บทบาทผู้บริหารโรงเรียนในการส่งเสริมการจัดการเรียนรู้ยุคฐานวิถีชีวิตใหม่ของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานนทบุรี
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาบทบาทของผู้บริหารโรงเรียนในการส่งเสริมการจัดการเรียนรู้ในยุคฐานวิถีชีวิตใหม่ของโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานนทบุรี และ 2) เปรียบเทียบบทบาทของผู้บริหารโรงเรียนในการส่งเสริมการจัดการเรียนรู้ในยุคฐานวิถีชีวิตใหม่ กลุ่มตัวอย่างคือ ครูและผู้บริหารในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานนทบุรี จำนวน 328 คน (ผู้บริหาร 39 คน และครู 289 คน) จากการสุ่มแบบแบ่งชั้นตามขนาดของโรงเรียน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบสอบถามมาตรประมาณค่า 5 ระดับ ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น มีค่าความตรงเชิงเนื้อหา ระหว่าง 0.67-1.0 และความเที่ยงเท่ากับ 0.93 การวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบด้วยสถิติที การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว และ Least Significant Difference (LSD) ผลการวิจัยพบว่า 1) บทบาทผู้บริหารโรงเรียนในการส่งเสริมการจัดการเรียนรู้ในยุคฐานวิถีชีวิตใหม่ โดยภาพรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก เรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปน้อย คือ ด้านการกำกับดูแลการใช้นวัตกรรมในการเรียนรู้ ด้านการส่งเสริมให้นักเรียนเป็นนวัตกร ด้านการนำรูปแบบทางดิจิทัลมาสนับสนุนการเรียนรู้ และด้านการส่งเสริมการเรียนรู้อย่างมืออาชีพในสภาพแวดล้อมที่มีความเสี่ยง ตามลำดับ 2) ผลการทดสอบเปรียบเทียบความคิดเห็นจำแนกตามตำแหน่ง โดยภาพรวมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 แต่เมื่อจำแนกตามประสบการณ์ทำงานและจำแนกตามขนาดโรงเรียนในภาพรวมพบว่าไม่แตกต่างกัน
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ข้อความและบทความในวารสารการวัด ประเมินผล สถิติ และการวิจัยทางสังคมศาสตร์ เป็นแนวคิดของผู้เขียน มิใช่ความคิดเห็นของกองบรรณาธิการวารสาร จึงมิใช่ความรับผิดชอบของวารสารการวัด ประเมินผล สถิติ และการวิจัยทางสังคมศาสตร์ บทความในวารสารต้องไม่เคยตีพิมพ์ที่ใดมาก่อน และสงวนสิทธิ์ตามกฎหมายไทย การจะนำไปเผยแพร่ ต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากกองบรรณาธิการ
References
กระทรวงศึกษาธิการ. (2563). การเตรียมความพร้อมของกระทรวงศึกษาธิการ ก่อนเปิดภาคเรียน. เรียกใช้เมื่อ 15 มิถุนายน 2563 .https://moe360.blog/2020/05/08/
เบญจพร สุคนธร. (2565). บทบาทของผู้บริหารสถานศึกษาในการส่งเสริมการจัดการเรียนการสอนออนไลน์ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา กรุงเทพมหานคร เขต 2. ปริญญามหาบัณฑิต. สาขาวิชาการบริหารการศึกษา คณะศิลปะศาสตร์, มหาวิทยาลัยเกริก.
เบญจวรรณ ช่อชู และ พร้อมพิไล บัวสุวรรณ. (2562). บทบาทของผู้บริหารสถานศึกษาในการส่งเสริมการบริหารงานวิชาการในโรงเรียนวิชูทิศ สำนักงานเขตดินแดง สังกัดกรุงเทพมหานคร. วารสารครุศาสตร์ปริทรรศน์ฯ,7(2), 162-174.
พัชราภรณ์ ดวงชื่น. (2563). การบริหารจัดการศึกษารับความปกติใหม่หลังวิกฤตโควิด-19. วารสารศิลปการจัดการ : มหาวิทยาลัยคริสเตียน.
ภัทรนิชา สุดตาชาติ. (2560). บทบาทของผู้บริหารสถานศึกษาในการส่งเสริมการจัดการเรียนการสอนที่เน้นนักเรียนเป็นสำคัญ ในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตคลองสามวา กรุงเทพมหานคร (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). กรุงเทพมหานคร. มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
มาริสา นุงอาหลี (2565) การส่งเสริมการสร้างนวัตกรระดับนักเรียนของโรงเรียนคุณภาพประจำตำบลสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา กรุงเทพมหานคร เขต 1 (วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรบัณฑิต). สาขาบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชพฤกษ์.
มาลี บุญศิริพันธ์. (2563). ความปกติใหม่ ฐานวิถีชีวิตใหม่. ออนไลน์ สืบค้น กรกฎาคม 2563. https://news.thaipbs.or.th/content/292126
ยุทธชาต นาห่อม. (2564). เอกสารการประชุมวิชาการนาเสนอผลงานวิจัยระดับชาติและ นานาชาติ ครั้งที่ 14 (วันพุธที่18 สิงหาคม 2564), หน้า 1208.
วงศ์เดือน สวาทพร (2566) คุณลักษณะของผู้บริหารในโรงเรียนมัธยมศึกษายุคฐานวิถีชีวิตใหม่สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา นนทบุรี (วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรบัณฑิต). สาขาบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชพฤกษ์
วสันต์ บัวชุม. (2561). คุณลักษณะอันพึงประสงค์ของผู้บริหารสถานศึกษาตามแนวทางการปฏิรูปการศึกษาในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่ประถมศึกษาบึงกาฬ (วิทยานิพนธ์ ครุศาสตรมหาบัณฑิต) มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.
วัสสิกา รุมาคม. (2566).การบริหารสถานศึกษาในยุคความปกติใหม่หลังวิกฤตโควิด-19. บทความวารสารมหาจุฬานาครทรรศน์ มหาวิทยาลัยปทุมธานี, (6 มิถุนายน 2565), 16-30.
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา นนทบุรี (2563) แผนพัฒนาการศึกษา 5 ปี (2560-2564) สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา เขต 3.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2562). นโยบายสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ. 2562. ออนไลน์. สืบค้น มีนาคม 2562.https://www.obec.go.th.
สุทธิชา ขันธวิทยา (2561) การส่งเสริมการจัดการเรียนรู้ตามความคิดเห็นของครูตามหลักสูตรสถานศึกษาของโรงเรียนมัธยมศึกษา จังหวัดนนทบุรีในศตวรรษที่ 21 (วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรบัณฑิต). สาขาบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชพฤกษ์.
สุรีพร แก้วโพธิ์. (2561). บทบาทผู้บริหารสถานศึกษาในการส่งเสริมการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่เน้น นักเรียนเป็นสำคัญในสถานศึกษาสังกัดอาชีวศึกษา (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี. ปทุมธานี.
DoDEA 21(2021). Instructional Leadership: Self-Assessment and Reflection Continuum. Availablefrom:https://content.dodea.edu/teach_learn/professional_development/21/docs/principals/self_assessment/self_assessment_instructional_leadership.pdf
Yamane, Taro. 1973. Statistics an introductory analysis. New York Harper & Row.