รูปแบบการพัฒนาอย่างยั่งยืนของการผลิตมันสำปะหลังแขวงบอลิคำไซ สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความยั่งยืนของระบบการผลิตมันสำปะหลังและเพื่อสร้างรูปแบบระบบการผลิตมันสำปะหลังเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน โดยใช้วิธีวิจัยแบบผสมผสาน ได้แก่ การวิจัยเชิงปริมาณ ศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความยั่งยืนของระบบการผลิตมันสำปะหลัง นำแนวคิดเกี่ยวกับระบบการผลิตและการปลูกพืชมันสำปะหลังและทฤษฎีระบบ อธิบายถึงปัจจัยที่ส่งผลต่อระบบผลิตมันสำปะหลังและเป็นตัวแปรที่ศึกษา ผู้ให้ข้อมูลสำคัญเป็นผู้ผลิตมันสำปะหลัง จำนวน 353 คน เก็บข้อมูลด้วยแบบสอบถาม ใช้สถิติวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแบบปกติ จากนั้นนำผลศึกษามาสร้างรูปแบบโดยใข้วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ อธิบายด้วยทฤษฎีการพัฒนาที่ยั่งยืนและทฤษฎีการพัฒนาการเกษตรอย่างยั่งยืน กลุ่มเป้าหมายจำนวน 35 คน ด้วยการสัมภาษณ์กลุ่ม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และความถี่ ผลการวิจัยพบว่า ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความยั่งยืนของระบบการผลิตมันสำปะหลังแขวงบอลิคำไชทั้งหมดอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ปัจจัยที่มีอิทธิพลสูงสุดได้แก่ ปัจจัยด้านสถาบัน X3 (In) ตามด้วยปัจจัยการจัดการ X2 (Ma) ปัจจัยการมีส่วนร่วม / สหกรณ์ (Pa) X4 และปัจจัยทางกายภาพ X1 (ph) ตามลำดับ (t = 6.63, 3.12, 2.75 และ 2.75 ตามลำดับ) และรูปแบบระบบการผลิตมันสำปะหลังเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนแขวงบอลิคำไซ 4 ด้าน รวม 17 กิจกรรม ได้แก่ 1) การพัฒนาสังคมและวัฒนธรรมสำหรับกลุ่มการผลิตมันสำปะหลัง 2) การพัฒนาเศรษฐกิจ 3) การพัฒนาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมสำหรับกลุ่มการผลิตมันสำปะหลัง 4) การพัฒนาความแข็งแกร่งของกลุ่มสำหรับการผลิตมันสำปะหลัง
Article Details
References
Ahimbisibwe and Peter, B. (2018). Impact of cassava innovations on household productivity and welfare in Uganda. Retrieved February 2019, https://gala.gre.ac.uk/id/eprint/23522/.
Arthey, T., Srisompun, O., and Zimmer, Y. (2018). Cassava Production and Processing in Thailand. Retrieved February 2019, from http://www.agribenchmark.org/fileadmin/Dateiablage/B-Cash-Crop/Reports/CassavaReportFinal-181030.pdf.
Birchall, J. (2004). Cooperative and the millennium development goals. Switzerland : International Labour Office.
Bibby, A. and Shaw, L. (2005). Making a Difference Co-operative solutions to global poverty. London : Co-operative College.
Hemker, A. (2019). Pragati International Scientific Research Foundation (PISRF). India : Local Organizing Secretary.
Hubka, V. and Eder, W.E. (1988). Theory of Technical Systems: A Total Concept Theory for Engineering Design. New York : Springer-Verlag.
Klarin, T. (2018). The Concept of Sustainable Development: From its Beginning to the Contemporary Issues. Retrieved February 2019, from http://content.sciendo.com/view/ journals/zireb/21/1/article-p67.xml?language=en.
Kiatsewee, K., Dilokwutthisit, P., and Thadaniti, S. (2020). A Model of coastal fisheries resources sustainable development in Koh sichang district, Chonburi Province. Chachoengsao : Rajabhat Rajanagarindra University.
Shi, L., Han, L., Yang, F., Gao, L. (2019). The Evolution of Sustainable Development Theory:Types, Goals, and Research Prospects. Retrieved February 2019, from http://www.mdpi.com/2071-1050/11/24/7158/htm.
Thong-on, W. (2016). Increasing Cassava Yield by Research Knowledge Synthesis, Community Communication, and Geographic Information Systems in Kamphaeng Phet Province Areas. Journal of Community Development and Quality of Life. 4(1),122-136