เครือข่ายในการแก้ไขปัญหาสาธารณภัยด้านโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา (Covid-19) ของคณะทำงานศูนย์ปฏิบัติการควบคุมโรคอำเภอ: กรณีศึกษาอำเภอถ้ำพรรณรา จังหวัดนครศรีธรรมราช

Main Article Content

สิรวิชญ์ จีนย้าย
วรวลัญช์ วัฒนเดชไพศาล
ธโสธร ตู้ทองคำ

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) การสร้างเครือข่ายในการแก้ไขปัญหาสาธารณภัยด้านโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ของคณะทำงานศูนย์ปฏิบัติการควบคุมโรคอำเภอถ้ำพรรณรา 2) รูปแบบของการแก้ไขปัญหาสาธารณภัยด้านโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ของคณะทำงานศูนย์ปฏิบัติการควบคุมโรคอำเภอถ้ำพรรณรา และ 3) ปัญหาอุปสรรคในการแก้ไขปัญหาสาธารณภัยด้านโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ มีกลุ่มประชากรจำนวน 3 กลุ่ม โดยเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจงจำนวน 17 คนได้แก่ กลุ่มที่ 1 เจ้าหน้าที่คณะทำงานจำนวน 5 คน กลุ่มที่ 2 ภาคเอกชน จำนวน 7 คน กลุ่มที่ 3 ภาคประชาชน จำนวน 5 คน การเก็บข้อมูลด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึก การสังเกตการณ์แบบมีส่วน และวิเคราะห์ข้อมูลเชิงพรรณนา ผลการวิจัยพบว่า 1) การสร้างเครือข่ายในการแก้ไขปัญหา เป็นการสร้างเครือข่ายทางสังคมที่เป็นทางการ ตามคำสั่ง ระเบียบต่างๆ หรือหน้าที่ของภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาชน และไม่เป็นทางการจากการให้ความร่วมมือการประสานงานของภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาชน 2) รูปแบบของการแก้ไขปัญหา เป็นไปตามวงจรการแก้ไข้ปัญหาภาวะฉุกเฉิน ที่มีระยะก่อนเกิดภัย ในการเตรียมความพร้อม ขณะเกิดภัยตามที่มีการวางแผนเตรียมความพร้อม และภายหลังเกิดภัยที่มีการฟื้นฟูช่วยเหลือทำให้เกิดเครือข่าย 2 ลักษณะ คือ 2.1) เครือข่ายตามแนวตั้ง ที่ตัวแสดงมีความสัมพันธ์กันแบบสายบังคับบัญชาในลักษณะจากการบังคับบัญชาบนลงล่าง 2.2) เครือข่ายตามแนวราบ ที่ตัวแสดงมีความสัมพันธ์กันในแบบความร่วมมือที่มีความเท่าเทียมกัน 3) ปัญหาอุปสรรคในการแก้ไขปัญหา พบว่า 3.1)ปัญหาอุปสรรคของเจ้าหน้าที่ภาครัฐในการประสานงานของรัฐที่ล่าช้าติดปัญหาเรื่องเอกสาร 3.2) ปัญหาอุปสรรคของภาคเอกชน ในการประสานงานกับภาครัฐในความเข้าใจเกี่ยวกับโรคในช่วงแรก และการสื่อสารของพนักงานในภาคเอกชน 3.3) ปัญหาอุปสรรคของภาคประชาชน ที่เข้าไม่ถึงหน่วยงานภาครัฐในระยะแรกของการแพร่ระบาด

Article Details

How to Cite
จีนย้าย ส., วัฒนเดชไพศาล ว. ., & ตู้ทองคำ ธ. (2024). เครือข่ายในการแก้ไขปัญหาสาธารณภัยด้านโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา (Covid-19) ของคณะทำงานศูนย์ปฏิบัติการควบคุมโรคอำเภอ: กรณีศึกษาอำเภอถ้ำพรรณรา จังหวัดนครศรีธรรมราช. วารสารการวัด ประเมินผล สถิติ และการวิจัยทางสังคมศาสตร์, 5(2), 53–75. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/mesr/article/view/275612
บท
บทความวิจัย

References

กรมควบคุมโรค. (2563). การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 กรุงเทพฯ: ศูนย์ปฏิบัติการฉุกเฉิน. กรมควบคุมโรค.

กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย. (2564). การลดความเสี่ยงจากภัยพิบัติสาธารณะ กรุงเทพฯ: กระทรวงมหาดไทย.

กุลทัต หงษ์ยางกูร และ ปรัชญานันทน์ เที่ยงจรรยา. (2560). การสร้างและการจัดการเครือข่าย. สงขลา: สถาบันการจัดการระบบสุขภาพ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.

เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์. (2543). การจัดกำรเครือข่าย: กลยุทธ์สำคัญสู่ความสำเร็จของการปฏิรูปการศึกษา. กรุงเทพฯ: ซัคเซส มีเดีย

ทวิดา กมลเวชชา. (2554). คู่มือการจัดการภัยพิบัติในพื้นที่ กรุงเทพฯ: สถาบันพระปกเกล้า.

ธีรวุฒิ ก่ายแก้ว. (2556). การสร้างเครือข่ายทางสังคม : กรณีศึกษานักฟุตบอลสมัครเล่นในกลุ่มกรุงเทพเหนือ, The social network-making a case study of amateur soccer players in the Northern Bangkok area (วิทยานิพนธ์ ปริญญามหาบัณฑิต). สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, กรุงเทพมหานคร.

นฤมล นิราทร. (2543). การสร้างเครือข่ายการทำงาน: ข้อควรพิจารณาบางประการ. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

พิชัย รัตนดิลก ณ ภูเก็ต. (2550). “วัฒนธรรมองค์กรและประสิทธิผลขององค์กรภาครัฐ”, วารสารการพัฒนาสังคม, 10(2), หน้า 25-48.

มูลศรี กฤติยา. (2562) กรอบแนวคิดของ McKinsey 7s และการจัดการคุณภาพโดยรวมที่ส่งผลต่อความสำเร็จทางธุรกิจ. มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์.

สำนักงานสาธารณสุขอำเภอถ้ำพรรณรา. (2565) ข้อมูลเกี่ยวกับโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) นครศรีธรรมราช: ศูนย์ปฏิบัติการควบคุมโรคอำเภอถ้ำพรรณรา.

Catherine Alter and Jerald Hage. (1993). Organizations Working Together: Newbury Park, CA: Sage.

Dong, E., Du, H., & Gardner, L. (2020). An interactive web-based dashboard to track COVID-19 in real time. The Lancet Infectious Diseases, 20(5), 533–534.

Fiedler, F.E. (1967). A theory of leadership effectiveness. New York: McGraw-Hill

Meier, K. J., & O’Toole, L. J., Jr. (2001). Managerial strategies and behavior in networks: A model with evidence from U.S. public education. Journal of Public Administration Research and Theory, 11, 271-295.

Pfeffer, J., and Salancik, G. (1978). The External Control of Organizations. New York : Harper & Row.

Provan, Keith G. and Milward, H. Brinton. (2001). Do Network Really Work? A Framework for Evaluating Public-Sector Organizational Networks. Public Administration Review. 61 (July/August): 414-423.

UNDP. (2013). Mainstreaming Disaster Risk Reduction into Development in UNDP. Panel 3: Strategies for Mainstreaming Disaster Risk Management in Development. In Mitigating Disasters, Promoting Development: The Sendai Dialogue and Disaster Risk Management in Asia. 10 May 2013. The Brookings Institution.

Waterman, R. Jr, Peters, T., & Phillips, J. R. (1980). Structure is not Organization. Business Horizons, 23(3), 14–26.