Strategy to Enhance the Consciousness of Good Citizenship of Youth on the Base of Buddha-dharma according to Educational Partners and Monks Teaching Moral

Main Article Content

ชลธิชา จิรภัคพงค์
ฉวีวรรณ สุวรรณาภา
พัฒน์นรี อัฐวงศ์

Abstract

  1. นโยบายทางด้านการศึกษาและทิศทางการพัฒนาเยาวชนตามแนวพุทธ พบว่า ตามแผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560 – 2579 และแผนพัฒนาการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการ ฉบับที่ 12 (พ.ศ. 2560 - 2564) หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และสถานศึกษา ได้นำนโยบายตามแผนดังกล่าวไปปฏิบัติ เพื่อให้เป็นทิศทางในการพัฒนาเยาวชนของไทยโดยตามแนวพุทธ โดยนำหลักธรรมทางพระพุทธศาสนามาใช้กับสถานศึกษาในรูปแบบของโครงการต่าง ๆ เดิมจะเป็นโรงเรียนวิถีพุทธ โรงเรียนสีขาว โครงการเศรษฐกิจพอเพียง มีการนำค่านิยม 12 ประการมาใช้ในสถาบันการศึกษาในรูปแบบของโรงเรียนคุณธรรม และได้นำมาใช้ภายในโรงเรียนต้นแบบได้ระยะหนึ่งแล้ว

๒. การวิเคราะห์และเสนอยุทธศาสตร์การเสริมสร้างจิตสำนึกความเป็นพลเมืองดีตามแนวพุทธ พบว่า จิตสำนึกความเป็นพลเมืองดีตามแนวพระพุทธศาสนา จะต้องปลูกฝังที่เด็กและเยาวชนโดยการฝึกฝนเด็กและเยาวชนให้เป็นผู้ที่มีพื้นฐานทางจิตใจที่ดี โดยกำหนดนโยบายของหลักสูตรผ่านกิจกรรมการเรียนการสอนสู่การปฏิบัติจริง โดยนำหลักธรรมมาใช้เป็นแนวทางในการจัดการเรียนรู้และการพัฒนา ตามรูปแบบและกลยุทธ์ในการพัฒนาระบบการบริหารจัดการ การพัฒนาคุณภาพของครูผู้สอน การพัฒนากระบวนการเรียนการสอนเป็นตัวขับเคลื่อนเพื่อให้เยาวชนมีจิตสำนึกความเป็นพลเมืองดี


 

Article Details

Section
บทความวิจัย (Research article)

References

ทรงสิริ วิชิรานนท์. (2556),“คุณลักษณะพลเมือง
ดีของนักศึกษามหาวิทยาลัย
เทคโนโลยีราชมงคลพระนคร”,
รายงานการวิจัย มหาวิทยาลัย
เทคโนโลยีราชมงคลพระนคร,
Songsiri Wichiranon. (2013), “Good Citizen
characteristics of the students of
Rajamangala University of
Technology Phra Nakhon”,
Research Report Rajamangala
University of Technology
Phra Nakhon.
พรพรรณ วีรปรียากูร. (2543) “การสร้าง
คุณธรรมของความเป็นพลเมือง
ในชุมชนไทย”, กรุงเทพฯ :
สาขาพัฒนาศึกษาศาสตร์
มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
PornPhan Verapreyagura. (2000),
Social Construct of Civic Virtue in
Thai Community. Bangkok:
Dissertation,Ed.D (Educational
Development). Srinakharinwirot
University.
วศิน อินทสระ.(2541), พุทธจริยศาสตร,
กรุงเทพฯ: โรงพิมพทองกวาว.
Wasin Inthasara. (1998),
Buddhist ethics. Bangkok:
Rongphim Thongkwaw.
วิรัตน์ คำศรีจันทร์. (2544), “จิตสำนึกพลเมืองใน
บริบทประชาสังคมไทย”,
กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยมหิดล.
Wirat Kamsrichan. (2001), Civic-Minded in
the context of Thai civil society.
Bangkok: Mahidol University.
สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร. (2555),
พลเมืองในระบอบประชาธิปไตย,
กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์สำนักงาน
เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร.
Office of the Secretary of the House of
Representatives. (2012), Citizens
in a democracy, Bangkok :
Publishers office of the Secretary
of the House of Representatives.
สุระ อ่อนแพง. (2556),“รูปแบบการบริหาร
เพื่อพัฒนาคุณธรรมจริยธรรม
นักเรียนระดับประถมศึกษา
ในสถานศึกษาสังกัดสำนักงาน
เขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา”,
วารสารศึกษาศาสตร์ ,
มหาวิทยาลัยนเรศวร, ปีที่ 15.
Sura Onphang. (2013), A Management
Model for Developing Primary Students’ Morality and Ethics in
Schools under the Primary
Educational Service Areas,
Journal of Education Naresuan
University, Vol 15.