ความสัมพันธ์ระหว่างภาพลักษณ์ตราสินค้า คุณค่าตราสินค้ากับความจงรักภักดีในตราสินค้าของผู้ใช้เครื่องสำอางนำเข้าจากต่างประเทศในอำเภอเมือง จังหวัดสุราษฎร์ธานี

Main Article Content

กัญญ์วรา ไทยหาญ
พวงเพ็ญ ชูรินทร์
สิญาธร นาคพิน

บทคัดย่อ

     การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับภาพลักษณ์ตราสินค้า ระดับคุณค่าตราสินค้า ระดับความจงรักภักดีในตราสินค้าและความสัมพันธ์ระหว่างภาพลักษณ์ตราสินค้า คุณค่าตราสินค้ากับความจงรักภักดีในตราสินค้าของผู้ใช้เครื่องสำอางนำเข้าจากต่างประเทศในอำเภอเมือง จังหวัดสุราษฎร์ธานี กลุ่มตัวอย่างในการวิจัย คือ ผู้ใช้เครื่องสำอางนำเข้าจากต่างประเทศในอำเภอเมือง จังหวัดสุราษฎร์ธานี จำนวน 385 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม ด้านภาพลักษณ์ตราสินค้า มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.96 ด้านคุณค่าตราสินค้า มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.92 และความจงรักภักดีในตราสินค้า มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ0.95 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลประกอบด้วยค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ยส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ตามวิธีของสเปียร์แมน
    ผลการศึกษาพบว่า ระดับภาพลักษณ์ตราสินค้าในภาพรวมอยู่ในระดับมาก หากพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า อยู่ในระดับมากทุกด้าน ได้แก่ ด้านคุณสมบัติ ด้านวัฒนธรรม ด้านคุณประโยชน์ ด้านบุคลิกภาพ ด้านคุณค่า ด้านประเทศแหล่งกำเนิด และด้านผู้ใช้ตามลำดับ ระดับคุณค่าตราสินค้าในภาพรวมอยู่ในระดับมาก หากพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า อยู่ในระดับมากทุกด้าน ได้แก่ ด้านการรู้จักตราสินค้า ด้านความเชื่อมโยงกับตราสินค้า และด้านคุณภาพการรับรู้ ระดับความจงรักภักดีในตราสินค้าในภาพรวมอยู่ในระดับมากหากพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า อยู่ในระดับมากทุกด้าน ได้แก่ ด้านความพึงพอใจ ด้านบอกต่อผู้อื่นด้านตั้งใจซื้อ ด้านซื้อซ้ำตราสินค้าเดิมและด้านความอ่อนไหวต่อราคา ความสัมพันธ์ระหว่างภาพลักษณ์ตราสินค้ากับความจงรักภักดีในตราสินค้าโดยภาพรวมมีความสัมพันธ์อยู่ในระดับมาก อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 และความสัมพันธ์ระหว่างคุณค่าตราสินค้ากับความจงรักภักดีในตราสินค้าโดยภาพรวมมีความสัมพันธ์อยู่ในระดับมากอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01

