การศึกษาโมเดลความต้องการสารสนเทศบนอุปกรณ์เคลื่อนที่ : บริบทของการนวด-สปาบำบัดโรค

Main Article Content

น้ำทิพย์ ตระกูลเมฆี
คนึงนิจต์ หนูเช็ก

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยและค้นหาโมเดลความต้องการสารสนเทศด้านนวด-สปาไทยบนอุปกรณ์เคลื่อนที่ของนักท่องเที่ยวชาวต่างประเทศ โดยนำเสนอโมเดลที่พัฒนาบนพื้นฐานโมเดลการยอมรับเทคโนโลยี (Technology Acceptance Model: TAM)ที่เป็นรู้จักกันเป็นอย่างดีทั้งในกลุ่มนักวิชาการและนักวิจัยทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศระดับนานาชาติ โดยได้จัดเก็บด้วยแบบสอบถามจากกลุ่มตัวอย่างนักท่องเที่ยวต่างชาติณ ห้องโถงขาออกนานาชาติ สนามบินสุวรรณภูมิ จำนวน 422 คน และวิเคราะห์ตัวชี้วัดและโครงสร้างโมเดลด้วยโปรแกรม SmartPLS ผลการศึกษา พบว่า ในบริบทของความต้องการเทคโนโลยีสารสนเทศด้านนวด-สปาไทยบนอุปกรณ์เคลื่อนที่ TAM ไม่เหมาะสมเพียงพอที่จะใช้ในการศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความต้องการสารสนเทศของนักท่องเที่ยวชาวต่างประเทศในบริบทนี้ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ .05 เนื่องจาก ปัจจัยการรับรู้ด้านประโยชน์ไม่เป็นปัจจัยของความต้องการเทคโนโลยีสารสนเทศด้านนวด-สปาไทยบนอุปกรณ์เคลื่อนที่ อีกทั้งจากผลการทดสอบ พบว่า โมเดลที่ได้นำเสนอ (MI-TAM) มีความสามารถในการอธิบายปัจจัยที่มีผลต่อความต้องการสารสนเทศด้านนวด-สปาไทยบนอุปกรณ์เคลื่อนที่ของนักท่องเที่ยวชาวต่างประเทศได้ดีกว่า TAM ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ .05

Article Details

How to Cite
ตระกูลเมฆี น., & หนูเช็ก ค. (2016). การศึกษาโมเดลความต้องการสารสนเทศบนอุปกรณ์เคลื่อนที่ : บริบทของการนวด-สปาบำบัดโรค. วารสารวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี, 3(2), 15–42. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/msj/article/view/116742
บท
บทความวิจัย