การ การพัฒนาชุดกิจกรรมนาฏศิลป์สากลสำหรับกลุ่มคนทำงานสำนักงาน
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีเพื่อ 1) พัฒนาชุดกิจกรรมนาฏศิลป์สากลสำหรับกลุ่มคนทำงานสำนักงาน 2) ประเมินผลก่อนและหลังเข้าร่วมชุดกิจกรรมนาฏศิลป์สากลสำหรับกลุ่มคนทำงานสำนักงาน กลุ่มตัวอย่างอายุระหว่าง 22 - 40 ปี จำนวน 17 คน เป็นพนักงานบริษัท จีเอ็มเอ็ม มีเดีย จำกัด (มหาชน) แผนกดิจิตัล มีเดีย เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ แบบสอบถามสภาพร่างกายและแบบวัดระดับความเจ็บปวดของกลุ่มคนทำงานสำนักงาน (ก่อน-หลัง) ชุดกิจกรรมทางนาฏศิลป์สากลสำหรับกลุ่มคนทำงานสำนักงาน และอุปกรณ์เทคโนโลยีสารสนเทศ ใช้การวิเคราะห์ข้อมูลจากเอกสาร การประเมินผลของการทำกิจกรรม และวิเคราะห์ข้อมูลจากลักษณะอาการของโรคออฟฟิศซินโดรม
ผลการวิจัย 1) ชุดกิจกรรมนาฏศิลป์สากลได้ใช้ทักษะทางนาฏศิลป์ที่หลากหลายมาปรับเข้าด้วยกันคือ การยืดและการหดตัวของกล้ามเนื้อ การทรงตัว การแยกสัดส่วนร่างกาย การเคลื่อนไหวไปตามแรงโน้มถ่วง การวางตำแหน่งเท้า การเตะขา การเต้นกับอุปกรณ์ การควบคุมลมหายใจ การใช้มือ และการหยุดนิ่งของท่า 2) ผลประเมินระดับความเจ็บปวดจำแนกแต่ละอาการได้ดังนี้ กิจกรรมอาการปวดที่คอ บ่า ไหล่ ระดับความเจ็บปวดหลังร่วมกิจกรรมคือ ระดับ 3 จำนวน 2 คน กิจกรรมอาการปวดหลัง ระดับความเจ็บปวดหลังร่วมกิจกรรมคือ ระดับ 4 จำนวน 1 คน กิจกรรมอาการปวดและตึงที่ขา ระดับความเจ็บปวดหลังร่วมกิจกรรมคือ ระดับ 3 จำนวน 2 คน กิจกรรมอาการปวดศีรษะ ระดับความเจ็บปวดหลังร่วมกิจกรรมคือ ระดับ 3 จำนวน 5 คน กิจกรรมอาการชาและฝืดในการเคลื่อนไหวที่นิ้ว ระดับความเจ็บปวดหลังร่วมกิจกรรมคือ ระดับ 3 จำนวน 2 คน
Article Details
References
Artbangkok. (2018). Wōkdā Vogue Dance. Retrieved September 2019, from https://www.artbangkok. com/?p=46316
Bangkok Dance. (2018). Khō̜n thēm phōrārī dǣn Contemporary Dance. Retrieved September 2019, from https://bit.ly/34ZDvRB
Bangkok Dance. (2018). Banlē Ballet. Retrieved September 2019, from https://bit.ly/2XdUDAp
Bangkok Dance. (2018). čhǣt dǣn Jazz Dance. Retrieved September 2019, from https://bit.ly/2NMBUZI
Bangkokhealth. (2019). Pūat lang rư̄arang ʻantarāi thī mai khūan mō̜ng khām Chronic back pain Dangers that should not be overlooked. Retrieved September 2018, from http://www.bangkokhealth .com/index.php/health/health-system/bone/1195-2013-08-01-03-21-24.html
Chamnanmor, D. (2002). Rabam ram tēn Dance. Bangkok: Idea Square.
Goodill, Sharon W. (2005). An Introduction to Medical Dance/Movement Therapy. Great Britain: Athenaeum Press, Gateshead, Tyne and Wear.
Kamphaengkaeo, A. (2001). Ngān ʻō̜k bǣp thā tēn Choreography. Fine Arts Journal. 9(1): 21-28
Wongwaiwanit, K. (2560). Pūat sīsa čhāk sangkhom komnā Headache from the head bent society. Retrieved November 2017, from https://bit.ly/2qQLEJA
National Statistical Office. (2017). Wai tham ngān kap kāndūlǣ sukkhaphāp Working age and health care. Retrieved November 2017, from http://service.nso.go.th/nso/nsopublish/citizen/news/ news_work.jsp
Promrat, T. Nirat, S. Punclum, P. & Treeyawarangpunt, K. (2016). Kānphatthanā rūpbǣp kitčhakam sinlapa phư̄a bambat khwāmkhrīat phū tit sān sēp tit Development of Application for The Stress Treatment in Drug Abuser and Addict. AJNU Art and Architecture Journal Naresuan University. 7(1). 69-83.
Sethpitak, T. (2015). Patčhai thī song phon hai phanak ngō̜ngā nō̜ ʻopfit tham ngān tittō̜ kan pen raya wēlā nān læ pen rōk khō̜mphiotœ̄sindōrom The Study of Work Conditions that Contribute to The Severity of Computer Syndrome. Master of Business Administration Faculty of Commerce and Accountancy. Bangkok: Thammasat University.