การพัฒนารูปแบบส่งเสริมการมีส่วนร่วมในการพัฒนาสู่เกณฑ์คุณภาพการศึกษาเพื่อการดำเนินการที่เป็นเลิศ (EdPEx) ของบุคลากรสำนักทะเบียนและวัดผลมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช โดยประยุกต์ใช้โมเดลการจัดการความรู้เซกิและโมเดลการวิจัยปฏิบัติการ

Main Article Content

สุขใจ รอยกุลเจริญ

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อศึกษาการมีส่วนร่วมในการพัฒนาสู่เกณฑ์คุณภาพการศึกษาเพื่อการดำเนินการที่เป็นเลิศ (EdPEx) ของบุคลากรสำนักทะเบียนและวัดผล มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช 2) เพื่อพัฒนารูปแบบส่งเสริมการมีส่วนร่วมในการพัฒนาสู่เกณฑ์คุณภาพการศึกษาเพื่อการดำเนินการที่เป็นเลิศ (EdPEx) โดยการประยุกต์ใช้โมเดลการจัดการความรู้เซกิและโมเดลการวิจัยปฏิบัติการ และ 3) เพื่อทดลองใช้ ประเมินผล และเสนอแนวทางการใช้รูปแบบส่งเสริมการมีส่วนร่วมในการพัฒนาสู่เกณฑ์คุณภาพการศึกษาเพื่อการดำเนินการที่เป็นเลิศ (EdPEx) ของบุคลากรสำนักทะเบียนและวัดผล มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช การดำเนินการวิจัยแบ่งออกเป็น 2 ระยะ โดยระยะที่ 1 ศึกษาการมีส่วนร่วมของบุคลากร จำนวน 189 คน ระยะที่ 2 พัฒนา ทดลองใช้ ประเมินผล และเสนอแนวทางการใช้รูปแบบส่งเสริมการมีส่วนร่วมของบุคลากร ผลการวิจัย พบว่า 1) การมีส่วนร่วมในการพัฒนาสู่เกณฑ์คุณภาพการศึกษาเพื่อการดำเนินการที่เป็นเลิศ (EdPEx) อยู่ในระดับปานกลางทั้งคะแนนเฉลี่ยรวมและแยกรายด้าน ได้แก่ (1.1) การกำหนดแนวทางประกันคุณภาพการศึกษา (1.2) การดำเนินการประกันคุณภาพการศึกษา (1.3) การติดตามและประเมินผล และ (1.4) การปรับปรุงและพัฒนางานประกันคุณภาพการศึกษา 2) รูปแบบส่งเสริมการมีส่วนร่วมในการพัฒนาสู่เกณฑ์คุณภาพการศึกษาเพื่อการดำเนินการที่เป็นเลิศ (EdPEx) ที่พัฒนาขึ้นมีความตรงเชิงเนื้อหาและมีความเหมาะสมที่จะนำไปใช้งาน กล่าวคือ ค่าดัชนีความตรงเชิงเนื้อหารายข้อ (I-CVI) อยู่ในช่วง .89 – 1.00 และค่าดัชนีความตรงเชิงเนื้อหาทั้งฉบับ (S-CVI) เท่ากับ .88 3) หลังการทดลองใช้รูปแบบส่งเสริมการมีส่วนร่วมในการพัฒนาสู่เกณฑ์คุณภาพการศึกษาเพื่อการดำเนินการที่เป็นเลิศ (EdPEx) บุคลากรมีความรู้ความเข้าใจและความสามารถในการมีส่วนร่วมในการพัฒนาสู่เกณฑ์คุณภาพการศึกษาเพื่อการดำเนินการที่เป็นเลิศ (EdPEx) สูงกว่าก่อนการทดลอง และคะแนนความพึงพอใจต่อการทดลองอยู่ในในระดับมากที่สุด ( equation= 4.57, SD =0.47) และ 4) แนวทางการใช้รูปแบบส่งเสริมการมีส่วนร่วม คือ ต้องมีการขับเคลื่อนทุกภาคส่วนภายในหน่วยงานตามกลยุทธ์ต่าง ๆ ที่ได้เสนอไว้

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กนิษฐา สมเผือก. (2556). การศึกษาการมีส่วนร่วมการประกันคูณภาพการศึกษาของบุคลากรคณะพัฒนาการท่องเที่ยว. รายงานการวิจัย. คณะพัฒนาการท่องเที่ยว มหาวิทยาลัยแม่โจ้.

ชยภร ศิริโยธา. (2564). การศึกษาสภาพปัจจุบันในการพัฒนาคุณภาพการศึกษาเพื่อการดำเนินการที่เป็นเลิศ (EdPEx) กรณีศึกษา คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. Mahidol R2R e-Journal, 9(2), 95-107.

