ความสัมพันธ์ระหว่างผลประกอบการด้านการเงินกับการเปิดเผยข้อมูลความรับผิดชอบต่อสังคมกับของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ เอ็ม เอ ไอ

Main Article Content

Jomjai Sampet
จอมใจ แซมเพชร
ภูริทัต อินยา

บทคัดย่อ

การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างผลประกอบการด้านการเงินกับการเปิดเผยข้อมูลความรับผิดชอบต่อสังคมของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ เอ็ม เอ ไอ (mai) ในปี 2557 และ 2558 ซึ่งเป็นปีหลังจากที่สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) ได้กำหนดให้บริษัท จดทะเบียนเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับการดำเนินงานด้านความรับผิดชอบต่อสังคมในเอกสารที่เผยแพร่ต่อสาธารณะ การศึกษานี้จึงแตกต่างจากงานวิจัยก่อนหน้า ที่ส่วนใหญ่ทำการศึกษากับบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยการเปิดเผยข้อมูลความรับผิดชอบต่อสังคมวัดด้วยจำนวนบรรทัดที่เปิดเผยในรายงานประจำปี โดยแบ่งเป็น 8 ประเด็นตาม “หลักการ 8 ข้อ” ที่ ก.ล.ต. กำหนด ผลประกอบการด้านการเงินวัดจากอัตราผลตอบแทนต่อสินทรัพย์ อัตราผลตอบแทนจากส่วนของผู้ถือหุ้น และอัตรากำไรสุทธิ โดยรวบรวมข้อมูลจากงบการเงิน การวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างการเปิดเผยข้อมูลความรับผิดชอบต่อสังคมกับผลประกอบการ ด้านการเงินใช้การวิเคราะห์ความถดถอยเชิงพหุ


ผลการศึกษาพบว่า การเปิดเผยข้อมูลความรับผิดชอบต่อสังคมในปี 2558 ของบริษัทสูงกว่าในปี 2557 ไม่ว่าจะจำแนกตามหัวข้อความรับผิดชอบต่อสังคมหรือจำแนกตามอุตสาหกรรม ส่วนผลการทดสอบความสัมพันธ์ระหว่างผลประกอบการด้านการเงินและการเปิดเผยข้อมูลความรับผิดชอบต่อสังคม พบว่า ผลประกอบการด้านการเงินมีความสัมพันธ์เชิงบวกกับการเปิดเผยข้อมูลหัวข้อการเคารพสิทธิมนุษยชนที่ระดับนัยสำคัญ 0.05 การศึกษานี้มีข้อจำกัดในเรื่องตัววัดการเปิดเผยข้อมูลความรับผิดชอบต่อสังคมที่เป็นตัววัดในมิติด้านปริมาณการเปิดเผยข้อมูล ตัววัดดังกล่าวไม่ได้สะท้อนมิติด้านคุณภาพของการเปิดเผยข้อมูล ดังนั้น งานวิจัยในอนาคตสามารถทำการศึกษาความสัมพันธ์นี้โดยใช้ตัววัดการเปิดเผยข้อมูลที่สะท้อนคุณภาพของการเปิดเผยได้

Article Details

How to Cite
Sampet, J., แซมเพชร จ., & อินยา ภ. (2020). ความสัมพันธ์ระหว่างผลประกอบการด้านการเงินกับการเปิดเผยข้อมูลความรับผิดชอบต่อสังคมกับของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ เอ็ม เอ ไอ. วารสารวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี, 7(2), 314–333. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/msj/article/view/165687
บท
บทความวิจัย

References

กัลยา เหลืองอุบล. (2555). การศึกษาระดับการเปิดเผยข้อมูลความรับผิดชอบต่อสังคมของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ เอ็ม เอ ไอ. (การศึกษาอิสระปริญญาบัญชีมหาบัณฑิต). ขอนแก่น. มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย. (2555). แนวทางความรับผิดชอบต่อสังคมของกิจการ. กรุงเทพฯ: บริษัท เมจิกเพรส จำกัด.

