ความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้ความเสี่ยงโรคมะเร็งเต้านมและพฤติกรรมการตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านมของสตรีหมู่บ้านไทย - เวียดนาม จังหวัดนครพนม

Main Article Content

ณัติยา พรหมสาขา ณ สกลนคร
จรินทร โคตพรม
รัตติยา ทองอ่อน
อรอุมา แก้วเกิด

บทคัดย่อ

     การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้โรคมะเร็งเต้านมและพฤติกรรมการตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านมของสตรีหมู่บ้านไทย-เวียดนาม กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างตามเกณฑ์ของ Singh & Malix (2014) สุ่มกลุ่มตัวอย่างแบบง่าย (Simple random sampling) โดยใช้ตารางสุ่ม ได้จำนวนกลุ่มตัวอย่าง 50 คน ที่ตอบแบบสอบถามได้ครบถ้วน ถูกต้อง ระยะเวลาเก็บข้อมูล ระหว่างเดือน กุมภาพันธ์- มีนาคม พ.ศ. 2557 จากหมู่บ้านที่มีจำนวน 213 คน เครื่องมือที่ใช้เก็บรวบรวมข้อมูลใช้แบบสอบถามซึ่งผู้วิจัยสร้างประยุกต์จากกรอบแนวคิดกรอบแนวคิดสามัญสำนึกเกี่ยวกับความเจ็บป่วย (Common-Sense Model of Self-regulation [CSM]) ของลีเวนทรัล, เมเยอร์ และเนเรซ (Leventhal, Meyer, & Nerenz, 1980 อ้างถึงใน McAndrew, Mora, Quigley,  Leventhal & Leventhal, 2014) สถิติที่ใช้ ได้แก่ การแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน ผลการวิจัยจากคะแนน การรับรู้ต่อการเจ็บป่วยมีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมของการตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านมของสตรีหมู่บ้านไทยเวียดนามอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (r = ..280, p = .049) ซึ่งอภิปรายได้ว่า การที่สตรีหมู่บ้านไทยเวียดนามมีการรับรู้ต่อการเจ็บป่วย ทำให้เกิดพฤติกรรมการดูแลตนเองด้านการคัดกรองมะเร็งเต้านมเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ

Article Details

บท
บทความวิจัย (Research article)