การศึกษาประสิทธิภาพและปัญหาการใช้ระบบติดตามเรือประมงของผู้ประกอบการเรือประมง จังหวัดระนอง

Main Article Content

มณกันต์ สมเกื้อ

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพ มีวัตถุประสงค์ ดังนี้ 1) เพื่อศึกษารูปแบบการใช้ระบบติดตามเรือประมงของผู้ประกอบการเรือประมง จังหวัดระนอง 2) เพื่อศึกษาต้นทุนและค่าใช้จ่ายจากการติดตั้งระบบติดตามเรือประมง 3) เพื่อศึกษาประสิทธิภาพของระบบติดตามเรือประมง 4) เพื่อศึกษาปัญหาและแนวทางการพัฒนาการใช้ระบบติดตามเรือประมง โดยการสัมภาษณ์เชิงลึกผู้ประกอบการเรือประมง เจ้าหน้าที่กรมประมง จังหวัดระนอง 15 ราย เจ้าหน้าที่ดูแลระบบติดตามเรือ (VMS) 3 ราย และเก็บข้อมูลจากการประชุมเพื่อระดมความคิดเห็นจากกลุ่มตัวอย่าง ผลการวิจัย พบว่า 1) รูปแบบการใช้ระบบติดตามเรือประมง คือ ระบบ Vessel Monitoring System (VMS) 2) ต้นทุนคงที่ในการติดตั้งประมาณ 20,000 บาท อายุการใช้งาน 10 ปี และต้นทุนแปรผัน คือ ค่าบริการระบบดาวเทียม เดือนละ 900-1,000 บาท หรือ ค่าบริการระบบ GSM ในการระบุตำแหน่ง แบบเหมาจ่ายเดือนละ 200 กว่าบาท 3) ประเด็นประสิทธิภาพ พบว่า เจ้าหน้าที่ประจำเรือไม่สามารถทราบว่าสัญญาณ VMS หายไปเมื่อเรืออยู่กลางทะเล เนื่องจากไม่มีการแจ้งเตือนสัญญาณ หากสัญญาณหายทางศูนย์ VMS จะเรียกเรือกลับเข้าฝั่ง ซึ่งทำให้ผู้ประกอบการเกิดความเสียหาย ทั้งๆ ที่เป็นข้อจำกัดของเทคโนโลยี 4) ประเด็นปัญหาในการใช้ระบบติดตามเรือประมงคือ สัญญาณ GPS หาย และส่งผลให้ทำการประมงออกนอกเส้นทางการเดินเรือแนวทางในการพัฒนาระบบ VMS ได้แก่ เพิ่มปุ่มฉุกเฉินในการขอความช่วยเหลือ การวัดประสิทธิภาพของระบบ VMS เพื่อหาความแม่นยำของพิกัดตำแหน่งของเรือ

Article Details

How to Cite
สมเกื้อ ม. (2017). การศึกษาประสิทธิภาพและปัญหาการใช้ระบบติดตามเรือประมงของผู้ประกอบการเรือประมง จังหวัดระนอง. วารสารวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี, 5(1), 125–144. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/msj/article/view/129941
บท
บทความวิจัย