การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้ดนตรีไทยของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ตามแนวคิดการพัฒนาทักษะของซิมพ์ซัน
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อ 1) พัฒนากิจกรรมการเรียนรู้ดนตรีไทยของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ตามแนวคิดการพัฒนาทักษะปฏิบัติของซิมพ์ซันที่มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 2) เพื่อศึกษาดัชนีประสิทธิผลของการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ดนตรีไทยตามแนวคิดการพัฒนาทักษะปฏิบัติของซิมพ์ซัน ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 และ 3) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ที่เรียนด้วยการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แนวคิดการพัฒนาทักษะปฏิบัติของซิมพ์ซัน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้เป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนพระบาทนาสิงห์พิทยาคม อำเภอรัตนวาปี จังหวัดหนองคาย สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 21 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2561 จำนวน 24 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ 1) แผนการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดการพัฒนาทักษะปฏิบัติของซิมพ์ซัน จำนวน 10 แผน 2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง วงอังกะลุง จำนวน 30 ข้อ มีค่าอำนาจจำแนกเป็นรายข้อตั้งแต่ 0.45 ถึง 0.67 และค่าความเชื่อมั่นของแบบทดสอบทั้งฉบับ เท่ากับ 0.85 3) แบบประเมินบันทึกการเล่นดนตรีไทย และ 4) แบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนที่เรียนด้วยแผนการจัดการตามแนวคิดการพัฒนาทักษะปฏิบัติของซิมพ์ซัน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการวิจัยพบว่า 1) แผนการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดการพัฒนาทักษะปฏิบัติของซิมพ์ซันมีประสิทธิภาพเท่ากับ 83.59/84.72 2) ดัชนีประสิทธิผลของแผนการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดการพัฒนาทักษะปฏิบัติของซิมพ์ซันมีค่าเท่ากับ 0.7746 และ 3) นักเรียนที่เรียนด้วยแผนการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดการพัฒนาทักษะปฏิบัติของซิมพ์ซัน มีความพึงพอใจโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่า เปิดโอกาสให้ซักถามร่วมแสดงความคิดเห็นมีค่าเฉลี่ยสูงสุด รองลงมาคือ นักเรียนชอบที่ได้แสดงความคิดริเริ่ม และนักเรียนชอบที่ได้เรียนผ่านการพูด ฟัง และปฏิบัติ ตามลำดับ
Article Details
References
กฤตมุข ไชยศิริ. (2561). การพัฒนาชุดการสอนโดยใช้รูปแบบการสอนทักษะปฏิบัติของซิมพ์ซันเรื่องการร้อยลูกปัด วิชาการงานอาชีพและเทคโนโลยีสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนวัดอ่างแก้ว (จีบ ปานขำ). วาสารศิลปากรศึกษาศาสตร์วิจัย, 10(1), 179.
ซารัญฎา ผลจันทร์. (2558). การพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ ความรับผิดชอบ และทักษะการเขียนภาพระบายสี โดยใช้ชุดฝึกทักษะการเขียนภาพระบายสีโปสเตอร์ตามหลักการของเดวีส์ร่วมกับเทคนิค STAD บนพื้นฐานหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงกลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3. วารสารบัณฑิตศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร, 12(59), 51-62.
ทิศนา แขมมณี. (2553). ศาสตร์การสอน องค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย.
นนทลี พรธาดาวิทย์. (2560). การพัฒนาการจัดการเรียนรู้เชิงรุกในวิชาการจัดการเรียนรู้. วารสารวิจัย มทร. กรุงเทพฯ, 11(1), 85-94.
ประสาท เนืองเฉลิม. (2554). หลักสูตรการศึกษา (พิมพ์ครั้งที่ 2 ปรับปรุงแก้ไขเพิ่มเติม). มหาสารคาม: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
ยศวัฒน์ เชื้อจันอัด. (2558). การพัฒนารูปแบบการเรียนรู้พลศึกษาด้านทักษะปฏิบัติ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3. วารสารการวัดผลการศึกษา มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 21(2), 236-246.
Harrow, A.J. (1972). A taxonomy of the psychomotor domain: A Guide for Developing Behavioral Objectives . New York: David McKay.
Simpson, R. D. and D. K. Brown. (1977). Validiating Science Teaching Competencies Using the Delphi : Method. Science Education, 61(6), 211–213.