การพัฒนาหลักสูตรโค้ชชิ่งโค้ดดิ้ง สำหรับข้าราชการครูโครงการผลิตครูเพื่อพัฒนาท้องถิ่นจังหวัดลำปาง

Main Article Content

เกษทิพย์ ศิริชัยศิลป์
ปริตต์ สายสี
สมชาย เมืองมูล
พิชชา ถนอมเสียง

บทคัดย่อ

การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) สร้างและหาความเหมาะสมของหลักสูตรโค้ชชิ่งโค้ดดิ้ง สำหรับข้าราชการครู โครงการผลิตครูเพื่อพัฒนาท้องถิ่น จังหวัดลำปาง 2) ทดลองใช้หลักสูตรโค้ชชิ่งโค้ดดิ้ง สำหรับข้าราชการครูโครงการผลิตครูเพื่อพัฒนาท้องถิ่น จังหวัดลำปาง การวิจัยดำเนินการตามกระบวนการวิจัยและพัฒนา (Research and Development) โดยขั้นตอนที่ 1 ตรวจสอบความเหมาะสมโดยผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 3 ท่าน ขั้นตอนที่ 2 ทดลองใช้หลักสูตรโค้ชชิ่งโค้ดดิ้ง สำหรับข้าราชการครู โครงการผลิตครูเพื่อพัฒนาท้องถิ่น จังหวัดลำปางกับข้าราชการครู โครงการผลิตครูเพื่อพัฒนาท้องถิ่น จำนวน 25 คน แบบแผนในการวิจัยใช้การทดลองแบบกลุ่มเดียวทดสอบหลังการทดลองเทียบกับเกณฑ์ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบประเมินความสามารถในออกแบบการจัดการเรียนรู้โค้ดดิ้ง ผลการวิจัย พบว่า 1) หลักสูตรที่สร้างขึ้นมีองค์ประกอบสำคัญ คือ ความเป็นมาและความสำคัญในการพัฒนาหลักสูตร เป้าหมายของหลักสูตร หลักการของหลักสูตร จุดมุ่งหมายของหลักสูตร โครงสร้างเนื้อหาหลักสูตร จำนวนชั่วโมงที่ใช้ในหลักสูตร การนำหลักสูตรไปใช้  สื่อ ทรัพยากรและแหล่งการเรียนรู้ การวัดและประเมินผล และเงื่อนไขในการนำหลักสูตรไปใช้ ในส่วนของเอกสารประกอบหลักสูตร ประกอบด้วย หน่วยการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่ช่วยเสริมสร้างความสามารถในออกแบบการจัดการเรียนรู้แบบโค้ดดิ้ง ผลการตรวจสอบหลักสูตรโดยผู้เชี่ยวชาญ พบว่า มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก และเอกสารประกอบหลักสูตรมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด และ 2) ผลการทดลองใช้หลักสูตร พบว่า การทดสอบความสามารถการออกแบบการเรียนรู้โค้ดดิ้งหลังการใช้หลักสูตรโค้ชชิ่งโค้ดดิ้งฯ ของข้าราชการครู โครงการผลิตครูเพื่อพัฒนาท้องถิ่น มีคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 66.76 คะแนน  คิดเป็นร้อยละ 89.01 เมื่อเปรียบเทียบระหว่างเกณฑ์กับคะแนนทดสอบความสามารถการออกแบบการเรียนรู้โค้ดดิ้งหลังการใช้หลักสูตรโค้ชชิ่งโค้ดดิ้งฯ พบว่า  คะแนนความสามารถการออกแบบการเรียนรู้โค้ดดิ้งหลังการใช้หลักสูตรโค้ชชิ่งโค้ดดิ้งฯ ของข้าราชการครู โครงการผลิตครูเพื่อพัฒนาท้องถิ่นสูงกว่าเกณฑ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

Article Details

บท
บทความวิจัย (Research article)

References

Laoreandee, V. (2013). Science of Supervision, Teaching and Coaching Professional development: theory,
strategy, practice. (12th edition). Silpakorn University, Nakhon Pathom.
Masangsom, K. (2019). The Development of a Teacher Training Curriculum on Multigrade Classroom
Learning Management in Small-sized Schools under Sakon Nakhon Educational Service Area
Office 1. Journal of Humanities and Social Sciences Nakhon Phanom University. Vol.9 No.2 May-August 2019.
Office of the Education Council, Ministry of Education. (2015). Report on the status of teacher production and development in Thailand. Bangkok: Office of Educational
Standards and Learning Development. Office of the Education Council, Ministry of Education.
Pangtam, P. (2019). The Development of Trainning Curriculum for Teacher Engaged on the Design of Electronic Book (e-book) in Sakonnakhon Municipality. Journal of
Humanities and Social Sciences Nakhon Phanom University. Vol.9 No.2 May-August 2019.
Ruongsuwan, C. (1990). Educational technology: theory and research. . Bangkok : O.S. printing House.
Saitam, P. (2018). The Development of Teacher Professional Development Curriculum Using Positive
Coaching to Construct Curriculum Media Consumption With Media Literacy Based on The Sufficiency Economy. Journal of Education Naresuan University. Vol.20
No.1 January – March 2018.
Sutirat, C. (2013). Curriculum development : Theory to practice. Bangkok : Vprint.
Wongyai, V. (2019). Coaching Coding. Curriculum and Learning Innovation Leader Center, Bangkok Graduate school Srinakharinwirot University.