ภาวะผู้นำเชิงจิตวิญญาณของผู้บริหารมหาวิทยาลัยราชภัฏในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ : การวิจัยแบบผสมผสานวิธี

Main Article Content

ตวงทิพย์ ขุนโนนเขวา
ดาวรุวรรณ ถวิลการ
เชวงศักดิ์ พฤกษเทเวศ

บทคัดย่อ

     การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาตัวบ่งชี้ภาวะผู้นำเชิงจิตวิญญาณของผู้บริหารมหาวิทยาลัยราชภัฏ
ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 2) ทดสอบความสอดคล้องของโมเดลที่พัฒนาขึ้นกับข้อมูลเชิงประจักษ์ การดำเนินการวิจัยแบ่งออกเป็น 2 ระยะ ได้แก่ การวิจัยระยะที่ 1 การศึกษาตัวบ่งชี้ภาวะผู้นำเชิงจิตวิญญาณของผู้บริหารมหาวิทยาลัยราชภัฏในภาคตะวันออกเฉียงเหนือโดยการสังเคราะห์จากเอกสาร งานวิจัยที่เกี่ยวข้องและการสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญจำนวน 3 คน วิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพและประเมินความเหมาะสมขององค์ประกอบและตัวบ่งชี้แล้วจัดทำเป็นร่างโมเดลการวัดตัวบ่งชี้ การวิจัยระยะที่ 2 การทดสอบความสอดคล้องของโมเดลที่พัฒนาขึ้นกับข้อมูลเชิงประจักษ์ โดยศึกษาจากกลุ่มตัวอย่างที่เป็นบุคลากรสายวิชาการ บุคลากรสายสนับสนุนและผู้นำนักศึกษาในมหาวิทยาลัยราชภัฏในภาคตะวันออกเฉียงเหนือจำนวน 480 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสัมภาษณ์และแบบสอบถามแบบมาตรวัดประเมินค่า 5 ระดับ ที่มีค่าความเชื่อมั่น 0.98 วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณโดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ เพื่อพิจารณาความเหมาะสมของข้อมูลองค์ประกอบและตัวบ่งชี้ และใช้โปรแกรม M Plus วิเคราะห์องค์ประกอบและทดสอบความสอดคล้องของโมเดลการวัดตัวบ่งชี้ที่พัฒนาขึ้นกับข้อมูลเชิงประจักษ์


      ผลการวิจัยพบว่า 1) ภาวะผู้นำเชิงจิตวิญญาณของผู้บริหารมหาวิทยาลัยราชภัฏในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
มี 5 องค์ประกอบหลัก 18 องค์ประกอบย่อย 71 ตัวบ่งชี้ ได้แก่ (1) องค์ประกอบหลักด้านวิสัยทัศน์ มี 3 องค์ประกอบย่อย
13 ตัวบ่งชี้ (2) องค์ประกอบหลักด้านความหวังความศรัทธา มี 4 องค์ประกอบย่อย 18 ตัวบ่งชี้ (3) องค์ประกอบหลัก
ด้านความรักความปรารถนาดีต่อผู้อื่น มี 4 องค์ประกอบย่อย 17 ตัวบ่งชี้ (4) องค์ประกอบหลักด้านจิตวิญญาณ
มี 4 องค์ประกอบย่อย 16 ตัวบ่งชี้ (5) องค์ประกอบหลักด้านความตระหนักในตัวเอง มี 3 องค์ประกอบย่อย 9 ตัวบ่งชี้
2) โมเดลการวัดตัวบ่งชี้ภาวะผู้นำเชิงจิตวิญญาณของผู้บริหารมหาวิทยาลัยราชภัฏในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ที่พัฒนาขึ้นมีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ โดยมีค่าสถิติ ดังนี้ χ2=108.083, Df=87, P-Value=0.0625, RMSEA=0.022, SRMR=0.026, CFI=0.997, TLI=0.995


 

Article Details

บท
บทความวิจัย (Research article)

References

กมลวรรณ ทิพยเนตร. (2556). โมเดลสมการโครงสร้างภาวะผู้นาเชิงจิตวิญญาณสาหรับผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน. วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต. ขอนแก่น : มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
ยุทธศาสตร์ โยธะพล. (2557). การพัฒนาตัวบ่งชี้ภาวะผู้นำเชิงจิตวิญญาณของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต. เลย : มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย.
รัตติกรณ์ จงวิศาล. (2556). ภาวะผู้นำ ทฤษฎี การวิจัย และแนวทางสู่การพัฒนา. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา. (2560). กรอบแผนอุดมศึกษาระยะยาว 15 ปี ฉบับที่ 2 (พ.ศ. 2551–2565).
สืบค้นเมื่อ 20 ตุลาคม 2560 ; จาก http://www.mua.go.th.
สุทธิพงษ์ ทะกอง และพระครูสุจริยวัฒน์. (2561). ตัวบ่งชี้ภาวะผู้นำเชิงคุณธรรมสำหรับผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน:โมแดลความสัมพันธ์เชิงโครงสร้าง. วารสารมหาวิทยาลัยนครพนม. 8 (1), 49-58.
สุนันท์ ฝอยหิรัญ สุรัตน์ ไชยชมภู และธนวิน ทองแพง. (2559). การศึกษาปัจจัยการบริหารที่ส่งผลต่อความผูกพันที่ส่งผลต่อความผูกพันของครูในโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสระแก้ว เขต 2. วารสารมหาวิทยาลัยนครพนม. 6(2), 43-51.
Hair,et al. (2010). Multivariate data analysis. (7thed.). New Jersey : Pearson Education.
Norman,J. (2016). The Influence of Spiritual leadership on Employees and Organizations : A Multiple case study. University of Phoenix. United States of America.