การบริหารทรัพยากรมนุษย์ที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการสอนของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ประถมศึกษาร้อยเอ็ด เขต 3
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาการบริหารทรัพยากรมนุษย์ของผู้บริหารสถานศึกษา 2) เพื่อศึกษาประสิทธิภาพการสอนของครู และ 3) เพื่อสร้างสมการพยากรณ์ประสิทธิภาพการสอนของครู กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในงานวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ผู้บริหารและครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาร้อยเอ็ด เขต 3 จำนวน 324 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการถดถอยพหุคูณแบบลำดับขั้นตอน
ผลการวิจัยพบว่า 1) การบริหารทรัพยากรมนุษย์ของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาร้อยเอ็ด เขต 3 โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจาณาเป็นรายด้าน พบว่า อยู่ในระดับมากทุกด้าน 2) ประสิทธิภาพการสอนของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาร้อยเอ็ด เขต 3 โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า อยู่ในระดับมากทุกด้าน 3) การบริหารทรัพยากรมนุษย์ มีตัวแปรที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการสอนของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาร้อยเอ็ด เขต 3 ตามลำดับ ดังนี้ ด้านการพัฒนาบุคลากรทางการศึกษา(X3) ด้านการจ่ายค่าตอบแทนและสวัสดิการ(X5) ด้านการสรรหาและคัดเลือก(X2) ด้านการประเมินผลการปฏิบัติงาน(X4) และด้านการวางแผนทรัพยากรมนุษย์(X1) ตามลำดับ และตัวแปรทั้ง 5 ด้านนี้สามารถร่วมกันทำนายประสิทธิภาพการสอนของครูได้ร้อยละ 46.00 เขียนเป็นสมการพยากรณ์ได้ดังนี้
สมการพยากรณ์ในรูปคะแนนดิบ
Ŷ = 1.355 + .126X3 + .167 X5 + .155 X2 + .130 X4 + .109 X1
สมการพยากรณ์ในรูปคะแนนมาตรฐาน
Ẑy = .144ZX3+ .201ZX5 + .184 ZX2 + .164 ZX4 + .127 ZX1
คำสำคัญ : การบริหารทรัพยากรมนุษย์ / ประสิทธิภาพการสอน / สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาร้อยเอ็ด เขต 3
Article Details
References
2545. กรุงเทพมหานคร : คุรุสภา.
กรมวิชาการ. (2557). แผนการศึกษาแห่งชาติปรับปรุง (2552-2559). กรุงเทพฯ : พริกหวานกราฟฟิค.
จอมพงศ์ มงคลวนิช. (2556). การบริหารองค์การและบุคลากรทางการศึกษา. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์แห่ง
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
จันทนา ครบแคล้ว. (2554). การบริหารทรัพยากรมนุษย์ที่ส่งผลต่อสมรรถนะครูของสถานศึกษาเอกชนในจังหวัดเพชรบุรี.
วิทยานิพนธ์ ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี.
ทิศนา แขมมณี. (2555). ศาสตร์การสอน : องค์ความรู้เพื่อการจัดการกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ. พิมพ์ครั้งที่ 15.
กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
บุญชม ศรีสะอาด. (2553). การวิจัยเบื้องต้น. พิมพ์ครั้งที่ 8. กรุงเทพฯ : สุวีริยสาส์น.
พรพรรณ บุตตะวงศ์. (2552). การเปรียบเทียบประสิทธิภาพการสอนของครูตามรูปแบบพฤติกรรมการบริหารของผู้บริหาร
สถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาศีรสะเกษ เขต 4. วิทยานิพนธ์ ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมมาธิราช.
วิจารณ์ พานิช. (2555). วิถีสร้างการเรียนรู้เพื่อศิษย์ในศตวรรษที่ 21. กรุงเทพฯ : ตถาตาพับลิเคชั่น.
วิลาวรรณ รพีพิศาล. (2554). การบริหารทรัพยากรมนุษย์. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ : วิจิตรหัตถกร.
ศรีประไพ พลเยี่ยม และสมใจ ภูมิพันธุ์. (2558). “ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษากับ
ประสิทธิภาพการสอนของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบึงกาฬ.” วารสารมหาวิทยาลัยนครพนม. 5,3 (กันยายน – ธันวาคม 2558): 48 – 55.
สัมฤทธิ์ ยศสมศักดิ์. (2549). การบริหารทรัพยากรมนุษย์ หลักการและแนวคิด.กรุงเทพฯ: เอ็ม.ที.เพรส.
สุนันทา เลาหนันทน์. (2546). การบริหารทรัพยากรมนุษย์. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ : ธนะการพิมพ์.