ผลการใช้สื่อแอนิเมชั่น อินโฟกราฟิก วิชาการสัมมนาคอมพิวเตอร์ เพื่อการศึกษาตามกิจกรรมส่งเสริมสมรรถนะการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ (SSPC)

Main Article Content

อัญญปารย์ ศิลปนิลมาลย์

บทคัดย่อ

    การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) หาค่าประสิทธิภาพของรูปแบบการส่งเสริมสมรรถนะการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ สำหรับนักศึกษาระดับปริญญาตรี  มหาวิทยาลัยราชภัฏกลุ่มภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ตามแนวคิดของเมกุยแกนส์ (Meguigans) 2) หาค่าประสิทธิผลของรูปแบบการส่งเสริมสมรรถนะการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ สำหรับนักศึกษาระดับปริญญาตรี  มหาวิทยาลัยราชภัฏกลุ่มภาคตะวันออกเฉียงเหนือ  กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้  ได้แก่  นักศึกษา ภาคปกติ สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์ ชั้นปีที่ 3 มหาวิทยาลัยราชภัฏกาฬสินธุ์ จำนวน 1 ห้องเรียน จำนวนนักศึกษา 36 คน เลือกด้วยวิธีการเจาะจง มีหน่วยเลือกเป็นห้องเรียน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) คู่มือการส่งเสริมสมรรถนะในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ 2) แบบทดสอบวัดผลการเรียนรู้ 3) แบบทดสอบปฏิบัติ และ4) แบบสอบถามความพึงพอใจของนักศึกษาเข้าอบรม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่  ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน หาประสิทธิภาพตามแนวคิดของเมกุยแกนส์ และเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนโดยใช้สถิติ  t-test (Dependent Samples)  ผลการวิจัยพบว่า 


  1. ประสิทธิภาพของรูปแบบการส่งเสริมสมรรถนะการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ สำหรับนักศึกษาระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยราชภัฏกลุ่มภาคะวันออกเฉียงเหนือ ตามแนวคิดของเมกุยแกนส์ มีค่า 2.60 ซึ่งมีค่ามากกว่า 1 ถือว่า รูปแบบมีประสิทธิภาพสูง

  2. ประสิทธิผลของรูปแบบการส่งเสริมสมรรถนะการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ
    2.1 ด้านความรู้ พบว่า นักศึกษาที่เข้าอบรม มีผลคะแนนเฉลี่ยหลังการอบรมสูงกว่าคะแนนเฉลี่ยก่อนการอบรม  อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05   
                            2.2 ด้านทักษะ พบว่า การทดสอบด้วยแบบทดสอบปฏิบัติหลังการอบรม นักศึกษาผ่านเกณฑ์การประเมิน     ร้อยละ 91.66 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่ตั้งไว้คือร้อยละ 80  และจากการทำใบงานระหว่างอบรม นักศึกษา ผ่านเกณฑ์ด้านปฏิบัติคิดเป็นร้อยละ 94.44 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่ตั้งไว้คือร้อยละ 80
                            2.3 ด้านความพึงพอใจของนักศึกษาที่เข้าอบรมส่งเสริมสมรรถนะ มีค่าเฉลี่ยรวมอยู่ในระดับมาก (  = 4.34, S.D.= 0.68)

 

Article Details

บท
บทความวิจัย (Research article)

