การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนแบบสอนแนะในวิชาสื่อประสมเพื่อเสริมสร้าง การเป็นชุมชนต้นแบบความรู้ ของนักศึกษาระดับปริญญาตรี

Main Article Content

เบญจภัค จงหมื่นไวย์
เบญจภัค จงหมื่นไวย์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างและพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนแบบสอนแนะ ในวิชาสื่อประสม เพื่อเสริมสร้างการเป็นชุมชนต้นแบบความรู้ของนักศึกษาระดับปริญญาตรี เพื่อศึกษาประสิทธิภาพรูปแบบการเรียนการสอนแบบสอนแนะในวิชาสื่อประสมตามเกณฑ์ที่กำหนด 80/80 และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษา และเพื่อประเมินผลความพึงพอใจต่อการใช้รูปแบบการเรียนการสอนแบบสอนแนะในวิชาสื่อประสม กลุ่มเป้าหมายและกลุ่มตัวอย่าง สำหรับกลุ่มเป้าหมาย คือ อาจารย์ผู้สอนในหลักสูตรปริญญาตรีสาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ จำนวน 5 คน ได้มาจากการเลือกแบบเจาะจง ส่วนกลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักศึกษาที่ลงทะเบียนเรียนรายวิชาสื่อประสม ระดับชั้นปีที่ 2 และ 3 จำนวน 14 คน          ได้มาจากการสุ่มแบบแบ่งกลุ่มชั้นหลายขั้นตอน การเก็บรวบรวมข้อมูล จากการศึกษาเอกสารและการแลกเปลี่ยนเรียนรู้โดยการระดมสมอง เพื่อสร้างและพัฒนารูปแบบในการจัดการเรียนการสอน เพื่อศึกษาประสิทธิภาพ ในการทดสอบด้วยแบบทดสอบเพื่อศึกษาผลสัมฤทธิ์ และประเมินความพึงพอใจต่อรูปแบบการเรียนการสอนแบบสอนแนะด้วยแบบสอบถาม เพื่อศึกษาระดับความพึงพอใจ การวิเคราะห์ข้อมูล ใช้สถิติพรรณนา ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าความแตกต่าง t-test ผลการวิจัยพบว่า 1) องค์ประกอบของรูปแบบการเรียนการสอนแบบสอนแนะ ประกอบด้วย เนื้อหากระบวนการ ผลลัพธ์ และข้อมูลป้อนกลับ 2) ประสิทธิภาพรูปแบบการเรียนการสอนแบบสอนแนะเป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนด โดยประสิทธิภาพด้านกระบวนการเท่ากับ 81.38 และประสิทธิภาพด้านผลลัพธ์เท่ากับ 90.53 เป็นไปตามเกณฑ์เท่ากับ 81.38/90.53 และผลสัมฤทธิ์คะแนนหลังเรียนของนักศึกษาสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และ 3) ความพึงพอใจต่อรูปแบบการเรียนการสอนแบบสอนแนะของนักศึกษา ภาพรวมอยู่ในระดับมาก ซึ่งมีความเป็นประโยชน์ส่งผลให้นักศึกษาสามารถเป็นชุมชนต้นแบบความรู้และผลสัมฤทธิ์สูงขึ้น 

Article Details

บท
บทความวิจัย (Research article)

References

[1] Joyce: b. : Veil: m. (2019). [model of teaching]. 5th ed. Englewood Cliffs, NJ: prentice-hall.
[2] White Wawit Saeng Alangkarn. (2018). bot thī hā kunčhǣ sip prakān sō̜n ngān hai kœ̄t phon. Retrieved
from https://www.ocsc.go.th/sites/default/files/document/ocsc-2017-eb12.pdf [in Thai]
[3] Pornchai Jedaman. et al. (2015). kānphatthanā kānsưksā phāitai krō̜p prathēt Thai 4.0 sū satawat thī
yīsipʻet. Journal of Industrial Education. 16(2). Page 199-206. [in Thai]
[4] San Thambamrung. (1984). laksūt læ kānbō̜rihān laksūt. Bangkok. Religious. [in Thai]
[5] Prasart Isaraprida. (2006). sārattha čhittawitthayā kānsưksā. Textbook Project, Mahasarakham University.
383 Page. [in Thai]
[6] Anchalee Dhammakulkun. (2010). khwāmrū bư̄angton kīeokap kān nithēt kānsưksā. Retrieved from
http://panchalee.wordpress.com/2009/03/30/supervision. [in Thai]
[7] Muanfun Chommanee and Siripaarn Suwanmonkha. (2014). kān wikhro̜ krabūankān chīnæ khō̜ng khrū
læ phon thī kœ̄t kap phū rīan : phahu kō̜ranī sưksā. Electronic Journal of Education. 9(2).
Page 489-499. [in Thai]
[8] Wararat Pathumcharoenwattana (2019). kānsưksā nō̜k rabop rōngrīan samrap dek læ yaowachon dō̜i ʻōkāt
: ʻēkkasān khamsō̜n rāiwichā 2750283. Faculty of Education, Chulalongkorn University. [in Thai]
[9] Somchai Chanyaphaibun. (2012). rūpbǣp kānphatthanā kānprakan khunnaphāp phāinai sathān sưksā
sangkat samnakngān khēt phư̄nthī kānsưksā matthayommasưksā khēt yīsipkāo. Doctor of
Philosophy Program for thesis. Rajabhat ubonratchathani university. Ubonratchathani province.
[in Thai]
[10] Chaiyong Phromwong. (2013). kānthotsō̜p prasitthiphāp sư̄ rư̄ chut kānsō̜n. Silpakorn Journal of
Research Science, 5(1), Page. 7-19. [in Thai]
[11] Wimonrat Sunthornrot. (2016). kānphatthanā khwāmsāmāt dān kāntham wičhai nai chan rīan
khō̜ng nisit sākhā wichā phāsā Thai chan pī thī sām dōi chai krabūankān Coaching læ Mentoring.
Journal of Education Mahasarakham University. 10(4). Page 165-176. [in Thai]