การประเมินกรอบแนวคิดและกระบวนการออกแบบเทคโนโลยีที่ทุกคนสามารถเข้าถึงได้ สำ�หรับพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นไทย

Main Article Content

Kewalin Angkananon
Mike Wald
Lester Gilbert

บทคัดย่อ

การพัฒนา “Technology Enhanced Interaction Framework (TEIF)” เพื่อช่วยสนับสนุนการปฏิสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์ เทคโนโลยีและวัตถุ และผ่านการประเมินโดยผู้เชี่ยวชาญด้านซอฟต์แวร์ 3 คน ผู้เชี่ยวชาญด้านผู้พิการทางการได้ยิน 3 คน และศาสตราจารย์ด้านการออกแบบส่วนปฏิสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับคอมพิวเตอร์ (HCI)องค์ประกอบหลักของ TEIF ได้แก่ บุคคล วัตถุ เทคโนโลยี การปฏิสัมพันธ์ เวลา/สถานที่บริบท กระบวนการ TEIF คือ กระบวนการที่ช่วยในการรวบรวมความต้องการของผู้ใช้และออกแบบซอฟต์แวร์ เครื่องมือในการรวบรวมความต้องการเป็นคำ ถาม 4 ตัวเลือก ผู้ใช้วิเคราะห์สถานการณ์ตามข้อคำ ถาม คำ ตอบจะเชื่อมโยงกับเทคโนโลยีที่เก็บอยู่ในฐานข้อมูล ซึ่ง TEIF จะแสดงเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้อง พร้อมแสดงตัวอย่างการออกแบบโดยใช้แผนภาพ TEIF Interaction และ Use Case นักออกแบบเทคโนโลยี 36 คน ทำ การทดลองเปรียบเทียบการใช้งาน TEIF Method และ Other Method ผลการศึกษา พบว่านักออกแบบเทคโนโลยีกลุ่ม TEIF Method สามารถเลือกความต้องการที่ถูกต้องและเทคโนโลยีที่สามารถแก้ปัญหาได้ดีกว่ากลุ่ม Other Method อย่างมีนัยสำ คัญ ผู้ตอบแบบสอบถามตอบแบบสอบถามหลังการทดสอบ พบว่า TEIF ช่วยเพิ่มความสามารถในการประเมินความต้องการของผู้ใช้, การออกแบบเทคโนโลยีที่เกี่ยวกับผู้พิการทางการได้ยิน และผู้พิการอื่น

Article Details

How to Cite
Angkananon, K., Wald, M., & Gilbert, L. (2015). การประเมินกรอบแนวคิดและกระบวนการออกแบบเทคโนโลยีที่ทุกคนสามารถเข้าถึงได้ สำ�หรับพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นไทย. วารสารวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี, 2(2), 19–48. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/msj/article/view/116802
บท
บทความวิจัย