ธัญพร ก้อยชูสกุล. (2554). การมีส่วนร่วมในการประกันคุณภาพการศึกษาของบุคลากร คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. การศึกษาค้นคว้าแบบอิสระ รัฐประศาสนศาสตรมหาบันฑิต. สาขารัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

บุรพร กำบุญ และชลกธัญ โฆษิตคณิน. (2560). การมีส่วนร่วมในการประกันคุณภาพการศึกษาของบุคลากรทางการศึกษามหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี. Veridian E-Journal, Silpakorn University, 10(1), 1746-1757.

พนิดา วัชระรังษี. (2556). การรับรู้ และการมีส่วนร่วมการประกันคุณภาพการศึกษาของบุคลากรระดับอุดมศึกษา

เขตนนทบุรี ปีการศึกษา 2556. นนทบุรี. รายงานการวิจัย. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยราชพฤกษ์.

พรภัทร เกษาพร และเอื้อมพร หลินเจริญ. (2562). ปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จของการประกันคุณภาพตามเกณฑ์คุณภาพการศึกษาเพื่อการดำเนินการที่เป็นเลิศ (EdPEx). วารสารวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์, 17(1), 87-98.

พวงรัตน์ ทวีรัตน์. (2540). วิธีการวิจัยทางพฤติกรรมศาสตร์และสังคมศาสตร์ (พิมพ์ครั้งที่ 7). สำนักทดสอบทางการศึกษาและจิตวิทยา มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร.

มณฑล จันทร์แจ่มใส. (2551). ปัจจัยการสื่อสารการตลาดที่มีต่อการเลือกสถานที่ท่องเที่ยว กรณีศึกษา: เกาะมุก จังหวัดตรัง. วิทยานิพนธ์สถาปัตยกรรมศาสตรมหาบัณฑิต (การวางแผนชุมชนเมืองและสภาพแวดล้อม). บัณฑิตวิทยาลัย สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง.

วรรณภา ตันติวากร. (2560). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการมีส่วนร่วมของบุคลากรในการพัฒนาสู่เกณฑ์คุณภาพการศึกษาเพื่อการดำเนินงานที่เป็นเลิศ (EdPEx) คณะทันตแพทย์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล. Mahidol R2R e- Journal, 4 (2).

ศศิวิมล อาจคงหาญ. (2556). การมีส่วนร่วมในการประกันคุณภาพการศึกษาบุคลากร คณะพยาบาลศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ศิริชัย กาญจนวาสี. (2532). Alternative strategies for policy analysis: An assessment of school effects on students' cognitive and affective mathematics outcomes in lower secondary schools in Thailand (Unpublished doctoral dissertation).

สมพิศ นามเปือย ธีระศักดิ์ ดำรงรุ่งเรือง และวิลาวัลย์ วีระอาชากุล. (2564). การปฏิบัติตามเกณฑ์คุณภาพการศึกษาเพื่อการดำเนินการที่เป็นเลิศ (EdPEx) กรณีศึกษา คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ปี พ.ศ. 2561.วารสารวิจัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ (ฉบับบัณฑิตศึกษา), 9(1), 147-159.

สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา. (2556). การสัมมนา เรื่อง “แนวทางการนำเกณฑ์ EdPEx ไปใช้ในการประกันคุณภาพภายใน ครั้งที่ 2 (ออนไลน์). สืบค้นจากhttp://EdPEx2002blogspot.com/2014/

EdPEx-2html.

สำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม. (2564). เกณฑ์คุณภาพการศึกษาเพื่อการดำเนินการที่เป็นเลิศ (EdPEx) ฉบับปี 2563-2566. อมรินทร์ พริ้นติ้ง แอนด์ พับลิชชิ่ง.

Altrichter, H., Kemmis, S., McTaggart, R., & Zuber‐Skerritt, O. (2002). The concept of action research. The learning organization, 9(3), 125-131.

Cohen, J.M. & Uphoff, N.T. (1981). Rural Development Participation : Concept and Measures for Project Design Implementation and Evaluation. Rural Development Committee Center for International Studies, Cornell University.

Nonaka, I., & Takeuchi, H. (1995). The knowledge creating. New York, 304.

Nonaka, I., & Takeuchi, H. (2001). Organizational knowledge creation. Creative management, 64-82.

Polit, D.F., & Beck, C.T. (2012). Nursing Research: Generating and Assessing Evidence for Nursing Practice (9th ed.). Lippincott, Williams & Wilkins.

Streiner, D. L. (2003). Starting at the beginning: an introduction to coefficient alpha and internal consistency. Journal of Personality Assessment, 80(1), 99-103.