การใช้แบบจำลอง CIPP และแนวคิดที่คลาดเคลื่อนในการนำแบบจำลอง CIPP มาใช้ในการประเมินโครงการทางการศึกษา

Main Article Content

มินตรา สมจิตต์
ศิริชัย กาญจนวาสี
โชติกา ภาษีผล

บทคัดย่อ

งานวิจัยเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์รูปแบบการใช้แบบจำลอง CIPP และแนวคิดที่คลาดเคลื่อนในการนำแบบจำลอง CIPP มาใช้ในการประเมินโครงการทางการศึกษา โดยวิเคราะห์รูปแบบการใช้แบบจำลอง CIPP ในการประเมินโครงการทางการศึกษา จำนวน 150 เรื่อง ที่ได้จากฐานข้อมูลออนไลน์ วิทยานิพนธ์ สารนิพนธ์งานนิพนธ์ ปริญญานิพนธ์ และงานวิจัย ที่ได้รับการเผยแพร่ตั้งแต่ปี พ.ศ.2545 - 2560 ด้วยการกำหนดค่าความถี่ ร้อยละ ตามกรอบรายการตรวจสอบการใช้แบบจำลอง CIPP ในการประเมินโครงการตามแนวคิดของ Stufflebeam (2007) ประกอบด้วย 4 รายการ ดังนี้ การประเมินบริบท (Context Evaluation) การประเมินปัจจัยนำเข้า (Input Evaluation) การประเมินกระบวนการ (Process Evaluation) และ การประเมินผลผลิต (Product Evaluation) ผลการวิจัยพบว่า 1) การประเมินบริบท (C) ส่วนใหญ่ทำการประเมินทรัพย์สิน และปัญหาต่างๆ ในสภาวะแวดล้อมที่กำหนด โดยไม่ได้ประเมินความต้องการจำเป็น (Needs) ขององค์กร ขั้นตอนการปฏิบัติ และการตรวจสอบติดตามสภาพแวดล้อมอย่างต่อเนื่อง 2) การประเมินปัจจัยนำเข้า (I) ส่วนใหญ่ทำการประเมินกลยุทธ์การแข่งขัน แผนงาน และงบประมาณของวิธีการที่เลือก โดยไม่ได้ประเมินการเลือกใช้วิธีการที่เหมาะสม ในการสังเคราะห์ข้อมูลและการนำเสนอ 3) การประเมินกระบวนการ (P) ส่วนใหญ่ทำการประเมินการดูแลติดตาม ทำเอกสาร และประเมินกิจกรรมของโครงการ แต่ไม่ได้ประเมินกระบวนการการดำเนินงานตามแผน และ 4) การประเมินผลผลิต (P) ส่วนใหญ่ทำการประเมินกิจกรรมของลูกค้า/ผู้มีส่วนได้เสียที่เกี่ยวกับการควบคุมว่าใครได้รับบริการ แต่ไม่ได้ทำการประเมินผลลัพธ์ (Results) ของโครงการ

Article Details

How to Cite
สมจิตต์ ม., กาญจนวาสี ศ. ., & ภาษีผล โ. . (2024). การใช้แบบจำลอง CIPP และแนวคิดที่คลาดเคลื่อนในการนำแบบจำลอง CIPP มาใช้ในการประเมินโครงการทางการศึกษา. วารสารการวัด ประเมินผล สถิติ และการวิจัยทางสังคมศาสตร์, 5(2), 38–52. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/mesr/article/view/275105
บท
บทความวิจัย

References

เนติ เฉลยวาเรศ. (2541). การประเมินอภิมานการใช้แบบจำลองซิปในการประเมินโครงการการศึกษา.[วิทยานิพนธ์ครุศาสตร์มหาบัณฑิต, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย]. Digital Research Information Center (ศูนย์ข้อมูลการวิจัย Digital "วช”). "https://dric.nrct.go.th/Search/SearchDetail/86652

พัชนี สมพงษ์. (2555). การประเมินโครงการศึกษาอบรมหลักสูตรการพยาบาลเฉพาะทางสาขาเวช ปฏิบัติทั่วไป (การรักษาโรคเบื้องต้น). [ปริญญานิพนธ์ ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

เยาวดี รางชัยกุล วิบูลย์ศรี. (2546). การประเมินโครงการ : แนวคิดและแนวปฏิบัติ (พิมพ์ครั้งที่ 3). สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ศิริชัย กาญจนวาสี. (2558). โมเดล CIPP ที่เปลี่ยนไป : ความหมาย ความสำคัญ และพัฒนาการ”. วารสารครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม, 12(2).ศึกษานิเทศก์ศูนย์ส่งเสริมและพัฒนาอาชีวศึกษาภาคเหนือ สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา, (มปป.). การประเมินโครงการ (Project Evaluation). www.ubu.ac.th/web/files_up/32f2018090610145827.doc

ศูนย์ทดสอบและประเมินเพื่อพัฒนาการศึกษาและวิชาชีพ คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, (มปป.). รูปแบบการประเมินโครงการ. คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.km.moi.go.th/km/quality_plan/evaluate/evaluate5_4.pdf

อธิปัตย์ คลี่สุนทร. (2556). การเขียนโครงการ: จากแนวคิดไปสู่การปฏิบัติ (Project Writing: From idea into Practice.). สืบค้นจาก https://www.moe.go.th/moe/th/news/detail.php?NewsID=32184&Key=news_research.

Stufflebeam, D. L. (2007, March 17). CIPP evaluation model checklist [Second Edition]. https://wmich.edu/sites/default/files/attachments/u350/2014/cippchecklist_mar07.pdf

Watanasuntorn, K. (2008). Application of Stufflebeam’ s CIPP Model for Educational Project Evaluation. Suranaree Journal of Social Science, 2(1), 67-83. https://so05.tcithaijo.org/index.php/sjss/article/view/23975/20406 [in Thai]