สภาพการใช้ประโยชน์ ปัญหา ความต้องการ และแนวทางพัฒนาในพื้นที่ลุ่มน้ำลำโดมน้อย จังหวัดอุบลราชธานี

Main Article Content

เสรี - แท่นงา

บทคัดย่อ

     การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) สภาพการใช้ประโยชน์ 2) สภาพปัญหา ความต้องการและแนวทางพัฒนาในพื้นที่ลุ่มน้ำลำโดมน้อย จังหวัดอุบลราชธานี กลุ่มตัวอย่างที่ใช้จำนวน 394 คน ใช้การสุ่มแบบง่ายโดยวิธีการจับสลากแบบไม่ใส่คืน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลคือแบบสอบถาม การเก็บรวบรวมข้อมูลผู้วิจัยและผู้ช่วยผู้วิจัยลงพื้นที่เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยตนเอง สถิติที่ใช้ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน                                            ผลการวิจัยพบว่า 1)ประชาชนส่วนใหญ่ ร้อยละ 70.30 ได้ใช้ประโยชน์จากแม่น้ำลำโดมน้อยในการหาปลาหรือสัตว์น้ำอื่น 2)ลำโดมน้อยมีปัญหาระดับปานกลางในเรื่องตลิ่งหรือริมฝั่งพังทลาย และมีปัญหาที่มีในระดับน้อยในเรื่องสารเคมีปนเปื้อนในลำน้ำ ความต้องการพัฒนาพื้นที่ลุ่มน้ำลำโดมน้อยในด้านต่างๆในระดับมาก ได้แก่ เพาะพันธุ์และรักษาสัตว์น้ำในลำน้ำโดมน้อยมากที่สุด 3)แนวทางในการพัฒนา ได้แก่ ส่งเสริมการมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการและอนุรักษ์ลุ่มน้ำลำโดมน้อย  กำหนดเขตอนุรักษ์พันธุ์สัตว์น้ำ  เฝ้าระวังป้องกันและแก้ไขปัญหาลำน้ำตื้นเขิน อุทกภัย  เฝ้าระวังป้องกันและแก้ไขปัญหาขยะมูลฝอย  เฝ้าระวังคุณภาพน้ำและสารเคมีปนเปื้อน ก่อสร้างสะพานข้ามลำน้ำโดม ถนน และพื้นที่นันทนาการ พัฒนาเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงนิเวศวัฒนธรรม ส่งเสริมการเกษตรอินทรีย์ การประมงพื้นบ้านและการพัฒนาตลาดสดริมน้ำโดมน้อย และการรณรงค์สร้างความตระหนักรู้และจิตสำนึกต่อการดูแลรักษาลำน้ำโดมน้อยให้แก่ประชาชนและเยาวชน

Article Details

บท
บทความวิจัย (Research article)

References

คณะกรรมการกำหนดนโยบายและการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ.(2558). แผนยุทธศาสตร์การบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ.ม.ป.ท. : คณะกรรมการกำหนดนโยบายการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ.
ชัยรัตน์ ชมพู.(2556) “ยุทธศาสตร์การพัฒนาการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำของชุมชนโดยเกษตรกรมีส่วนร่วมในเขตลุ่มน้ำเจ้าพระยา อำเภอโกรกพระ จังหวัดนครสวรรค์.” วารสารราชภัฏเพชรบูรณ์ , 15 (1) : 18 – 21.
ธีรวุฒิ เอกะกุล. (2546). ระเบียบวิธีวิจัยทางพฤติกรรมศาสตร์และสังคมศาสตร์. พิมพ์ครั้งที่ 3. อุบลราชธานี : วิทยาการพิมพ์.
พิศดาร แสนชาติ. (2561). การใช้ประโยชน์ ปัญหา และความต้องการพัฒนาในพื้นที่อ่างเก็บน้ำตอนใต้ของเขื่อนสิริธร จังหวัดอุบลราชธานี.รายงานการประชุมวิชาการระดับชาติวิทยาลัยนครราชสีมา ประจำปี พ.ศ.2561 ครั้งที่ 5 31 มีนาคม 2561. นครราชสีมา : วิทยาลัยนครราชสีมา. 338-346.
สถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำและการเกษตร(องค์การมหาชน).2555.การดำเนินการด้านการรวบรวมข้อมูลและวิเคราะห์ข้อมูล โครงการพัฒนาระบบคลังข้อมูล 25 ลุ่มน้ำ และแบบจำลองน้ำท่วมน้ำแล้งลุ่มน้ำมูล.กรุงเทพฯ: บริษัท เอสดีคอน คอร์ปอเรชั่น จำกัด.
สามารถ ใจเตี้ย.(2558). ความหลากหลายการใช้ประโยชน์พืชสมุนไพรพื้นบ้านและนิเวศวัฒนธรรมเพื่อการอนุรักษ์ในพื้นที่ลุ่มน้ำลี้ จังหวัดลำพูน. มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่.
สุขเกษม ขุนทอง.(2557) “รูปแบบการพัฒนาชุมชนบนฐานนิเวศวัฒนธรรมชุมชน : กรณีศึกษาชุมชนกะเหรี่ยง (ปกาเกอะญอ) อำเภอพบพระ จังหวัดตาก.” วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี, , 5 (2) : 1 – 25.
อำเภอบุณฑริก. (2561). รายงานจำนวนประชากรรายหมู่บ้าน ณ วันที่ 31 มกราคม 2561. อุบลราชธานี : สำนักทะเบียน อำเภอบุณฑริก. 1.