การเสริมสร้างสันติวัฒนธรรมในสถานศึกษา : การวิจัยทฤษฎีฐานราก การวิจัยทฤษฎีฐานราก

Main Article Content

อาภัสรา สีดอนเตา

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเสนอข้อสรุปเชิงทฤษฎีการเสริมสร้างสันติวัฒนธรรมในสถานศึกษา โดยใช้
วิธีการวิจัยทฤษฎีฐานราก พื้นที่วิจัยเป็นโรงเรียนมัธยมศึกษาที่มีลักษณะสอดคล้องกับวัตถุประสงค์การวิจัย เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยโดยการสัมภาษณ์เชิงลึกเป็นหลัก ซึ่งผู้ให้ข้อมูลหลัก คือ ผู้บริหาร ครู ผู้ปกครอง นักเรียนและศึกษานิเทศก์ มีการวิเคราะห์ข้อมูลโดยวิธีการแปลความและตีความหมายข้อมูล ด้วยการวิเคราะห์ข้อมูลตามรูปแบบเชิงระบบของ Strauss and Corbin (1998) และผู้วิจัยได้ใช้คอมพิวเตอร์โปรแกรม ATLAS.ti ช่วยจัดระบบเพื่อการวิเคราะห์ข้อมูลและพัฒนาสู่การเสนอข้อสรุป
เชิงทฤษฎี


            ผลการวิจัยพบว่า การเสริมสร้างสันติวัฒนธรรมมีความหมายต่อคนในปรากฏการณ์ในฐานะเป็นที่ช่วยส่งเสริมให้
ครูยอมรับและแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นในโรงเรียนด้วยสันติวิธี โดยมีเป้าหมายคือ พัฒนาครูและนักเรียนแกนนำ ทบทวนวิสัยทัศน์ของโรงเรียน ออกแบบและปฏิรูปหลักสูตรสันติศึกษา ทั้งในด้านโครงสร้างและด้านจิตใจ ด้วยวิธีการการสร้างแรงจูงใจ
การมีส่วนร่วม การสนับสนุนทรัพยากรและสารสนเทศที่จำเป็น การพัฒนาครู จากการศึกษาเงื่อนไขเชิงสาเหตุที่จำแนก
เป็นเงื่อนไขภายนอกและเงื่อนไขภายในโรงเรียน ได้ส่งผลให้เกิดยุทธศาสตร์การทำงานในลักษณะของการปรับกระบวนทัศน์
ในการจัดการศึกษา วิเคราะห์จัดระบบความรู้ ใช้ประโยชน์จากเครือข่าย เกิดการศึกษาเพื่อสร้างความร่วมมือระหว่างกัน
ผลสืบเนื่องที่เกิดขึ้น คือ ครูมีศักยภาพในการทำงานเพิ่มขึ้น ครูมีความพึงพอใจในงาน รู้สึกเป็นส่วนหนึ่งขององค์การ ผูกพัน
ต่อองค์การ โรงเรียนมีกระบวนการทำงานเป็นระบบ เกิดประสิทธิภาพ และโรงเรียนมีบรรยากาศการทำงานที่ดี

Article Details

บท
บทความวิจัย (Research article)

References

โคทม อารียา. (2551). สันติวิธีกับความมั่นคงในจังหวัดชายแดนภาคใต้. กรุงเทพมหานคร : ศูนย์ศึกษาและพัฒนาสันติวิธี มหาวิทยาลัยมหิดล. (อัดสำเนา)
ดาวรุวรรณ ถวิลการ. (2552). วัฒนธรรมองค์การในโรงเรียนรางวัลพระราชทาน : การวิจัยเชิงชาติพันธุ์วรรณนา. วิทยานิพนธ์ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
ไพศาล วิสาโล. (2550). สันติวิธีและปฏิบัติการไร้ความรุนแรง. กรุงเทพฯ: ศูนย์ศึกษาและพัฒนาสันติวิธี มหาวิทยาลัยมหิดล.
ยุวธิดา ชาปัญญา. (2554). การเสริมสร้างพลังอำนาจของครูในโรงเรียนประถมศึกษา: การวิจัยทฤษฎีฐานราก. วิทยานิพนธ์ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัยมหาวิทยาลัยขอนแก่น.
วันชัย วัฒนศัพท์ และคณะ. (2548ข). คู่มือการเจรจาไกล่เกลี่ยในสถานศึกษา. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์คลังวิชา.
วันชัย วัฒนศัพท์. (2548ก). การแก้ปัญหาความขัดแย้งในสถานศึกษา. กรุงเทพมหานคร : สถาบันพระปกเกล้า.
วันชัย วัฒนศัพท์. (2549). ความขัดแย้ง ทางออกด้วยสันติวิธี. กรุงเทพมหานคร : ศิริภัณฑ์ออฟเซ็ท.
ศศิรัศม์ วีระไวทยะ. (2554). การนำเสนอยุทธศาสตร์การสร้างเครือข่ายความร่วมมือเพื่อเสริมสร้างสันติวัฒนธรรมโดยใช้สถานศึกษาเป็นฐาน. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาพัฒนศึกษา ภาควิชานโยบายการจัดการ และความเป็นผู้นำทางการศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
Charmaz, K. (2000). Grounded theory: Objectivist and constructivist methods. In N.K. Denzen and Y.S. Lincon (Eds.) Handbook of qualitative research. 2nd ed. California: Sage.
Hoy, W.K. and Miskel, C.G. (2005). Educational administration: Theory, research and practice. 7th ed. Boston: McGraw Hill.
Strauss, Anselm L. The Discovery Grounded Theory: Strategies for Qualitative Research. Aldine, pp 271. 1967.