References

มนต์ชัย เทียนทอง. (2554). การออกแบบและพัฒนาบทเรียน
คอมพิวเตอร์. ภาควิชาคอมพิวเตอร์ศึกษา คณะครุ
ศาสตร์อุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระ
จอมเกล้าพระนครเหนือ.
Tiantong, Monchai. (2011). Dovelopment and Design
of Computer Instruction. Computer
Education Program, Faculty of Information
Technology, King Mongkut's University of
Technology North Bangkok.
มหาวิทยาลัยราชภัฏกาฬสินธุ์. (2554). รายงานการสำรวจ
ภาวการณ์มีงานทำของบัณฑิตของมหาวิทยาลัย
ราชภัฏกาฬสินธุ์. กาฬสินธุ์ : มหาวิทยาลัยราชภัฏ
กาฬสินธุ์.
Karasin Rajabhat University. (2011). Employment
of the new graduate from Karasin Rajabhat
University report. Karasin: Kalasin Rajabhat
University.
____________. (2555). การสำรวจความคิดเห็น
เกี่ยวกับสภาพปัจจุบัน ปัญหา และความสามารถ
ในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศของนักศึกษา คณะ
ศิลปศาสตร์และวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัย
ราชภัฏกาฬสินธุ์. กาฬสินธุ์ : มหาวิทยาลัยราชภัฏ
กาฬสินธุ์.
____________. (2012). Survey Concerning State
Problems and the Using Information
Technology of Students. Faculty of Arts
and Science, Kalasin Rajabhat University.
Kalasin: Kalasin Rajabhat University.
วิชิต เทพประสิทธิ์. (2552). การพัฒนาสมรรถนะ
ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศด้วยระบบปรับ
เหมาะการเรียนแบบปฏิบัติจริงตาม
วิธีการคอนสตรัคติวิสต์สำหรับ
ข้าราชการกระทรวงพลังงาน.
ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาเทคโนโลยีและ
สื่อสารการศึกษา กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์
มหาวิทยาลัย.
Thepprasit, Wichit. (2009). The Development of
Information Technology Competency with
an Adaptive-Action Learning System Base
on The Constructivist Approach for
Government Officials Under The Ministry
of Energy. The degree of doctor of
Philosophy Program in Education Technology and Communications, Department of Curriculum, Instruction and
Education Technology, Faculty of Education,
Chulalongkorn University.
บุญชม ศรีสะอาด. (2545). การวิจัยเบื้องต้น(ฉบับปรับปรุง
ใหม่). พิมพ์ครั้งที่ 5. กรุงเทพฯ : สุวีริยาสาส์น.
Srisa-ard, Boonchom. (2002). Fundamental Resaerch. (revised edition) 5th edition.
Bangkok : Suveerisarn.
สมบัติ ท้ายเรือคำ. (2552). สถิติขั้นสูง สำหรับการวิจัยทาง
การศึกษา. กาฬสินธุ์ : ประสานการพิมพ์.
Tayraukham, Sombat. (2009). Advanced Statistics for
Educational Research. Office of the Higher Education. Kalasin: Prasankanpim.
สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา. (2552).
ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่องกรอบมาตรฐาน
คุณวุฒิ ระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2552.
Office of the Higher Education Commission. (2009). Thai Qualifications Framework for Higher Education (TQF: HEd) B.E.2552.
ศกลวรรณ พาเรือง. (2554). การพัฒนาสมรรถนะ
ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
ของนิสิตนักศึกษาครุศาสตร์ศึกษาศาสตร์.
วิทยานิพนธ์ ค.ด.: จุฬาลงกรณ์
มหาวิทยาลัย กรุงเทพมหานคร.
Paruang, Skonwan. (2011). Development of
Information and Communication
Technology Competency of
Education Students. The degree of
doctor of Philosophy Program in Higher
Education, Department of Educational Policy, Management and Leadership Faculty of Education, Chulalongkorn University.
อัญญปารย์ ศิลปนิลมาลย์. (2557, กันยายน).
ผลการศึกษาความรู้และทักษะที่ต้องการ
ในด้านเทคโนโลยีสารสนเทศของนักศึกษา
ระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยราชภัฏ
กลุ่มภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน.
The 4thInternational Conference on
Sciences and Social Sciences 2014 :
Integrated Creative Research for
Local Development toward the
ASEAN Economic Community.
มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม. 4(4) : 6.
Sinlapaninman, Unyaparn. (2014, September).
A Study of Knowledge and Skills Required
for Information Technology for
Undergraduate Students at Upper North-
East Rajabhat University Group. The 4th
International Conference on Sciences and
Social Sciences 2014: Integrated Creative
Research Research for Local Development
toward the ASEANEconomic Community.
Mahasarakham Rajabhat University. 4(4) : 6.
____________. (2558, กุมภาพันธ์). ผลการศึกษารูปแบบ
การส่งเสริมทักษะการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ
สำหรับนักศึกษาระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัย
ราชภัฏกลุ่มภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. พิบูลสงคราม
วิจัย ประจำปีการศึกษา 2558 “สองทศวรรษราชภัฏ
พิบูลสงคราม จากท้องถิ่นสู่อาเซียน”. มหาวิทยาลัย
ราชภัฏพิบูลสงคราม.
____________. (2015, February). A Study of
Information Technology Skills Promoting
Model for Undergraduate Students at
North-East Rajabhat University Group.
Pibulsongkram Research 2015 “Two Decade of Rajabhat Pibulsongkram from Local to ASEAN.” Pibulsongkram Rajabhat University.