การวิเคราะห์องค์ประกอบวัฒนธรรมเชิงสร้างสรรค์ของโรงเรียนขนาดเล็กในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ Factor Analysis of Constructive Cultural for Small Schools in The Northeast of Thailand

Main Article Content

ศิริลักษณ์ แสนตรง

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ


การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) วิเคราะห์องค์ประกอบวัฒนธรรมเชิงสร้างสรรค์ของโรงเรียนขนาดเล็กในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 2) ตรวจสอบความสอดคล้องของโมเดลการวัดองค์ประกอบวัฒนธรรมเชิงสร้างสรรค์ของโรงเรียนขนาดเล็กในภาคตะวันออกเฉียงเหนือกับข้อมูลเชิงประจักษ์ เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ โดยมีกลุ่มตัวอย่างคือผู้บริหารและครูโรงเรียนขนาดเล็กในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ  จำนวน  840  คน สุ่มกลุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้นตามจังหวัด เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบสอบถามแบบมาตรประมาณค่า 5 ระดับ ซึ่งมีค่าความตรงตั้งแต่ 0.60-1.00 และมีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.98 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรม M-plus 7.0 ด้วยการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน (Confirmatory Factor Analysis : CFA) ผลการวิจัยพบว่า


วัฒนธรรมเชิงสร้างสรรค์ของโรงเรียนขนาดเล็กในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ  มีจำนวน  5  องค์ประกอบหลัก 16  องค์ประกอบย่อย  และ 43  ตัวบ่งชี้   ซึ่งเรียงตามองค์ประกอบที่มีค่าน้ำหนักองค์ประกอบมากไปหาน้อย ได้แก่ 1) พฤติกรรมสร้างสรรค์นวัตกรรม (β=0.867)  มี  4  องค์ประกอบย่อย  13  ตัวบ่งชี้  2) บรรยากาศแบบเปิด (β=0.863)   มี  3  องค์ประกอบย่อย  7  ตัวบ่งชี้  3) การสื่อสารเชิงสร้างสรรค์ (β=0.855)   มี  3  องค์ประกอบย่อย  7  ตัวบ่งชี้  4) ค่านิยมร่วม (β=0.821)   มี  3  องค์ประกอบย่อย  7  ตัวบ่งชี้  และ 5) การทำงานเป็นทีม (β=0.761)   มี  3  องค์ประกอบย่อย  9  ตัวบ่งชี้  โดยโมเดลการวัดวัฒนธรรมเชิงสร้างสรรค์ของโรงเรียนขนาดเล็กในภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีความสอดคล้องกลมกลืนกับข้อมูลเชิงประจักษ์ ซึ่งมีค่า= 71.870, df =55, p=0.0630, RMSEA = 0.019, SRMR =0.017, CFI = 0.999, TLI =0.997

Article Details

บท
บทความวิจัย (Research article)