การวิเคราะห์โครงสร้างตลาดและการแข่งขันของการขนส่งทางบกสาธารณะจังหวัดสุราษฎร์ธานี
Main Article Content
บทคัดย่อ
วัตถุประสงค์ของการวิจัย เพื่อศึกษาโครงสร้างตลาดและการแข่งขันที่ไม่ใช่ราคา ปัจจัยที่มีผลต่อแบบจำลองเกรวิตี้ ปัญหาและอุปสรรคของการพัฒนาการขนส่งทางบกสาธารณะจังหวัดสุราษฎร์ธานี กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ประกอบการขนส่งทางบกสาธารณะในจังหวัดสุราษฎร์ธานี จำนวน 231 คน
ผลการวิเคราะห์โครงสร้างตลาดของการขนส่งทางบกสาธารณะในจังหวัดสุราษฎร์ธานี คือ บริษัทพันทิพย์ (1970) จำกัด มีจำนวนเส้นทางการเดินรถ 20 เส้นทางซึ่งแบ่งออกเป็นรถเมล์ 1 เส้นทาง รถสองแถว 9 เส้นทาง รถตู้ปรับอากาศ 9 เส้นทางและรถบัสปรับอากาศ 1 เส้นทาง สหกรณ์เดินรถเทพพนม จำกัด มีจำนวนเส้นทางการเดินรถ16 เส้นทาง ซึ่งแบ่งออกเป็นรถเมล์ 1 เส้นทาง และรถสองแถว 15 เส้นทาง บริษัทสุราษฎร์สหพันธ์ จำกัด มีจำนวนเส้นทางการเดินรถ 16 เส้นทาง ซึ่งแบ่งออกเป็นรถสองแถว 7 เส้นทางและรถตู้ปรับอากาศ 9 เส้นทาง สหกรณ์บริการเดินรถพระแสง มีจำนวนเส้นทางการเดินรถ2 เส้นทาง ซึ่งแบ่งออกเป็นรถสองแถว 2 เส้นทาง และห้างหุ้นส่วนแก้วประทีป 1997มีจำนวนเส้นทางการเดินรถ 1 เส้นทาง ซึ่งแบ่งออกเป็น รถสองแถว 1 เส้นทาง วิเคราะห์โครงสร้างตลาดโดยวิธีการวัดการกระจุกตัวเพียงบางส่วนโดยแยกเป็นเส้นทางค่าConcentration Ratio ส่วนใหญ่ในเส้นทางแต่ละเส้นทางมีค่าเท่ากับ 100.00 แสดงว่าการกระจุกตัวสูงมีการผูกขาดในระดับสูง การวัดการกระจุกตัวโดยรวมด้วยค่าดัชนีHirschman-Herfindahl Index ส่วนใหญ่ในแต่ละเส้นทางมีค่าเท่ากับ 1.00 เมื่อพิจารณาแต่ละเส้นทางของบริษัท แสดงว่าโครงสร้างตลาดเป็นแบบผูกขาด การวิเคราะห์พฤติกรรมการแข่งขันที่ไม่ใช่ราคาให้ความสำ คัญในระดับมาก การวิเคราะห์ปัญหาและอุปสรรคให้ความสำ คัญในระดับมาก การปรับปรุงและพัฒนาการขนส่งสาธารณะ รัฐบาลควรเข้าไปสนับสนุนด้านราคาค่าโดยสาร การจราจรที่ติดขัดและการวิ่งทับเส้นทาง