การออกแบบนาฏมวยไทยกิจกรรมลดเวลาเรียนเพิ่มเวลารู้ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6
Main Article Content
บทคัดย่อ
งานวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) การออกแบบกิจกรรมลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้โดยใช้รูปแบบกิจกรรมนาฏมวยไทยในนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ด้านความคิดสร้างสรรค์ ความตระหนักรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่นและสมรรถภาพทางกาย 2) เปรียบเทียบการใช้กิจกรรมนาฏมวยไทย ด้านความคิดสร้างสรรค์ ความตระหนักรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่นและสมรรถภาพทางกาย กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้นักเรียนชายอายุ 12 ปี จำนวน15 คนจากโรงเรียนวัดพระญาติการาม จ.พระนครศรีอยุธยา ดำเนินการตามกิจกรรม“ลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้” ด้วยรูปแบบนาฏมวยไทยและทำการทดลองจาก กลุ่มตัวอย่างใช้ สถิติ t-test ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการศึกษาคือ1.) รูปแบบกิจกรรมลดเวลาเรียนเพิ่มเวลารู้ทำกิจกรรมจำนวน 11 ครั้งๆ ละ 60 นาที ตามแนวทางดำเนินกิจกรรมลดเวลาเรียนเพิ่มเวลารู้ กลุ่มสาระพลศึกษาของช่วงชั้นนักเรียนประถมศึกษาปีที่ 6 พัฒนาด้านความคิดสร้างสรรค์ ความตระหนักรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่น สมรรถภาพทางกาย 2.) ผลการทดลองระหว่างก่อนและหลังกิจกรรม “ลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้” นาฏมวยไทยด้านความคิดสร้างสรรค์ก่อนทำกิจกรรมคะแนน 6.40และหลังทำกิจกรรม 15.93 ด้านความความตระหนักรู้ภูมิปัญญาก่อนทำกิจกรรมคะแนน 8.73 และหลังทำกิจกรรม14.20ด้านสมรรถภาพทางกาย ค่าคะแนนเฉลี่ยหลังทำกิจกรรม มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ P<.01
Article Details
References
เทพฤทธิ์ สิทธินพพันธ์. (2555). รายงานการวิจัย การพัฒนาสมรรถภาพทางกายของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่2ตามแนว
การทดสอบสมรรถภาพทางกายของคณะกรรมการนานาชาติเพื่อจัดมาตรฐานการทดสอบความสมบูรณ์ทางกาย (ICSPFT).โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร (ฝ่ายประถม) กรุงเทพมหาคร.
นฤมล บุญเกษม. (2558). การศึกษาเปรียบเทียบความคิดสร้างสรรค์และความพึงพอใจที่เรียนรู้ ด้วยวิธีการสอนโดยใช้
กิจกรรมศิลปะประดิษฐ์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนวชิรนิติโสภน ประเภทการศึกษาสงเคราะห์. ปริญญานิพนธ์กศ.ม. (ศิลปศึกษา) กรุงเทพมหานคร: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. ถ่ายเอกสาร.
ปิยวรรณ อภินันท์รุ่งโรจน์. (2555). การศึกษาเปรียบเทียบความคิดสร้างสรรค์และความพึงพอใจที่มีต่อกระบวนการจัดการเรียนรู้ของนักเรียนชั้นอนุบาลศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนนายกวัฒนากรวัดอุดมธานี จังหวัดนครนายก ด้วยกิจกรรมศิลปศึกษา. ปริญญานิพนธ์ กศ.ม.(ศิลปศึกษา) กรุงเทพมหานคร: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. ถ่ายเอกสาร.
พรรณทิพา สาวันดี. (2554). การศึกษาความตระหนักรู้ต่อการใช้อินเตอร์เน็ตอย่างสร้างสรรค์และปลอดภัยของนักเรียนชั้น
ประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนบ้านหนองน้ำขุ่น ที่เรียนด้วย บทเรียนมัลติมีเดีย. ปริญญานิพนธ์ กศ.ม. (เทคโนโลยีการศึกษา) กรุงเทพมหานคร: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. ถ่ายเอกสาร.
สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา. (2558). คู่มือการบริหารการจัดการเวลาเรียนตามนโยบาย “ลดเวลาเรียนเพิ่มเวลารู้”
สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานกรุงเทพมหานคร.
Benz, R.c. (1998). Effect of a Health-Related Fitness Curriculum on Work Capacity, Physical Self-Perception, and Cognition of Training Principles of High School Student. Dissertatuona. 59 (December 1998): 1962-A