การรวมกลุ่มจังหวัดท่องเที่ยวของไทย

Main Article Content

Bundit Chaivichayachat

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินรูปแบบการขยายตัวแบบรวมกลุ่มจังหวัดของการท่องเที่ยวไทย ด้วยสถิติที่เกี่ยวข้องกับการกระจายเชิงพื้นที่ (spatial distribution) แบบการกระจายเชิงพื้นที่เฉพาะจุด (local spatial distribution) คือ แผนภาพ Moran’s I (Moran’s Scatter-plot) และดัชนี Moran แบบเฉพาะจุด (local Moran’s I index: LISA) จากการใช้ข้อมูลทุติยภูมิในช่วงปี พ.ศ.2553 ถึงปี พ.ศ.2562 ผลการวิจัยพบว่า การขยายตัวของการท่องเที่ยวไทยในช่วงหนึ่งทศวรรษที่ผ่านมีการขยายตัวแบบรวมเป็นกลุ่มจังหวัดเกิดขึ้นเพียงไม่กี่กลุ่ม และมีจังหวัดหลักของการขยายตัวทางการท่องเที่ยว คือ กรุงเทพมหานคร และอยุธยา รวมถึงจังหวัดที่ควรส่งเสริมให้เกิดการขยายตัวแบบรวมเป็นกลุ่มจังหวัดเนื่องจาก มีลักษณะของจังหวัดที่จะทำให้เกิดการขยายตัวของจังหวัดรอบข้างได้ ได้แก่ อุบลราชธานี ตราด มุกดาหาร เชียงราย และ บุรีรัมย์ สุดท้าย คือ จังหวัดที่สามารถพัฒนาให้เป็นจังหวัดหลักของการขยายตัวในอนาคต ได้แก่ ชลบุรี ภูเก็ต นครราชสีมา เชียงใหม่ อยุธยา กาญจนบุรี เพชรบุรี สมุทรปราการ พังงา กระบี่ หนองคาย และบึงกาฬ ผลการวิจัยสามารถนำไปใช้เป็นแนวการจัดตั้งกลุ่มการท่องเที่ยวให้สอดคล้องกับพฤติกรรมการท่องเที่ยวเพื่อสนับสนุนให้เกิดความสมดุลและยั่งยืนของ      การท่องเที่ยวไทย

Article Details

บท
บทความวิจัย (Research article)

References

Alama-Sabater, L. and Artal-Tur, A. (2017). Accounting for Spatial Dependence in Tourist Expenditure
Functions, University Jaume I: Spain.
Anselin, L. (1996). The Moran Scatterplot as ESDA Tool to Assess Local Instability in Spatial Association. in
M.Fisher, J.J.Scholten and D.Unwin (Eds), Spatial Analysis Perspectives on GIS. (p.111-125).
London: Taylor and Francis.
Anselin, L., and Bao, S. (1997). Exploratory Spatial Data Analysis Linking SpaceStat and ArcView. in M.Fisher
and A.Getis (Eds), Recent Developments in Spatial Analysis. (p.35-59). Berlin Heidelberg, New York:
Springer.
Chaivichayachat, B. (2019). The Inequality of Tourism Revenues in Thailand: City or Conglomeration.
International Journal of Civil Engineering and Technology, 10(3): 155-162.
Joao & Saito. (2017). A Spatial Analysis on the Determinants of Tourism Performance in Japanese
Prefectures. Asia-Pacific Journal of Regional Science, 1(1): 243-264.
Khan, A.A. (2018). The Spatial Distribution and Relationship of Tourist Flow in Turkey. European Journal of
Tourism Research, 19: 40-55.
Vieira, A.C. & Santos, L.D. (2017). Tourism and Regional Development: a Spatial Econometric Model for
Portugal at Municipal Level. FEP Working Papers, No.589.