ธีรพร ทองขะโชค. (2556). โมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง การกำกับดูแลกิจการ การมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนได้เสีย และความรับผิดชอบต่อสังคมของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ การทบทวนวรรณกรรม. วารสารนักบริหาร, 33(2), 80-88.

พงษ์ดนัย ยาวิชัย. (2559). ความสัมพันธ์ระหว่างการเปิดเผยข้อมูลด้านความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมกับราคาหลักทรัพย์ของบริษัทในตลาดหลักทรัพย์ เอ็ม เอ ไอ. การศึกษาอิสระปริญญาบัญชีมหาบัณฑิต). เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

พรรณี กัมพลกัญจนา (2558). การเปิดเผยข้อมูลความรับผิดชอบต่อสังคมของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยที่มีรายชื่อหลักทรัพย์ในกลุ่มดัชนี SET 100. (การค้นคว้าอิสระปริญญาบัญชีมหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

พรวิดี วัฒนากลาง. (2552). การเปิดเผยข้อมูลความรับผิดชอบต่อสังคมกับผลตอบแทนหลักทรัพย์ของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยในกลุ่ม SET 100 Index. (วิทยานิพนธ์ปริญญาบัญชีมหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

พิชชานันท์ ภาโสภะ. (2555). ความสัมพันธ์ระหว่างการรายงานความรับผิดชอบต่อสังคมตาม ISO 26000 และตัวชี้วัดผลการดำเนินงานของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย. (วิทยานิพนธ์ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

วิภา จงรักษ์สัตย์. (2559). การเปิดเผยข้อมูลความรับผิดชอบต่อสังคมของกิจการในประเทศไทย. วารสารศรีนครินทรวิโรฒวิจัยและพัฒนา (สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์), 8(15), 128-144.

สถาบันไทยพัฒน์. (2560 ก). รายงาน CSR ตามแบบ 56-1. สืบค้น 15 ตุลาคม 2561 จาก http://www.thaicsr.com/2014/01/csr-56-1_27.html

_______. (2560 ข). แนวทางการเปิดเผยข้อมูล CSR ตามแบบ 56-1. สืบค้น 15 ตุลาคม 2561 จาก http://www.thaicsr.com/2014/01/csr-56-1.html

สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์. (2560 ก). ความรับผิดชอบต่อสังคมของธุรกิจ (Corporate Social Responsibilities: CSR). สืบค้น 15 ตุลาคม 2561 จากhttp://www.cgthailand.org/TH/Pages/CSR.aspx

______. (2560 ข). พระราชบัญญัติหลักทรัพย์เเละตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535. สืบค้น 15 ตุลาคม 2561 จาก http://www.cgthailand.org/TH/Regulation/SEC/Pages/seclaw.aspx

สุรพงษ์ โสธนะเสถียร. (2544). การวิจัยการสื่อสาร. จุลสารไทยคดีศึกษา, 18(1), 25-34.

อภิรดา ชิณประทีป. (2558). การแสดงความรับผิดชอบต่อสังคมขององค์กรและผลการดำเนินงานทางด้านการเงิน. วารสารการบริหารท้องถิ่น, 9(1), 118-132.

อลิษา ประมวลเจริญกิจ. (2560). โมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง การกำกับดูแลกิจการ การมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนได้เสีย และความรับผิดชอบต่อสังคมของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ การทบทวนวรรณกรรม. วารสารวิจัยและพัฒนา วไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์, 12(2), 45-55.

Cochran, P. L. & Wood, R. A. (1984). Corporate social responsibility and financial performance. The Academy of Management Journal, 27(1), 42-56.

Elouidani, A. & Zoubir, F. (2015). Corporate social responsibility and financial performance. African Journal of Accounting, Auditing and Finance, 4(1), 74-85.

Masoud, N. & Halaseh, A. (2017). Corporate social responsibility and company performance: An empirical analysis of Jordanian companies listed on Amman Stock Exchange. British Journal of Education, Society & Behavioral Science, 19(1), 1-26.

Waddock, S. A. & Graves, S. B. (1997). The corporate social performance-financial performance link. Strategic Management Journal, 18(4), 303-319.