ค่าจ้างขั้นต่ำ กรณีศึกษาประเทศไทยและประเทศอื่น ๆ
Main Article Content
บทคัดย่อ
มากกว่าร้อยละ 90 ของประเทศทั่วโลกมีการใช้ค่าจ้างขั้นต่ำ วัตถุประสงค์ของ ค่าจ้างขั้นต่ำ คือ เพิ่มรายได้ ลดความยากจน เพิ่มการจ้างงาน เพิ่มมาตรฐานการครองชีพลดความไม่เท่าเทียมทางรายได้ ทฤษฎีค่าจ้างมีหลายทฤษฎี เช่น ทฤษฎีกองทุนค่าจ้างทฤษฎีค่าจ้างพอประทังชีวิต ทฤษฎีมูลค่าส่วนเกินและการเอารัดเอาเปรียบแรงงาน ทฤษฎีผู้ได้สิทธิส่วนเหลือ ทฤษฎีผลิตภาพหน่วยสุดท้าย ทฤษฎีการเจรจาต่อรองค่าจ้างและทฤษฎีพฤติกรรมค่าจ้าง การศึกษาผลกระทบของค่าจ้างขั้นต่ำจะพิจารณาตัวแปรการจ้างงาน รายได้โครงสร้างตลาด ความยืดหยุ่นของอุปสงค์ต่อแรงงาน และอุปทานของแรงงานผลิตภัณฑ์ในประเทศเบื้องต้น (GDP) เป็นต้น ซึ่งงานวิจัยเหล่านี้ มองผลกระทบของค่าจ้างขั้นต่ำครอบคลุมทั้งในแง่บวและแง่ลบ
Article Details
How to Cite
พิจิตบันดาล ว. (2015). ค่าจ้างขั้นต่ำ กรณีศึกษาประเทศไทยและประเทศอื่น ๆ. วารสารวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี, 2(2), 1–18. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/msj/article/view/116801
บท
บทความวิชาการ