การสร้างจุดขายและกลยุทธ์ทางการตลาดอาหารท้องถิ่นของจังหวัดสุราษฎร์ธานี

Main Article Content

พรทิพย์ ทวีพงษ์

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้เป็นส่วนหนึ่งของงานวิจัย เรื่อง การศึกษาภูมิปัญญาอาหารวัฒนธรรม จังหวัดสุราษฎร์ธานี มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลิตภัณฑ์อาหารภูมิปัญญาอาหารท้องถิ่น และสร้างจุดขายและกลยุทธ์ทางการตลาด โดยใช้วิธีการสำรวจข้อมูลเบื้องต้นและสัมภาษณ์ผู้เฒ่าที่มีความรู้ด้านภูมิปัญญาท้องถิ่นในพื้นที่ เพื่อให้ได้ชื่ออาหารท้องถิ่น จัดเวทีประชาคมเพื่อคัดเลือกอาหาร และนำรายชื่ออาหารที่ได้มาสังเคราะห์ข้อมูล โดยการสัมภาษณ์ผู้ผลิตอาหารท้องถิ่นที่เป็นที่ยอมรับ และมีประสบการณ์ในการผลิตอาหารภูมิปัญญาท้องถิ่นในจังหวัดสุราษฎร์ธานี วิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหา และนำเสนอผลการวิเคราะห์ในลักษณะพรรณนา ผลการคัดเลือก และวิเคราะห์ภูมิปัญญาอาหารท้องถิ่นจังหวัดสุราษฎร์ธานีของกลุ่มบ้านสวน (อำเภอบ้านนาเดิม อำเภอบ้านนาสาร อำเภอเวียงสระ อำเภอพระแสง และอำเภอชัยบุรี จังหวัดสุราษฎร์ธานี) พบว่า อาหารท้องถิ่น ได้แก่ เออะพุงปลา ข้าวยำสมุนไพร ยำใบไม้ ลาบลิ้นฟ้า และอุปปลาเปรี้ยวการสร้างจุดขาย และกลยุทธ์การตลาด พบว่า ผู้ผลิตอาหาร ภูมิปัญญาท้องถิ่นไม่ได้มุ่งเน้นทำการตลาดและใช้กลยุทธ์เพื่อส่งเสริมการตลาดมากนัก แม้ในบางผลิตภัณฑ์อาหารจะเป็นการผลิตเพื่อการค้าก็ตาม การสร้างจุดขาย มักทำโดยการแบ่งส่วนตลาดให้ตัวผลิตภัณฑ์มีความหลากหลายมากขึ้น เพื่อให้ผู้บริโภคได้มีทางเลือกบริโภคอาหารที่ตนพอใจ การโฆษณาประชาสัมพันธ์ใช้วิธีเขียนเป็นเมนูแนะนำของร้าน หรือกรณีที่อาหารเป็นที่รู้จักพอสมควรอยู่แล้วก็ใช้ฉลากข้างกล่องหรือถุงบรรจุภัณฑ์

Article Details

How to Cite
ทวีพงษ์ พ. (2017). การสร้างจุดขายและกลยุทธ์ทางการตลาดอาหารท้องถิ่นของจังหวัดสุราษฎร์ธานี. วารสารวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี, 4(1), 129–156. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/msj/article/view/116484
บท
บทความวิจัย