จากมาตรประมาณค่าของลิเคิร์ทสู่การพัฒนามาตรประมาณค่าแนวใหม่

Main Article Content

รณกฤต ผลแม่น
มาลีรัตน์ ขจิตเนติธรรม

บทคัดย่อ

มาตรประมาณแบบรวมค่าของลิเคิร์ทเป็นเครื่องมือวิจัยที่นักวิจัยทางสังคมและพฤติกรรมศาสตร์ของประเทศไทยนิยมนำมาใช้กันอย่างแพร่หลาย อย่างไรก็ตามเครื่องมือประเภทนี้ยังมีจุดด้อยและข้อสังเกตที่น่าสนใจหลายประการที่นักวิชาการได้นำเสนอเพื่อนำไปสู่การปรับปรุงพัฒนามาตรประมาณค่าบนฐานคิดของลิเคิร์ทให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ซึ่งบทความนี้จะนำเสนอสาระสำคัญเกี่ยวกับมาตรประมาณค่าตามแนวคิดของลิเคิร์ทและประเด็นที่ควรพิจารณาที่นำไปสู่การปรับปรุงพัฒนามาตรประมาณค่าแนวใหม่ ทั้ง 5 ประเด็น ประกอบด้วย 1) มาตรประมาณค่าของลิเคิร์ทเป็นมาตรวัดแบบจัดลำดับหรืออันตรภาค 2) มาตรประมาณค่า 5 ระดับ เพียงพอสำหรับการวัดแล้วหรือไม่ 3) การกำหนดความกว้างของช่วง (interval) ในมาตรประมาณค่าและการระบุค่าน้ำหนักควรกำหนดให้เท่ากันหรือสมดุลกันหรือไม่ 4) มาตรประมาณค่าควรเป็นมาตรวัดแบบคู่หรือมาตรวัดแบบคี่ และ 5) การใช้คำหรือการนิยามแทนระดับความรู้สึกหรือค่าคะแนนควรมีลักษณะเป็นอย่างไร ซึ่งข้อพิจารณาแต่ละประเด็นที่กล่าวถึงในบทความนี้ไม่ได้ชี้นำหรือระบุให้ผู้อ่านนำไปใช้ปฏิบัติตาม หากแต่อาจเป็นข้อเสนอที่เป็นประโยชน์สำหรับใช้เป็นแนวทางในการออกแบบเครื่องมือวิจัยประเภทมาตรประมาณค่าให้มีความเหมาะสมกับบริบทและเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาคุณภาพของงานวิจัยให้เกิดความเที่ยงตรงภายใน รวมทั้งยังเป็นแนวทางในการศึกษาเพื่อนำไปสู่การเพิ่มประสิทธิภาพของเครื่องมือวิจัยประเภทมาตรประมาณค่าให้สูงขึ้นได้

Article Details

บท
บทความวิชาการ

References

ไพฑูรย์ โพธิสาร. (2547). มาตรวัดลิเคอร์ท. สารานุกรมศึกษาศาสตร์ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, 31, 17-20.

รังสรรค์ โฉมยา. (2549). สเกลคู่ มิติใหม่ในการใช้แบบวัดมาตราส่วนประมาณค่าแบบลิเคิร์ท. เทคโนโลยีสื่อสารการศึกษา, 13(1), 145-151.

สุนันท์ สีพาย, สุภีร์ สีพาย, และจารุวรรณ สกุลคู. (2565). แบบวัดคุณลักษณะทางจิตวิทยา. วารสารวัดผลการศึกษามหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 28(2), 41-61.

สุบิน ยุระรัช. (2565). ทำไมต้องลิเคิร์ต. วารสารนวัตกรรมและการจัดการ, 7(1), 152-165.

Carifio, J., & Perla, R. J. (2007). Ten Common Misunderstanding, Misconceptions, Persistent Myths and Urban Legends about Likert Scales and Likert Response Formats and Their Antidotes. Journal of Social Science, 3(3), 106-116.

Friedman, H. H., Wilamowsky, Y., & Friedman, L. W. (1981). A Comparison of Balanced and Unbalanced Rating Scales. The Mid-Atlantic Journal of Business, 19, 1-7.

Jamieson, S. (2004). Likert scales: how to ab(use) them. Medical Education, 38, 1212-1218.

Likert, R. (1932). A Technique for The Measurement of Attitudes. Archives of Psychology, 22, 5-55.

Meric, H. & Wagner, J. (2006). Rating Scale Format Choices for Multi-Item Measures: Does Numbering and Balanced-ness Matter?. https://www.westga.edu/~bquest/ 2006/rating.pdf

Nadler, J. T., Weston, R., & Voyles, E. C. (2015). Stuck in the Middle: The Use and Interpretation of Mid-Points in Items on Questionnaires. The Journal of General Psychology, 142(42), 71-89. https://doi.org/10.1080/00221309.2014.994590

Simm, L. J., Zelazny, K., Williams, T. F., & Bernstein, L. (2019). Does the Number of Response Options Matter? Psychometric Perspectives Using Personality Questionnaire Data. Psychological Assessment, 31(4), 557–566. https://doi.org/10.1037/pas0000648

Subedi, B. P. (2016). Using Likert Type Data in Social Science Research: Confusion, Issues and Challenges. International Journal of Contemporary Applied Science, 3(2), 36-49. https://ijcar.net/assets/pdf/Vol3-No2-February2016/02.pdf

Tatum, D. S. (1998). Research problems--Rasch solutions. Popular Measurement, 1(1), 6-8. https://www.rasch.org/pm/pm1-06.pdf

Todd, W, R. (2018). Analyzing and Interpreting Rating Scale Data from Questionnaires. REFLections, 14, 69-77.https://so05.tcithaijo.org/index.php/reflections/article/view/114230/88621

Vagias, W. M. (2006). Likert-type scale response anchors.https://media.clemson.edu/cbshs/prtm/research/resources-for-research-page-2/Vagias-Likert-Type-Scale-Response-Anchors.pdf