ผลกระทบของปัจจัยด้านเศรษฐกิจและสังคมของครัวเรือนที่มีต่อหนี้ครัวเรือนของประเทศไทย

Main Article Content

ถวิล นิลใบ
นงนุช อินทรวิเศษ
ธัญญารัตน์ ทองพาศน์

บทคัดย่อ

บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยด้านเศรษฐกิจและสังคมของครัวเรือนที่มีผลกระทบต่อหนี้ครัวเรือนของประเทศไทย การศึกษาวิเคราะห์ครัวเรือนที่มีหนี้สิน จำนวน 21,273 ครัวเรือนจากฐานข้อมูลการสำรวจภาวะเศรษฐกิจและสังคมของครัวเรือน พ.ศ. 2562 ของสำนักงานสถิติแห่งชาติ ด้วยวิธีสมการถดถอยแบบค่าเฉลี่ยเพื่อศึกษาผลกระทบของปัจจัยด้านเศรษฐกิจและสังคมของครัวเรือนที่มีต่อหนี้ครัวเรือน ณ ระดับหนี้เฉลี่ย รวมทั้งใช้วิธีควอนไทล์  รีเกรสชั่น ณ ระดับ 0.1 และ 0.9 เพื่อศึกษาผลกระทบของปัจจัยกำหนดหนี้ครัวเรือนที่มีหนี้ต่ำกว่าและสูงกว่าระดับเฉลี่ย ตามลำดับ ผลการศึกษาพบว่า รายได้และรายจ่ายครัวเรือน เป็นปัจจัยที่มีบทบาทสำคัญต่อการกำหนดหนี้ครัวเรือนในทุกระดับหนี้ โดยครัวเรือนที่มีรายได้และรายจ่ายสูงขึ้นจะทำให้หนี้เพิ่มขึ้นตามไปด้วย สะท้อนว่า ครัวเรือนที่มีรายได้สูงจะมีศักยภาพในการสร้างหนี้ได้สูง เพราะสามารถผ่อนชำระเงินต้นและดอกเบี้ย รวมทั้งมีโอกาสในการเข้าถึงสินเชื่อได้ง่าย อายุของหัวหน้าครัวเรือนและจำนวนสมาชิกที่สูงขึ้นจะส่งผลให้หนี้สูงตามไปด้วย นอกจากนี้ หัวหน้าครัวเรือนเป็นเพศชายมีแนวโน้มที่จะสร้างหนี้มากกว่าเพศหญิง หัวหน้าครัวเรือนที่สมรสจะมีหนี้มากกว่าหัวหน้าที่เป็นโสด หม้าย หย่าร้าง หัวหน้าครัวเรือนที่มีการศึกษาจะมีหนี้มากกว่าหัวหน้าที่ไม่มีการศึกษา หัวหน้าครัวเรือนที่เป็นนายจ้างและประกอบธุรกิจส่วนตัวจะมีหนี้มากกว่าหัวหน้าที่ไม่ได้ทำงาน แหล่งที่ตั้งจะส่งผลเฉพาะครัวเรือนที่มีหนี้ในระดับต่ำ อย่างไรก็ตาม ปัจจัยที่ศึกษา โดยเฉลี่ยสามารถอธิบายหนี้ครัวเรือนได้ร้อยละ 36.25 สะท้อนให้เห็นว่า ปัจจัยภายนอกครัวเรือนมีบทบาทสำคัญในการทำให้เกิดหนี้ครัวเรือน

Article Details

How to Cite
นิลใบ ถ., อินทรวิเศษ น., & ทองพาศน์ ธ. . . (2022). ผลกระทบของปัจจัยด้านเศรษฐกิจและสังคมของครัวเรือนที่มีต่อหนี้ครัวเรือนของประเทศไทย. วารสารวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี, 9(1), 115–138. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/msj/article/view/254459
บท
บทความวิจัย

References

Bank for International Settlement. (2020). Total credit to households (core debt). https://stats.bis.org/statx/srs/table/f3.

Bank of Thailand. (2019). Thai Household Debt Structure and Implications for Household Financial Status. https://www.bot.or.th/Thai/MonetaryPolicy/MonetPolicyComittee/MPR/BOX_MPR/1BOXMPR_TH_December2562.pdf

Bank of Thailand. (2020). Loans to the household sector. https://www.bot.or.th/App/BTWS_STAT/statistics/BOTWEBSTAT.aspx?reportID=775&language=TH

Branson, W. H. (1989). Macroeconomic Theory and Policy (3rd ed). Singapore: Harper & Row Publishers.

Budda, L. (2016). Household Debt and Business Cycle in Thailand. [Master’s Independent Study] Thammasat University.

Chaiyanon, P., & Sanguanwongse, V. (2021). Debt Analysis and Related Factor to Debt Agriculture of Cooperative Member in the Northern of Thailand. Journal of Lampang Rajabhat University, 10(1), 63-75.

Chaitarin, W., & Kharuhayothin, T. (2019). Debt of Farm Households in Phayao Province. Journal of Community Development and Life Quality, 7(3), 283-294.

Duesenberry, J. S. (1959). Income Savings and The Theory of Consume Behavior. Cambridge: Cambridge University Press.

Fiscal Policy Office. (2015). Development of a micro-model to study the role of household debt on income distribution inequality in Thailand. Bangkok: Fiscal Policy Office.

Friedman, M. (1990). Theory of the Consumption Function. as cited in Froyen, R. T., Macroeconomics: Theories and Policies (3rd edition). New York: Macmillan Publishing Company.

Intarapak, S. & Supapakorn, T. (2020). Application of Logistic Regression Analysis to Household Debt of Bangkok and Metropolitan Area of Thailand. WSEAS Transactions on Business and Economics, 17, 676-681.

Jensarikit, S., & Sawangdee, Y. (2013). Factors related to the debt indebtedness of Thai farmer households in Kanchanaburi Province. In the proceedings of the 10th National Kasetsart University Kamphaeng Saen Conference (pp. 473-481), Kasetsart University, Kamphaeng Saen, Nakhon Pathom.

Kabkhao, C., & Sapwarobol, T. (2018). The Determinant of Probability of Household Debt. In the proceedings of the 2nd UTCC Academic Day National Academic Conference and Presentation (pp. 934-945), Bangkok: University of the Thai Chamber of Commerce.

Lancaster, K. J. (1966). A New Approach to Consumer Theory. Journal of Political Economy, 74(2), 132-157.

Lerskullawat, A. (2020). Factors affecting household debt in Thailand. International Journal of Economic Policy in Emerging Economies. 13(4), 327-336

McFadden, D. L. (2000). Economic Choices. Prize Lecture, Nobel Prize in Economic Sciences 2000.

Mingmaneenakin, W. (2011). Principles of macroeconomics. Bangkok: Thammasat University Press.

National Statistical Office. (2020). Household Socio-Economic Survey 2004-2019. http://www.nso.go.th

Office of the National Economic and Social Development Council. (2020). Quarterly Gross Domestic Product (QGDP). https://www.nesdc.go.th/main.php?filename=qgdp_page

Strzelecka, A & Zawadzka, D. (2020). Why Households Borrow Money? Socio-Economic Factors Affecting Households Debts: A Model Approach, European Research Studies Journal, 820-839.