ความสัมพันธ์ระหว่างพฤติกรรมการเปิดรับสื่อสังคม (Social Media) และการมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชนในจังหวัดสุราษฎร์ธานี

Main Article Content

แพรวพรรณ ปานนุช

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมการเปิดรับข่าวสารด้านการเมืองทางสื่อสังคม และการมีส่วนร่วมทางการเมือง รวมทั้งความสัมพันธ์ระหว่างพฤติกรรมการเปิดรับสื่อสังคมและการมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชนในจังหวัดสุราษฎร์ธานี โดยใช้วิธีการวิจัยเชิงปริมาณ และแบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างจำนวน 400 คน โดยสถิติพื้นฐานที่ใช้ในการวิจัย คือ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติที่ใช้ในการทดสอบสมมติฐาน คือ ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ ของเพียร์สันในการวิเคราะห์ข้อมูล และผลการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิงอายุ 20 - 29 ปี การศึกษาระดับมัธยมศึกษา ประกอบอาชีพธุรกิจส่วนตัว สำหรับพฤติกรรมการเปิดรับข้อมูลข่าวสารการเมือง ผ่านสื่อสังคมส่วนใหญ่ใช้ Facebook ผ่านทางโทรศัพท์มือถือ ความถี่ในการใช้สื่อสังคมในการเปิดรับข่าวสารการเมืองประมาณ 3 - 4 ครั้ง/สัปดาห์ และใช้เวลาประมาณ 31 - 45 นาที การเปิดรับเนื้อหาข่าวสารการเมืองผ่านสื่อสังคมอยู่ในระดับปานกลางส่วนใหญ่เกี่ยวกับการติดตามข้อมูลข่าวสารสถานการณ์ทั่วๆ ไปด้านการเมืองการมีส่วนร่วมทางการเมืองในพื้นที่ออนไลน์โดยรวมอยู่ในระดับน้อย โดยมีส่วนร่วมด้านข้อมูลข่าวสารและการสื่อสารมากที่สุด สำหรับการมีส่วนร่วมทางการเมืองในพื้นที่ออฟไลน์โดยรวมอยู่ในระดับปานกลางโดยมีส่วนร่วมด้านกิจกรรมทางการเมืองมากที่สุด การทดสอบสมมติฐานผลการวิจัย พบว่า พฤติกรรมการเปิดรับข่าวสารด้านการเมืองทางสื่อสังคมมีความสัมพันธ์เชิงบวกในระดับสูงกับการมีส่วนร่วมทางการเมืองในพื้นที่ออนไลน์และมีความสัมพันธ์เชิงบวกในระดับปานกลางกับการมีส่วนร่วมทางการเมืองในพื้นที่ออฟไลน์ รวมทั้งการมีส่วนร่วมทางการเมืองในพื้นที่ออนไลน์มีความสัมพันธ์เชิงบวกในระดับสูงมากกับการมีส่วนร่วมทางการเมืองในพื้นที่ออฟไลน์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ 0.01

Article Details

How to Cite
ปานนุช แ. (2019). ความสัมพันธ์ระหว่างพฤติกรรมการเปิดรับสื่อสังคม (Social Media) และการมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชนในจังหวัดสุราษฎร์ธานี. วารสารวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี, 6(1), 157–176. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/msj/article/view/204193
บท
บทความวิจัย

References

กาญจนา แก้วเทพ. (2543). มองสื่อใหม่ มองสังคมใหม่. กรุงเทพฯ: ศูนย์หนังสือจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
กาญจนา แก้วเทพ และสมสุข หินวิมาน. (2553). สายธารแห่งนักคิดทฤษฎีเศรษฐศาสตร์การเมืองกับสื่อสารศึกษา. กรุงเทพฯ: ภาพพิมพ์.
นันทวิช เหล่าวิชยา. (2556). ความสัมพันธ์ระหว่าง พฤติกรรมการเปิดรับสื่อออนไลน์ทางการเมืองทัศนคติทางการเมือง และพฤติกรรมการมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชนในเขตกรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.
นภดล ปันติ๊บ. (2552). การมีส่วนร่วมทางการเมืองผ่านระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ตของกลุ่มเยาวชนพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยเชียงใหม่. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่).
ยุบล เบ็ญจรงค์กิจ. (2534). การวิเคราะห์ผู้รับสาร. กรุงเทพฯ: คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ศรัญญา ไชยวรรณ. (2554). สื่อใหม่ในสังคมการเมืองไทย กรณีศึกษา เฟซบุ๊ก วอยส์ทีวี สื่อใหม่ในสังคมการเมืองไทย กรณีศึกษา เฟซบุ๊ต วอยส์ทีวี. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่).
สมบัติ ธำรงธัญวงศ์. (2548). การเมือง แนวคิดและการพัฒนา. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์เสมาธรรม.
สิทธิพันธ์ พุทธหุน. (2541). ทฤษฎีพัฒนาการเมือง. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
อาทิตย์ สุริยะวงศ์กุล. (2555). การเมืองบนเฟซบุ๊ก: วัฒนธรรม-การเมืองบนเครือข่ายสังคมออนไลน์ไทยพ.ศ. 2553 - 2555. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์).
อุบลวรรณ อยู่สุข. (2551). บทบาทของสื่ออินเตอร์เน็ตต่อกระบวนการมีส่วนร่วมทางการเมืองไทย. มหาวิทยาลัยแม่โจ้ - แพร่ เฉลิมพระเกียรติ.
Todd Hunt and. Brent d. Ruben. (1993). Mass Communication : Producers and Consumers. New York: Harper Collins College Publishers.
Klapper, J.T. (1960). The Effects of Mass Communication Free Press. New York: Prentice Hall.