ปรีชาญาณของคนพากย์โขน
Main Article Content
บทคัดย่อ
โขนพระราชทาน เกิดขึ้นจากพระราชเสาวนีย์ในสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ในรัชกาลที่ 9 ที่
จะทรงฟื้นฟูการแสดงโขน เพื่อธำรงไว้ซึ่ง ศิลปะ วัฒนธรรม อันเป็นเอกลักษณ์ ของชาติให้คงอยู่ เพื่อเป็นสมบัติของชาติ สืบไป
การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยมีวัตถุประสงค์ คือ ศึกษาถึงองค์ความรู้และปรีชาญาณ ในการพากย์ - เจรจาโขน ของคนพากย์โขนพระราชทาน 5 คน การศึกษาข้อมูลในการวิจัยมี ขั้นตอนตามวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้ วิธีการดำเนินการวิจัยประกอบด้วย การศึกษาเอกสารที่เกี่ยวข้องกับ งานวิจัยทุกประเภท การสำรวจ การสังเกต การสัมภาษณ์ และการสนทนากลุ่มย่อย กลุ่มประชากรที่ใช้ในการวิจัย ผู้วิจัยใช้กลุ่มประชากรแบบเจาะจงแบ่งเป็น 3 กลุ่ม ซึ่งประกอบด้วย กลุ่มผู้รู้ /ผู้เชี่ยวชาญด้านการ แสดงโขน การพากย์ เจรจาโขน จำนวน 6 คน กลุ่มผู้ปฏิบัติจำนวน 5 คน และกลุ่มผู้ให้ข้อมูลทั่วไป จำนวน 15 คน แล้วนำเสนอผลการวิจัยโดยวิธีพรรณนาวิเคราะห์
ผลการวิจัยพบว่า องค์ความรู้และปรีชาญาณของคนพากย์ เจรจาโขน ที่พากย์โขนพระราชทาน ทั้ง 5 คน พัฒนา จาก คนพากย์โขนที่เคลื่อนไหว ถ่ายทอด ส่งต่อมาจากบรมครูพากย์ – เจรจาโขนในอดีต ตั้งแต่มีการแสดงโขนยุคเริ่มแรก ในสมัยอยุธยา ถึงแม้ว่า ในช่วงแรกยังไม่มีการบันทึกไว้เป็นลายลักษณ์อักษร แต่ต่อมาเมื่อสมัยพระบาทสมเด็จ พระมงกุฎ เกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ พระองค์ท่านได้มีการพระราชทานนามบรรดาศักดิ์ให้คนพากย์โขน ถึง 5 นามบรรดาศักดิ์คือ พจนาเสนาะ ไพเราะพจมาน ขานฉันทวากย์ พากย์ฉันทวัจ และ ชัดเจรจา จึงได้มีการบันทึกไว้เป็นลายลักษณ์อักษร ในตำนานโขนหลวง และพัฒนามาเรื่อย จนมาถึงปัจจุบันมีการแสดงโขนพระราชทานขึ้น คนพากย์โขนทั้ง 5 คนจึงเกิดขึ้น การสังเคราะห์องค์ความรู้และปรีชาญาณของคนพากย์โขนพระราชทาน 5 คน พบว่า ปรีชาญาณของคน พากย์โขนทั้ง 5 คน มีองค์ประกอบคือ 1) เป็นผู้ที่มีปฏิภาณไหวพริบ 2) มีกลเม็ดเคล็ดลับ 3) มีความเชี่ยวชาญเฉพาะตน 4) มีลีลากับการใช้บทบาทในการพากย์ – เจรจาโขน 5) มีเทคนิคพิเศษในการพากย์ - เจรจาโขน ซึ่งแต่ละคนจะมีกลวิธีแตกต่างกันออกไป
สรุป ปรีชาญาณของคนพากย์ และเจรจาโขน เกิดจากการสั่งสม ถ่ายทอด และฝึกฝน สืบต่อกันมา จนเกิดเป็น ความสามารถและเอกลักษณ์เฉพาะตัว
Article Details
References
ดุษฎีบัณฑิต สาขาวิจัยศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 2554.
จารึก วิมลนิตย์ การออกแบบภายในศูนย์แสดงสินค้าเพื่อการส่งออก โดยใช้แนวคิดจากการศึกษา
ลักษณะของโขน.:วิทยานิพนธ์ปริญญานิพนธ์ศิลปะมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยศิลปากร,2554. ท้วม ประสิทธิกุล หลักคีตศิลป์. บทความที่จัดพิมพ์รวมเล่มในหนังสือที่ระลึกงาน พระราชทานเพลิงศพ,2535.
พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระนราธิปประพันธ์พงศ์,จดหมายเหตุลาลูแบ เล่ม 1 พระนคร โรงพิมพ์คุรุสภา,2505
ธนิต อยู่โพธิ์. ตำนานโขนหลวงและนามบรรดาศักดิ์โขนหลวง,2495.
ตำนานโขนหลวงและนามบรรดาศักดิ์โขนหลวงในรัชกาลที่ 6 หนังสืออนุสรณ์
พระราชทานเพลิงศพ นายเจริญ เวชกามา,2534.
ธีรภัทร์ ทองนิ่ม. แบบแผนและวิธีพากย์เจรจาโขนของกรมศิลปากร วิทยานิพนธ์
ศิลปศาสตร์ดุษฎีบัณฑิต คณะศิลปกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย,2556.
มนตรี ตราโมท วิธีพากย์ เจรจาและขับร้อง ในการแสดงโขน ศิลปากร 1.1, 2500.
มนตรี สุขกลัด กลวิธีการขับร้องประกอบการแสดงโขน ตอนนางลอย บททศกัณฐ์ : กรณีศึกษา
ครูทศนีย์ ขุนทอง.วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปะศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาดุริยางค์ไทย คณะ
ศิลปกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรมหาวิทยาลัย,2549.
เอกวิทย์ ณ ถลาง และคณะ ภูมิปัญญาท้องถิ่นกับการจัดการความรู้.กรุงเทพฯ : อัมรินทร์ 2546.
Aristotle อริสโตเติล ทฤษฎีการเลียนแบบ art party completes what nature can not bring to a finish
Alexander Gottieb Baumgarte. โบมการ์เด็น ,1762.
Chun C. Chang. Fundamental of Piano Prae Practice. 2nd ed. s.l. : s.n., 1999.
Franz Boas (ฟรานซ์ โบแอส ) ซึ่งเป็นผู้นำทฤษฎีมานุษยวิทยา วิพากษ์วิจารณ์ทั้งแนวทางนิรนัย
(deductive approach) 1858-1942
Franz Joseph Haydn ฟรันซ์ โจเซพ ชีวประวัติของ ไฮเดิน Franz Joseph Haydn
Fitz Graeb and Wilhelm Schmidt สังคมวิทยาชาวเยอรมันและชาวออสเตรีย ทฤษฎีวงรอบทางวัฒนธรรม