การประเมินผลการดำเนินงานระบบการวางแผนทรัพยากร (อีอาร์พี) เพื่อการบริหารจัดการ ด้านโลจิสติกส์และห่วงโซ่อุปทาน สินค้าเกษตรอินทรีย์ กลุ่มวิสาหกิจชุมชน ในจังหวัดจันทบุรี และจังหวัดตราด
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษารูปแบบการนำระบบการวางแผนทรัพยากร (อีอาร์พี) เพื่อช่วยในการบริหารจัดการด้านโลจิสติกส์และห่วงโซ่อุปทานสินค้าเกษตรอินทรีย์ของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนจังหวัดจันทบุรี และจังหวัดตราด คณะผู้วิจัยใช้วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพด้วยการสังเกตอย่างใกล้ชิด และการสัมภาษณ์ระดับลึก
ผลการวิจัยพบว่า การดำเนินงานในการจัดการห่วงโซ่อุปทานของสินค้าเกษตรอินทรีย์โดยใช้ระยะเวลา ตั้งแต่ขั้นตอนการเก็บเกี่ยวจนส่งสินค้าถึงมือผู้บริโภคคนสุดท้ายเป็นเวลา 60 ชั่วโมง และหลังจากการศึกษากระบวนการจัดการห่วงโซ่อุปทานโดยใช้แบบจำลอง SCOR ( Supply Chain Operation- Reference Model) สามารถปรับปรุงสายสัมพันธ์ของห่วงโซ่อุปทาน กระบวนการใช้เวลาลดลงเหลือเพียง 50 ชั่วโมง ปัญหาและอุปสรรคที่เกิดขึ้นภายในห่วงโซ่อุปทาน ได้แก่ 1) ข้อจำกัดของอายุผลิตภัณฑ์ที่สั้น 2) ปัจจัยที่ไม่สามารถควบคุมได้ 3) ปัจจัยที่มาจากคน 4) การกีดกันทางการค้า แนวทางในการปรับปรุงสายสัมพันธ์ของการจัดการห่วงโซ่อุปทาน ใช้ระบบการวางแผนทรัพยากร (อีอาร์พี) ด้านระบบสารสนเทศทางการบัญชี ช่วยให้สามารถปรับปรุงสายสัมพันธ์ของการจัดการห่วงโซ่อุปทาน โดยลดระยะเวลาในการจัดส่งสินค้าถึงถือผู้บริโภคขั้นสุดท้าย ทำให้สินค้ามีคุณภาพมากขึ้น สามารถลดของเสีย ทำให้มีกำไรเพิ่มขึ้น ได้ช่วยสร้างเครือข่ายเกษตรกรในการผลิตสินค้าเพื่อให้เพียงพอกับความต้องการของลูกค้าและสามารถแข่งขันกับคู่แข่งขันได้
Article Details
References
วิชัย ไชยมี. (2551). หลักการจัดการระบบ ERP สำหรับโรงงานอุตสาหกรรม. กรุงเทพฯ: สถาบันการบริหารการผลิตและสินค้าคงคลังไทย
วิทยา สุหฤทดำรง. (2549). มองรอบทิศ คิดแบบโลจิสติกส์. กรงเทพฯ: อี.ไอ.สแควร์ พับลิชิ่ง.
ศรีไพร ศักดิ์รุ่งพงศากุล และเจษฎาพร ยุทธนวิบูลย์ชัย. (2549). ระบบสารสนเทศและเทคโนโลยีการจัดการความรู้ กรุงเทพฯ: ซีเอ็ดยูเคชั่น
สนั่น เถาชารี, วีรพัฒน์ เศรษฐ์สมบูรณ์ และวสุ เชาว์พานนท์. (2551). การประยุกต์ใช้ Open Source Tiny ERP เพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพการจัดการกระบวนการทางธุรกิจ SMEs. อินดัสเตรียล เทคโนโลยี รีวิว,14(181), 148-154.