รูปแบบการบริหารจัดการขยะมูลฝอยที่มีประสิทธิผลในพื้นที่มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี
Main Article Content
บทคัดย่อ
การจัดการขยะมูลฝอยเป็นปัญหาสำคัญที่ทุกภาคส่วนจะต้องเร่งดำเนินการแก้ไข จึงนำมาซึ่งการกำหนดวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความคิดเห็นด้านพฤติกรรม ความรู้ และการมีส่วนร่วมในการจัดการขยะมูลฝอย และเพื่อศึกษารูปแบบปัจจัยความสัมพันธ์เชิงสาเหตุที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการบริหารจัดการขยะมูลฝอย งานวิจัยเป็นเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่าง คือ บุคลากรของมหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี จำนวน 300 คน ใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบชั้นภูมิ สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ สถิติการทดสอบค่าที การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว การวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ ผลการวิจัย พบว่า 1) พฤติกรรม ความรู้และการมีส่วนร่วม โดยรวมอยู่ในระดับมากทุกด้าน 2) พฤติกรรม ความรู้และการมีส่วนร่วมในการจัดการขยะมูลฝอย มีอิทธิพลต่อประสิทธิผลการบริหารจัดการขยะมูลฝอย อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ ระดับ .05 โดยพฤติกรรมมีอิทธิพล (Beta = .238) รองลงมา คือ การมีส่วนร่วม (Beta = .105) และต่ำสุด คือ ความรู้ (Beta = .056) สามารถร่วมกันพยากรณ์ประสิทธิผลการบริหารจัดการขยะมูลฝอยได้ร้อยละ 65 ดังนั้น การบริหารจัดการขยะมูลฝอยให้ประสบความสำเร็จจะต้องมีการกำหนดหน้าที่หลักในแต่ละต้นสังกัดถึงจะทำให้บรรลุเป้าหมายและเกิดประสิทธิผลของพื้นที่ในมหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี
Article Details
References
เขมภัทท์ เย็นเปี่ยม. (2019). แนวทางการพัฒนาประสิทธิภาพการจัดการขยะของเทศบาลเมืองหัวหิน. บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยสวนดุสิต. 16(1), 1 – 12.
ชาญณรงค์ สุราสา. (2560). ประสิทธิผลการดำเนินงานโครงการหนึ่งอำเภอหนึ่งโรงเรียนในฝันของโรงเรียนต้นสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาขอนแก่น เขต 1. (สารนิพนธ์). ขอนแก่น : มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
ชาลี ประสมเพชร. (2557). รูปแบบการจัดการขยะมูลฝอยของประชาชนในหมู่บ้าน จังหวัดอุดรธานี. วารสารช่อพะยอม. 25(2), 185-195.
ดวงสมร ฟักสังข์. (2555). หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงกับการจัดการขยะมูลฝอยของครัวเรือนในชุมชนเขตดุสิตของกรุงเทพมหานคร. (รายงานการวิจัย). กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา.
ไทยพับลิก้า. (2015). วิกฤติขยะชุมชนเมือง. สืบค้น 8 กันยายน 2563 จาก http://thaipublica.org/2012/06/crisis-solid-waste/.
นิคม จันทร์มังกร และวิศาล บุญประกอบ.(2556). รูปแบบและวิธีการกำจัดขยะมูลฝอยที่เหมาะสมกับพื้นที่การท่องเที่ยวในในเขตเทศบาลตําบลสมเด็จ. จังหวัดกาฬสินธ์.
ภิศักดิ์ กัลยาณมิตรและคณะ. (2561). แนวทางการพัฒนาการจัดการขยะมูลฝอยขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น. วารสารวิชาการแพรวากาฬสินธุ์. 5(1), 172 - 193.
ยุวัลดา ชูรักษ์. (2560). รูปแบบการจัดการขยะมูลฝอยในครัวเรือนของเทศบาลตำบลเขาหัวช้าง อำเภอตะโหมด จังหวัดพัทลุง. การประชุมหาดใหญ่วิชาการระดับชาติ ครั้งที่ 8. วันที่ 22 มิถุนายน 2560 มหาวิทยาลัยหาดใหญ่.
รุ่งกิจ บูรณ์เจริญ. (2554). การจัดการขยะฐานศูนย์ : กรณีศึกษา โรงเรียนจอมพระประชาสรรค์อำเภอจอมพระ จังหวัดสุรินทร์. (วิทยานิพนธ์). กรุงเทพฯ : สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.
วสันต์พรรษ จำเริญนุสิต. (2561). เอกสารเพื่อการเผยแพร่และประชาสัมพันธ์ สำนักงานประชาสัมพันธ์จังหวัดชุมพร. สืบค้น 18 มิถุนายน 2563 จาก http://thainews.prd.go.th.
สันชัย พรมสิทธิ์. 2562. รูปแบบการจัดการขยะกับความเหมาะสมของพื้นที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น. วารสารบัณฑิต MCU วิทยาเขตขอนแก่น. 6(2), 461 – 483.
อภิชาติ ตั้งปรัชญากูล. (2559). ผลของการใช้รูปแบบการจัดการขยะมูลฝอยอย่างครบวงจรแบบมีส่วนร่วมของชุมชน. วารสารดุษฎีบัณฑิตทางสังคมศาสตร์. 6(3), 123 – 137.
อมรรักษ์ สวนชูผลม. (2560). การศึกษาสภาพปัญหาการจัดการขยะของมหาวิทยาลัยราชภัฏในเขตภาคกลาง. วารสารวิจัยและพัฒนา วไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์. 12(3), 11 - 21.
อาณัฐิ ต๊ะปินตา. (2553). ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการจัดการขยะมูลฝอย. กรุงเทพฯ : แอคทีฟ พริ้นท์.
อำเภอเขาค้อ จังหวัดเพชรบูรณ์. (วิทยานิพนธ์ปริญญาโท). เพชรบูรณ์ : มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์.
อิทธิพล โฉมสุภาพ. (2561). รูปแบบการจัดการขยะมูลฝอยโดยการมีส่วนร่วมของชุมชนบ้านดงสะคร่านตำบลวังสวาบ อำเภอภูผาม่าน จังหวัดขอนแก่น. วารสารวิทยาลัยบัณฑิตเอเซีย. 8(พิเศษ), 308 – 322.
Yamane, Taro. (1973). Statistics, An Introductory Analysis. 2nd Edition, New York: Harper and Row.