การพัฒนารูปแบบเพื่อเสริมสร้างสมรรถนะด้านการวัดและประเมินผลการเรียนรู้สำหรับครู ในโรงเรียนสังกัดเทศบาลนครสกลนคร
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนารูปแบบเพื่อเสริมสร้างสมรรถนะด้านการวัดและประเมินผลการเรียนรู้สำหรับครูในโรงเรียนสังกัดเทศบาลนครสกลนคร 2) ตรวจสอบความเหมาะสมของรูปแบบเพื่อเสริมสร้างสมรรถนะด้านการวัดและประเมินผลการเรียนรู้สำหรับครูในโรงเรียนสังกัดเทศบาลนครสกลนคร การดำเนินการวิจัยแบ่งเป็น 2 ระยะ คือ ระยะที่ 1 การพัฒนารูปแบบเพื่อเสริมสร้างสมรรถนะด้านการวัดและประเมินผลการเรียนรู้สำหรับครูในโรงเรียนสังกัดเทศบาลนครสกลนคร ประกอบด้วย (1) ศึกษาแนวคิด ทฤษฎี และเอกสารงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง (2) นำร่างรูปแบบเพื่อเสริมสร้างสมรรถนะด้านการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ไปให้ผู้ทรงคุณวุฒิ 5 คนพิจารณา และระยะที่ 2 การตรวจสอบความเหมาะสมของรูปแบบที่พัฒนาขึ้น กลุ่มตัวอย่างที่ใช้เป็น ผู้บริหารสถานศึกษา และครูผู้สอน ในโรงเรียนสังกัดเทศบาลนครสกลนคร ปีการศึกษา 2560 จำนวน 108 คน ซึ่งได้มาด้วยการสุ่มแบบแบ่งชั้นแบบไม่เป็นสัดส่วน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามชนิดมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ มีค่าดัชนีความสอดคล้องระหว่าง 0.80 - 1.00 ค่าอำนาจจำแนกระหว่าง 0.23 – 0.85 และค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.97 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการวิจัยพบว่า 1) รูปแบบเพื่อเสริมสร้างสมรรถนะด้านการวัดและประเมินผลการเรียนรู้สำหรับครูในโรงเรียนสังกัดเทศบาลนครสกลนคร ประกอบด้วย 4 องค์ประกอบ คือ (1) ปัจจัยที่เอื้อต่อความสำเร็จในการเสริมสร้างสมรรถนะของครู คือ (1.1) การสนับสนุนจากหน่วยงานต้นสังกัด (1.2) ภาวะผู้นำของผู้บริหาร (1.3) ความพร้อมและความมุ่งมั่นในการพัฒนาตนเองของครู (1.4) การนิเทศของผู้บริหารสถานศึกษา และ(1.5) ความเชี่ยวชาญของวิทยากร (2) ขอบข่ายสมรรถนะด้านการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ มี 3 ด้าน คือ (2.1) ด้านการวัดและประเมินผลตามสภาพจริง (2.2) ด้านการนำผลการประเมินไปใช้ปรับปรุงการจัดการเรียนรู้และหลักสูตร และ (2.3) ด้านการสร้างและหาคุณภาพเครื่องมือวัดผลการเรียนรู้ (3) กระบวนการเสริมสร้างสมรรถนะด้านการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ มี 4 ขั้น คือ (3.1) ขั้นการสำรวจความต้องการ (3.2) ขั้นการวางแผนกำหนดเป้าหมาย (3.3) ขั้นการดำเนินการเสริมสร้าง จำแนกเป็นการเสริมสร้างโดยองค์กร และการเสริมสร้างโดยตนเอง และ (3.4) ขั้นการประเมินผล (4) ผลการเสริมสร้างสมรรถนะด้านการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ ประกอบด้วย (4.1) ครูมีความรู้ความเข้าใจในการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ (4.2) ครูมีทักษะในการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ และ(4.3) ครูมีเจตคติที่ดีต่อการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ 2) รูปแบบเพื่อเสริมสร้างสมรรถนะด้านการวัดและประเมินผลการเรียนรู้สำหรับครูในโรงเรียนสังกัดเทศบาลนครสกลนคร มีความเหมาะสมโดยรวมในระดับมาก ( = 4.28, S.D. = 0.45)
Article Details
References
สหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.
ทิวัตถ์ มณีโชติ. (2554). การพัฒนาสมรรถนะ ตัวชี้วัด และเครื่องมือวัดด้านการวัดและประเมินผลการศึกษาของครูระดับ
การศึกษาขั้นพื้นฐาน. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร.
ชูชัย สมิทธิไกร. (2554). การฝึกอบรมบุคลากรในองค์การ. (พิมพ์ครั้งที่ 7). กรุงเทพมหานคร: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
บุญชม ศรีสะอาด. (2545). การวิจัยเบื้องต้น. (พิมพ์ครั้งที่ 7). กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.
พรชัย เจดามาน.(2556). การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก http//www.oknation.net/blog/jedaman
[2 สิงหาคม 2559].
เพิ่มสกุล เล็กสรรเสริญ. (2558). 7 ปัจจัยสู่ความสำเร็จในการจัดอบรม/สัมมนา. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก
https://www.trainingdesign.net/ [3 สิงหาคม 2559].
ลัดดา ศิลาน้อย และคณะ. (2554). รูปแบบการบริหารจัดการเพื่อพัฒนาวิชาชีพครูในภูมิภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน.
วารสารวิจัย มข. 16(3) : 287.
ศิริชัย กาญจนวาสี. (2552). ทฤษฎีการประเมิน. กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย.
ศรีประไพร พลเยี่ยม และ สมใจ ภูมิพันธ์. (2558). ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษากับ
ประสิทธิภาพการสอนของครูสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบึงกาฬ.วารสารมหาวิทยาลัย
นครพนม. 5(3) : 53.
สมัย วงศ์ษาพาน, อัครพงศ์ ภูติยา, สุวพัชร อุปพงศ์ และวารุณี บุรีมาต.(2559, 30 กันยายน). ศึกษานิเทศก์, ผู้บริหาร
สถานศึกษา, หัวหน้างานวิชาการ และหัวหน้างานวัดผล. สัมภาษณ์.
สุวิมล ว่องวานิช. (2550). วิจัยในชั้นเรียน. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์อักษรไทย.
สำนักการศึกษาเทศบาลนครสกลนคร.(2560). โรงเรียนในสังกัดเทศบาลนครสกลนคร . [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก
https://www.sakoncity.go.th/ [3 มีนาคม 2560].
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2553). ข้อเสนอการปฏิรูปการศึกษาในทศวรรษที่สอง (พ.ศ. 2552-2561).
กรุงเทพฯ: พริกหวานกราฟฟิค.
อพันตรี พูลพุทธา. (2560). การพัฒนาสมรรถนะการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ของนักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู
กรณีมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม. วิทยานิพนธ์ ปร.ด. มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
Heneman, H. G., Schwab, D. P., Fossum, J. A., & Dyer, L. D. (1983). Personnel/Human Resource
Management. Illinois: Irwin.
Nicole Strangman, Tracey Hall & Anne Meyer. (2014). Differentiated Instruction and Implications for UDL
Implementation. Wakefield, MA: National Center on Accessing the General Curriculum.
Werner, J. M., & Desimone, R. L. (2006). Human Resource Development. (4th ed.) Mason, Ohio : Thomson
South-Western.