Article Details

How to Cite
ไทยหาญ ก., ชูรินทร์ พ., & นาคพิน ส. (2019). ความสัมพันธ์ระหว่างภาพลักษณ์ตราสินค้า คุณค่าตราสินค้ากับความจงรักภักดีในตราสินค้าของผู้ใช้เครื่องสำอางนำเข้าจากต่างประเทศในอำเภอเมือง จังหวัดสุราษฎร์ธานี. วารสารวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี, 6(1), 95–120. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/msj/article/view/204145
บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงมหาดไทย, กรมการปกครอง. (2557). จำนวนราษฎรทั่วราชอาณาจักร แยกเป็นกรุงเทพมหานครและจังหวัดต่างๆ ตามหลักฐานการทะเบียนราษฎร. สืบค้นเมื่อมีนาคม 1, 2558. จาก http://stat.bora.dopa.go.th.
กัลยา วานิชย์บัญชา. (2555). การใช้ SPSS for Windows ในการวิเคราะห์ข้อมูล (พิมพ์ครั้งที่ 20). กรุงเทพฯ.
จันทามาศ ธรรมพรพิพัฒน์. (2553). ความรู้ความภักดีและคุณค่าตราสินค้าของสมาชิกชุมชนออนไลน์ของตราสินค้าแอปเปิ้ล. (วิทยานิพนธ์นิเทศศาสตร์มหาบัณฑิต,จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย).
จิตรา กาสาเอก. (2559). ความสัมพันธ์ระหว่างคุณภาพการให้บริการกับความจงรักภักดีของผู้ใช้บริการลิสซิ่งในอำเภอเมืองจังหวัดสุราษฎร์ธานี. วารสารวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี, 3(2), 143 - 166.
ณนันท์ สินธุศิริ. (2553). ภาพลักษณ์องค์กรและภาพลักษณ์ตราสินค้าที่ขยายจากตราสินค้าของบริษัทสิงห์ คอร์เปอเรชั่น จำกัด. (วิทยานิพนธ์ปริญญานิเทศศาสตร์มหาบัณฑิต, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย).
ณัฐชานันท์ นพคุณนิรันดร์. (2560). ภาพลักษณ์ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทยในสังกัดสำนักงานภาคใต้ตอนบนตามการรับรู้ของผู้ใช้บริการ. วารสารวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี,4(1), 179 - 202.
ธนภณ นิธิเชาวกุล. (2556). โมเดิลเชิงสาเหตุของปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อภาพลักษณ์ตราสินค้าผลิตภัณฑ์เวชสำอางสมุนไพรไทย. (ดุษฎีนิพนธ์ปริญญาบริหารธุรกิจ, มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช).
นฐพร โอภาสวชิระกุล. (2553). ทัศนคติของผู้บริโภคต่อตราสินค้า ประเทศแหล่งกำเนิด และคุณค่าตราสินค้าของสินค้าแฟชั่น. (วิทยานิพนธ์นิเทศศาสตร์มหาบัณฑิต, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย).
บุปผา ลาภะวัฒนาพันธ์. (2555). บทบาทและความสำคัญของตราสินค้า. วารสารสาขาวิชาวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย, 32(4), 98 - 99.
พนิดา สุขุมจริยพงศ์. (2556). การับรู้ภาพลักษณ์ตราสินค้าที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการซื้อและการตัดสินใจซื้อชุดว่ายน้ำของประชาชนในกรุงเทพมหานคร: เปรียบเทียบระหว่างตราของไทยกับตราสหรัฐอเมริกา. (วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์).
พวงรัตน์ ทวีรัตน์. (2543). วิธีการวิจัยทางพฤติกรรมศาสตร์และสังคมศาสตร์. กรุงเทพฯ: สำนักทดสอบทางการศึกษาและจิตวิทยา มหาวิทยาลัยศรีนคริณทรวิโรฒ.
มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย. (2558). จัดอันดับธุรกิจดาวรุ่ง. สืบค้นเมื่อมีนาคม 25, 2559. จาก http://cebf.utcc.ac.th.
เยาวภา ไชยวัฒน์. (2556). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับแนวโน้มพฤติกรรมการใช้บริการซ้ำของผู้ประกอบธุรกิจเงินฝากกับธนาคารกรุงเทพจำกัด (มหาชน) ในเขตอำเมืองจังหวัดสุราษฎร์ธานี. (วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์).
รวิช เมฆสุนทรากุล. (2554). การรับรู้ภาพลักษณ์ของตราสินค้ามีความสัมพันธ์ต่อความภักดีในตราสินค้าสตาร์บัคส์ (Starbucks) ในเขตกรุงเทพมหานคร. (การศึกษาเฉพาะบุคคลบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต,มหาวิทยาลัยกรุงเทพ).
วรนุช กุณฑลสุรกานต์. (2551). ความสัมพันธ์ระหว่างสื่อสารการตลาดแบบบูรณาการกับความภักดีในตราสินค้า “uni-ball” ของบริษัท อุดมพานิช คอร์เปอร์เรชั่น จำกัด. (วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร).
ศศินภา เลาหสิณณรงค์. (2557). คุณค่าตราสินค้าที่ส่งผลต่อกระบวนการตัดสินใจซื้อ (ความตั้งใจซื้อความสนใจ ความต้องการและการตัดสินใจซื้อ) สินค้าแบรนด์เนมแท้. (การค้นคว้าอิสระ, มหาวิทยาลัยกรุงเทพ).
สมนึก หอมนาม. (2556). ภาพลักษณ์ตราสินค้าของรถจักรยานยนต์ฮอนด้าและยามาฮ่าในมุมมองของผู้บริโภคในภาคตะวันออกของประเทศไทย. (วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมธิราช).
สำนักงานคลังจังหวัดสุราษฎร์ธานี. (2558). รายงานประมาณการเศรษฐกิจจังหวัดสุราษฎร์ธานี. สืบค้นเมื่อ กุมภาพันธ์ 1, 2558. จาก http://www.klangsurat.org.
สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ. (2558). คลังข้อมูลอุตสาหกรรมเครื่องสำอางและเวชสำอาง. สืบค้นเมื่อพฤษภาคม 22, 2558. จาก http://www.nstda.or.th.
สุพรรณี จันทร์รัสมี. (2550). ปัจจัยด้านผลิตภัณฑ์ที่มีผลต่อความจงรักภักดีในตราสินค้าของเครื่องสำอางระดับบนในห้างสรรพสินค้าเซ็นทรัลของคนในเขตกรุงเทพมหานคร. (สารนิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ).
หมะหมูด หะยีหมัด. (2555). ความภักดีต่อตราสินค้าในมิติเชิงทัศนคติและมิติเชิงพฤติกรรม. วารสารบริหารธุรกิจเศรษฐศาสตร์และการสื่อสาร, 8(1).
อัคร์วิชญ์ เชื้ออารย์. (2556). ปัจจัยที่มีผลต่อความภักดีในแบรนด์ “Greyhound” ของผู้บริโภคในกรุงเทพมหานคร.วารสารบริหารธุรกิจศรีนครินทรวิโรฒ, 4(2).
อัจฉรา มีทองแสน. (2554). การเปรียบเทียบปัจจัยด้านผลิตภัณฑ์คุณค่าตราสินค้าที่มีผลต่อความภักดีและพฤติกรรมการตัดสินใจซื้อกล้องถ่ายภาพระบบดิจิตอลระหว่างตราสินค้า SONY กับ CANON ของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานคร. (สารนิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ).
Aaker, D. A. (1991). Managing brand equity. New York: The Free Press.
Biel, A. L. (1997). Discover brand image: The hardness of the softer side of branding. International Journal of Advertising, 16(3).
Kotler, P. (2003). Marketing Management. (11thed.). New Jersey: Prentice-Hall.
Likert, Rensis. (1967). “The Method of Constructing and Attitude Scale”. In Reading in Fishbeic,
M(Ed.), Attiude. Troy and Measurement. New York : Wiley & Son.
Maketeer. (2558). ตลาดเครื่องสำอางนำเข้าจากต่างประเทศ. Maketeer online, สืบค้นเมื่อ มกราคม 10,2559. จาก http://marketeer.co.th.
Nelson, M.R. (2002). Recall of brand placements in computer/videogames. Journal of advertisng Research, 42(2).