A A Development of Cultural Competence Indicators of Border School Personnel In the Northeast

Main Article Content

เฟื่องฟ้า กัญญาบัตร

บทคัดย่อ

               การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาตัวบ่งชี้สมรรถนะทางวัฒนธรรมของบุคลากรโรงเรียนชายแดนในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 2) ทดสอบความสอดคล้องของโมเดลความสัมพันธ์โครงสร้างเชิงเส้นตัวบ่งชี้สมรรถนะทางวัฒนธรรมของบุคลากรโรงเรียนชายแดนกับข้อมูลเชิงประจักษ์ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ ผู้บริหารและครูโรงเรียนชายแดนในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จำนวน 320 คน โดยใช้เกณฑ์อัตราส่วนระหว่างหน่วยตัวอย่างกับจำนวนพารามิเตอร์ 10 : 1 แล้วทำการสุ่มแบบหลายขั้นตอน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม มีลักษณะเป็นมาตรวัดแบบประมาณค่า 5 ระดับ ค่าความตรงเชิงเนื้อหาของแบบสอบถามอยู่ระหว่าง 0.60 - 1.00 ค่าความเที่ยงของแบบสอบถาม เท่ากับ 0.97 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ ผลการวิจัยพบว่า


              1) สมรรถนะทางวัฒนธรรมของบุคลากรโรงเรียนชายแดน ประกอบด้วย 4 องค์ประกอบหลัก 12 องค์ประกอบย่อย 40 ตัวบ่งชี้ และผลการวิเคราะห์สถิติพื้นฐานความเหมาะสมขององค์ประกอบสมรรถนะทางวัฒนธรรมของบุคลากรโรงเรียนชายแดน พบว่า องค์ประกอบทุกตัวเป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนด 2) ผลการวิเคราะห์ความสอดคล้องของโมเดลความสัมพันธ์โครงสร้างเชิงเส้นตัวบ่งชี้สมรรถนะทางวัฒนธรรมของบุคลากรโรงเรียนชายแดนกับข้อมูลเชิงประจักษ์ พบว่า โมเดลการวิจัยมีความสอดคล้องกลมกลืนกับข้อมูลเชิงประจักษ์ (Chi-square = 46.366, df = 36, P-Value = 0.116, RMSEA = 0.030, SRMR = 0.028, CFI = 0.994, TLI = 0.990) นั่นคือ องค์ประกอบที่พัฒนาขึ้นมีความสอดคล้องกับบริบทของโรงเรียนชายแดนในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

Article Details

บท
บทความวิจัย (Research article)

References

กมลชนก ชำนาญ. (2557). การพัฒนาแบบวัดและการวิเคราะห์ระดับความสามารถทางวัฒนธรรมของครู. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิธีวิทยาการวิจัยการศึกษา คณะ
ครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
เพ็ชรี รูปะวิเชตร์. (2554). การเรียนรู้ลักษณะการจัดการ: การจัดการข้ามวัฒนธรรม. พิมพ์ครั้งที่ 1.กรุงเทพฯ: ดวงกมลพับลิซซิ่ง.
สันติ ชัยชนะ. (2556). ตัวบ่งชี้ภาวะผู้นำการปรับเปลี่ยนสำหรับผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน. วิทยานิพนธ์ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ. (2558). รายงานข้อมูลสัมประสิทธิ์ความไม่เสมอภาคด้านการศึกษาจังหวัดที่มีอาณาเขตติดต่อกับสาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมา. สืบค้นเมื่อ วันที่14
ธันวาคม 2560 จากhttp://bps.sueksa.go.th/wp-content/uploads/2017/01/Ginic-1.pdf.
สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ. (2559). แผนพัฒนาการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการฉบับที่12 พ.ศ.2560 – 2564. กรุงเทพฯ: สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์.
เสริมศักดิ์ วิศาลาภรณ์. (2552). สภาพการจัดการศึกษาในจังหวัดชายแดนภายใต้. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ : สำนักวิจัยและพัฒนาการศึกษา สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา กระทรวง
ศึกษาธิการ.
Campinha – Bacote, J. (1999). A model and instrument for addressing cultural competence health care. Journal of Nurse Education. 38 : 203-207.
Good. (2005). Carter V. Dictionary of Education. (5th ed.). New York: McGraw-Hill.
Hair, J. F., Black, W. C., Babin, B. J., & Anderson, R. E. (2010). Multivariate data analysis, (7th ed.). Prentice Hall.
McAllister, G., & Irvine, J. J. (2000). Cross Cultural Competency and Multicultural Teacher Education. Review of Education Research, 70(1), 3-24.
Welborn, E. (2016). Culturally Competent Schools And Leadership Of Elementary principals. Graduate of Philosophy Saint Louis University.