท่านั้น กระบวนการสุดท้ายคือการยกระดับเป็นอัตลักษณ์เฉพาะถิ่นเชิงลึกด้วยการบูรณาการข้ามศาสตร์โดยการคัดเลือกอัตลักษณ์ชั้นต้นมาทดลองทดสอบด้วยเครื่องมือวิทยาศาสตร์ ส่งผลให้บ้านคลองรี่ได้ชุดโครงสร้างสีใหม่จำนวน 32 สี เพื่อนำไปใช้เป็นชุดโครงสร้างสีอัตลักษณ์ของผลิตภัณฑ์ชุมชนที่สอดคล้องกับฤดูกาลของไทยและกาลเฉพาะที่จะเกิดขึ้นในอนาคตได้

Article Details

บท
บทความวิจัย (Research article)

References

Aekwuttiwongsa, S. (2020). kān khit chœ̄ng ʻanākhot phư̄a kān ʻō̜k bǣp [Future thinking for design]. Bangkok:
Mean service supply limited Partnership.
Anunvrapong, A. (2017). lakkān wičhai phư̄a phatthanā phalittaphan phūmpanyā [Research
Principles for The Development of Thai Wisdom Products].Bangkok: Chulalongkorn University
Printing house.
Chamnankit, K. (2019). kānprayukchai Big Datanai kānbō̜rihān čhatkān thānkhō̜mūn thāng dān
kānngœ̄n kān banchī khō̜ng sahakō̜n phư̄a yok radap sūn wikhro̜ phāwa sētthakit læ kānngœ̄n
sahakō̜n khō̜ng krom trūat banchī sahakō̜n [Big Data Applications in the management of financial databases Cooperative Accounting To upgrade the Cooperative Economic and Financial Analysis Center of the Cooperative Auditing Department.]. Research report. Bangkok: Cooperative Auditing Department.
Chuengsatiansup, K. (2016). withī chumchon khrư̄angmư̄ čhet chin thī thamhai ngān chumchon ngāi
dai phon læ sanuk [Community way of life, 7 tools that make community work easy and fun.]
.Nontaburi:Suksala.
Community Development Department. (2017). khūmư̄ bō̜rihān khrōngkān chumchon thō̜ngthīeo OTOP
nawat withī . [OTOP NawatwithiTourism Community Project Management (2018-2019)].
Retrieved November, 19, 2019, from www.oic.go.th/FILEWEB/CABINFOCENTER3/DRAWER051
/GENERAL/DATA0000/00000042. Pdf.
Community Development Department. (2019). khrōngkān chumchon thō̜ngthīeo OTOP nawat withī ʻǣng
lek chek ʻin [OTOP Nawatwithi Communities Check-in (2018-2019)]. Retrieved March 1, 2019,
From www.plan.cdd.go.th/wp-content/uploads/sites/97/2018/08/แอ่งเล็กเช็คอิน.pdf.
Fang Phro, O and Mor Sri Jai, R. (2019). theknik kānkep rūaprūam khō̜mūn : kān samphāt [Data Collection
Techniques: Interview]. Retrieved November 14, 2021, from www.northnfe.blogspot.com/2019/08
/ED256212.html
Keawtep, K. (2017). khrư̄angmư̄ tham ngān Watthanatham chumchon læsư̄ phithīkam sưksā [Community
Cultural work tools and media ritual studies].Bangkok: Bangkok Printing Limited Partnership.
Klook Team. (2021).Shirakawa-Go Travel Guide – How to Go, Best Time To Visit, Must-Eat & More.
Retrieved November 14, 2021, from www.klook.com/blog/shirakawago-travel-guide.
Princess Maha Chakri Sirindhorn Anthropology Centre. (2019). niyām praphēt praphēnī [definition of
Tradition]. Retrieved November 14, 2021, from www.sac.or.th/databases/rituals/definition.php.
Saywech, S. (2019). tonbǣp chœ̄ng ruk phư̄a yok radap kānsāng ʻattalak chapho̜ thin sū kānʻō̜kbǣp
phalittaphan chumchon čhangwat Chai Nāt [The Model of Identity Creation for Community Product Designs of Chai Nat.].( Unpublished doctoral dissertation). Chonburi : Burapha University.