รูปแบบการสอนแนวใหม่สำหรับการวัดในรายวิชาคณิตศาสตร์ระดับโรงเรียน
Main Article Content
บทคัดย่อ
ครูคณิตศาสตร์ส่วนใหญ่ยังคงใช้แนวทางการสอนแบบเดิม คือเน้นการบรรยาย อธิบาย ท่องจำ และทำแบบฝึกหัด นักเรียนจึงไม่ชอบเรียนคณิตศาสตร์และมีความสามารถด้านคณิตศาสตร์อยู่ในระดับต่ำ การแก้ปัญหาดังกล่าว ครูจำเป็นต้องเปลี่ยนแนวทางการสอนคณิตศาสตร์เป็นแนวทางการสอนแบบใหม่ที่เน้นให้นักเรียนได้เรียนคณิตศาสตร์อย่างมีความหมาย การศึกษาชั้นเรียนและวิธีการแบบเปิดเป็นแนวทางการสอนแบบใหม่ที่ได้รับการยอมรับอย่างกว้างขวางและมีการนำมาปรับใช้ในการสอนคณิตศาสตร์ในประเทศไทย ครูคณิตศาสตร์ที่ต้องการสอนนักเรียนให้เกิดการเรียนรู้การวัดอย่างมีความหมายจำเป็นต้องเข้าใจรูปแบบการสอนการวัด รูปแบบการสอนไดแอส (DIAS model) เป็นรูปแบบการสอนการวัดที่ใช้ออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้ให้นักเรียนได้เรียนรู้การเปรียบเทียบโดยตรง (Direct comparison) การเปรียบเทียบโดยอ้อม (Indirect comparison) การพัฒนาหน่วยไม่เจาะจง (Arbitrary unit) และการเรียนรู้หน่วยมาตรฐาน (Standard unit) ครูคณิตศาสตร์ที่นำแนวทางและรูปแบบการสอนแบบใหม่นี้ไปใช้ในการสอนนักเรียน จะทำให้นักเรียนจะสามารถเรียนรู้คณิตศาสตร์ด้วยตนเอง เข้าใจสาระสำคัญของการวัดและนำความรู้ไปใช้ในการแก้ปัญหาเกี่ยวกับการวัดที่พบในชีวิตประจำวันได้
Article Details
References
______. (2559). ตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้แกนกลางต้องรู้และควรรู้ กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ : สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน.
เจนสมุทร แสงพันธ์. (2555). พัฒนาการของกิจกรรมเชิงสัญญะของนักเรียนผ่านวาทกรรมร่วมในชั้นเรียน คณิตศาสตร์ที่ใช้นวัตกรรมการศึกษาชั้นเรียนและวิธีการแบบเปิด. วิทยานิพนธ์ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาคณิตศาสตรศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
ญานิน กองทิพย์. (2555). การสื่อสารทางคณิตศาสตร์ด้วยท่าทางในวิธีการแบบเปิด. วิทยานิพนธ์ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาคณิตศาสตรศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
ไมตรี อินทร์ประสิทธิ์ และ มะซะมิ อิโซดะ. (อยู่ระหว่างจัดพิมพ์). คำอธิบายการใช้หนังสือเรียนคณิตศาสตร์สำหรับระดับชั้นประถมศึกษา ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 เล่ม 1. ขอนแก่น: ศูนย์วิจัยคณิตศาสตรศึกษา.
ไมตรี อินทร์ประสิทธิ์ และคณะ. (2553). คณิตศาสตร์ระดับชั้นประถมศึกษา ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1-6 (ฉบับแปลภาษาไทย). ขอนแก่น: คลังนานาวิทยา.
ไมตรี อินทร์ประสิทธิ์. (2557). กระบวนการแก้ปัญหาในคณิตศาสตร์ระดับโรงเรียน. ขอนแก่น: เพ็ญพรินติ้ง.
วิทยากร เชียงกูล. (2559). สภาวะการศึกษาไทย ปี 2557/2558 จะปฏิรูปการศึกษาไทยให้ทันโลกในศตวรรษที่ 21 ได้อย่างไร. กรุงเทพฯ: พิมพ์ดีการพิมพ์.
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2555). รายงานผลการวิจัยโครงการ TIMSS 2011 วิชาคณิตศาสตร์. กรุงเทพฯ : สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี.
สัมพันธ์ ถิ่นเวียงทอง. (2555). การสื่อสารกลุ่มย่อยทางคณิตศาสตร์ในชั้นเรียนภายใต้บริบทของการศึกษาชั้นเรียนและวิธีการแบบเปิด. วิทยานิพนธ์ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาคณิตศาสตรศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
Bishara, S. (2015). Active and traditional teaching of mathematics in special education. Creative Education, 6, 2313-2324.
Common Core State Standards Initiative. (2017). Common core state standards for mathematics. Retrieved November 2017, from https://www.corestandards.org/assets/CCSSI_Math%20Standards.pdf
Inprasitha, M. (2006). Open-ended approach and teacher education. Paper presented at The Second APEC-Tsukuba International Conference on Innovative Teaching Mathematics trough Lesson Study II- Focusing on Mathematical Thinking. CRICED, University of Tsukuba.
Isoda, M. (2007). A Brief history of mathematics lesson study in Japan. In M. Isoda, M. Stephen, Y. Ohara & T. Miyakawa (Eds.). Japanese lesson study in mathematics: Its impact, diversity and potential for educational improvement. (pp. 8-15). Singapore: World Scientific Publishing.
Lewis, C. (2002). Lesson study: A handbook for teacher-led improvement of instruction. Philadelphia: Research for Better Schools.
Miyakawa, T. (2010). Introducing the unit with comparison : Difference and construction of units. Journal of Japan Society of Mathematical Education, 92(11), 144-145.
National Measurement Office. (2017). Measurement in daily life. Retrieved November 2017, from https://www.npl.co.uk/upload/pdf/measurement-matters.pdf
New Jersey Mathematics Curriculum Framework. (2017). Standard 9-measurment. Retrieved November 2017, from https://www.state.nj.us/education/archive/frameworks/math/math7.pdf
Pasjuso, S., Thinwiangthong, S. & Kongtip, Y. (2010). Comparative study of gesture in mathematical communication in Thai traditional and innovated classrooms. In Y. Shimizu, Y. Sekiguchi & K. Hino (Eds.). Proceedings of the 5th East Asia Regional Conference on Mathematics Education (EARCOME5). Vol. 1. (p. 230). Tokyo, Japan: Inamoto Printing.
Stigler, J., & Hiebert, J., (1999). The teaching gap. New York: The Free Press.
World Association of Lesson Studies. (2017). About WALS. Retrieved November 2017, from https://www.walsnet.org/about-wals.html
Zollner, J. & Benz, C. (2013). How four to six year old children compare length indirectly. Paper Presented at Eighth Congress of European Research in Mathematics Education (CERME 8). Manavgat-Side, Antalya – Turkey.